สรุป เนื้อหา ฟิสิกส์ ม.5 เทอม 1 และ ฟิสิกส์ ม.5 เทอม 2
ฟิสิกส์ ม.5 เทอม 1
- การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
- คลื่น
- แสงเชิงคลื่นและแสงเชิงรังสี
ฟิสิกส์ ม.5 เทอม 2
- เสียง
- ไฟฟ้าสถิต
- ไฟฟ้ากระแส
การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย
การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย (Simple Harmonic Motion : SHM) คือ การเคลื่อนที่กลับไปมาซ้ำทางเดิมโดยผ่านตำแหน่งสมดุล และมีคาบของการเคลื่อนที่คงตัว เช่น การเคลื่อนที่ของวัตถุติดปลายสปริง การสั่นของสายเครื่องดนตรี การแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกา เป็นต้น


ปริมาณที่สำคัญในการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย คือ
1.ความถี่ (f) คือ จำหน่วยรอบของการเคลื่อนที่ใน 1 วินาที หน่วยเป็น เฮิรตซ์
2.การขจัด คือระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปโดยนับจากจุดสมดุล
3.คาบ (T) คือ เวลาในการเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ หน่วยเป็นวินาที (s)
4.แอมพลิจูด ตือ ระยะทางมากที่สุดที่วัตถุจะสามารถเคลื่อนที่ไปได้ โดยนับจากจุดสมดุลเช่นเดียวกัน อาจพิจารฯาได้ว่า แอมพลิจูดคือการขจัดที่มีปริมาณมากที่สุด
ความถี่และคาบมีความสัมพันธ์ตามสมการ





เป็นค่าคงตัวทางเฟสหมายถึงเฟสเริ่มต้น




คลื่น (wave) เป็นปรากฏการณ์ที่แสดงการถ่ายโอนพลังงานออกจากแหล่งกำเนิด ขณะที่มีการเกิดคลื่น คลื่นมีการเคลื่อนที่รูปแบบหนึ่งในลักษณะเฉพาะ คลื่นมีหลายแบบ เช่น คลื่นกล คลื่นตามขวาง คลื่นตามยาว คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า องค์ประกอบหลักของคลื่นได้แก่ สันคลื่น ยอดคลื่น ท้องคลื่น การกระจัด แอมพลิจูด ความยาว คาบ ความถี่
คลื่น
การจำแนกคลื่น สามารถจำแนกได้หลายวิธี
1. จำแนกคลื่นตามความจำเป็นของการใช้ตัวกลางในการแผ่ สามารถแบ่งคลื่นออกได้ 2 ชนิด คือ
1.1) คลื่นกล (mechanical wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดคลื่น ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ โดยอนุภาคของตัวกลางสั่นอยู่กับที่ เช่น คลื่นน้ำ คลื่นเสียง คลื่นในเส้นเชือก
1.2) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic waves) เป็นคลื่นที่เกิดจากการเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า ในทิศทางตั้งฉากซึ่งกันและกัน และต่างก็ตั้งฉากกับทิศทางการแผ่ของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถแผ่ไปได้ในบริเวณสุญญากาศ ซึ่งไม่มีตัวกลางอยู่เลย หรือแผ่ผ่านบริเวณที่มีตัวกลางต่างๆ ก็ได้ คลื่นประเภทนี้ เช่น คลื่นวิทยุ เรดาร์ ไมโครเวฟ แสง รังสีอัตราไวโอเลต รังสีเอ็กซ์ เป็นต้น
2. จำแนกคลื่นตามลักษณะการสั่นของแหล่งกำเนิด หรือตามลักษณะการแผ่ แบ่งออกได้ 2 ชนิดคือ
คลื่น (wave) เป็นปรากฏการณ์ที่แสดงการถ่ายโอนพลังงานออกจากแหล่งกำเนิด ขณะที่มีการเกิดคลื่น คลื่นมีการเคลื่อนที่รูปแบบหนึ่งในลักษณะเฉพาะ คลื่นมีหลายแบบ เช่น คลื่นกล คลื่นตามขวาง คลื่นตามยาว คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า องค์ประกอบหลักของคลื่นได้แก่ สันคลื่น ยอดคลื่น ท้องคลื่น การกระจัด แอมพลิจูด ความยาว คาบ ความถี่
การจำแนกคลื่น สามารถจำแนกได้หลายวิธี
1. จำแนกคลื่นตามความจำเป็นของการใช้ตัวกลางในการแผ่ สามารถแบ่งคลื่นออกได้ 2 ชนิด คือ
1.1) คลื่นกล (mechanical wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดคลื่น ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ โดยอนุภาคของตัวกลางสั่นอยู่กับที่ เช่น คลื่นน้ำ คลื่นเสียง คลื่นในเส้นเชือก
1.2) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic waves) เป็นคลื่นที่เกิดจากการเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า ในทิศทางตั้งฉากซึ่งกันและกัน และต่างก็ตั้งฉากกับทิศทางการแผ่ของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถแผ่ไปได้ในบริเวณสุญญากาศ ซึ่งไม่มีตัวกลางอยู่เลย หรือแผ่ผ่านบริเวณที่มีตัวกลางต่างๆ ก็ได้ คลื่นประเภทนี้ เช่น คลื่นวิทยุ เรดาร์ ไมโครเวฟ แสง รังสีอัตราไวโอเลต รังสีเอ็กซ์ เป็นต้น
2. จำแนกคลื่นตามลักษณะการสั่นของแหล่งกำเนิด หรือตามลักษณะการแผ่
แสงเชิงคลื่นและแสงเชิงรังสี


ถ้าให้ ช่องแคบ S1และ S2เป็นแหล่งกำเนิดแสงห่างกันเป็นระยะ d เมื่อแสงเดินทางจากช่องแคบมาถึงฉากด้วยระยะทางที่ต่างกัน เดินทางมาพบกันบนจุดเดียวกันคือจุด P จะได้ผลต่าง S1P กับ S2P เป็นดังสมการ

S2P – S1P = d sinθ
เนื่องจากมุม เป็นมุมน้อย ๆ จะได้ = สามารถสรุปสมการที่ใช้คำนวณเกี่ยวกับสลิตคู่ ดังนี้
1. เมื่อ S1 , S2มีเฟสตรงกัน
การแทรกสอดแบบเสริมกัน(แนวกลางเป็นแนวปฏิบัพ A0)
S2P – S1P = nλ
d sinθ = nλ
d y/L = nλ
เมื่อ n = 0, 1, 2, 3, ….
S2P – S1P = (n-1/2)λ
d sinθ = (n-1/2)λ
d y/L = (n-1/2)λ
เมื่อ n = 1, 2, 3, ….
การแทรกสอดแบบเสริมกัน
S2P – S1P = (n-1/2)λ
d y/L = (n-1/2)λ
เมื่อ n = 1, 2, 3, ….
การแทรกสอดแบบหักล้างกัน (แนวกลางเป็นแนวบัพ N0)
S2P – S1P = nλ
d sinθ = nλ
d y/L = nλ
เมื่อ n = 0, 1, 2, 3, ….


รูปที่ 48 การเลี้ยวเบนของแสงผ่านช่องเดี่ยว



สมการบัพ


d sinθ = nλ
d x/L = nλ
เมื่อ n = 0, 1, 2, 3, ….
d sinθ = (n-1/2)λ
d x/L = (n-1/2)λ
เมื่อ n = 1, 2, 3, ….
x แทนเป็นระยะจากแถบสว่างตรงกลางถึงจุด P
L แทนระยะห่างจากเกรตติงถึงฉากรับ
λแทนความยาวของคลื่นแสง
d แทนระยะห่างระหว่างช่องของเกรตติง
การหาระยะระหว่างช่องของเกรตติง (d) เราสามารถหาระยะระหว่างช่องของเกรตติง ได้โดยใช้การเทียบอัตราส่วน
เมื่อให้ N แทนจำนวนช่องของเกรตติงใน 1 m.
d แทนระยะห่างระหว่างช่องของเกรตติง
2. ใช้หาความยาวคลื่นของแสงสีต่างๆ โดยแสงสีต่างๆ จะมีความยาวคลื่นแตกต่างกัน ทำให้เกิดการเลี้ยวเบนเมื่อผ่านเกรตติงได้แตกต่างกัน โดยแสงสีม่วงเลี้ยวเบนได้น้อยที่สุด ส่วนแสงสีแดงมีความยาวคลื่นมากที่สุดจะเลี้ยวเบนได้มากที่สุด