หน้าที่ของคำนาม Functions of Nouns มีอะไรบ้าง..? สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว Nouns คำนาม คือ คำที่ใช้เรียก คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ความคิด เช่น teacher, cat, pen, hospital, hate เป็นต้น
เราก็มาเรียนรู้กันต่อว่า Nouns คำนาม นั้น มีหน้าที่อย่างไรบ้าง..?
Functions of Nouns หน้าที่ของคำนาม มีดังนี้ คือ
1. ทำหน้าที่เป็นประธานของกริยาในประโยค (Subject of a verb) และยังทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคอีกด้วย ซึ่งคำนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานนี้ จะเป็นผู้กระทำกริยา และวางไว้หน้ากริยาเสมอ
Paul teaches English in Thailand. (พอลสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย)
Children play football. (เด็กๆเล่นฟุตบอล)
Jane likes Thai food. (เจนชอบอาหารไทย)
2. ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา (Object of a verb) คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรม จะวางอยู่หลังกริยาและเป็นผู้รับการกระทำจากประธาน โดยแบ่งกรรมของกริยาออกเป็น 2 แบบ คือ
Direct object (กรรมตรง) ซึ่งรับการกระทำจากประธานโดยตรง
The teacher punished the students. (คุณครูทำโทษนักเรียน)
Indirect object (กรรมรอง) เป็นผู้ถูกกระทำทางอ้อม
John gave Joy the watch. (จอห์นมอบนาฬิกาข้อมือให้จอย)
3. ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุพบท (Object of preposition) คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุพบทคำไหน ก็จะวางอยู่หลังคำบุพบทคำนั้นเสมอ
o Kim bought the new car for Nid. (คิมซื้อรถคันใหม่ให้นิด)
o Jane looked at John. (เจนมองจอห์น)
o I believe in God. (ผมเชื่อในพระเจ้า)
o Jim gave the laptop to Jai. (จิมให้แล็ปท็อปแก่ใจ)
หมายเหตุ ตามตัวอย่างที่ 1 และ 4 คำนามทำหน้าที่เป็นทั้งกรรมของบุพบทและกรรมรอง
4. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของกริยา (Complement of a verb) เพื่อขยายประธานให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น คำนามที่ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของกริยานี้ มักจะตามหลัง verb to be, become
Tom is a dentist. (ทอมเป็นทันตแพทย์)
Jane becomes a star. (เจนกลายเป็นดารา)
John was the winner last year. (จอห์นเป็นผู้ชนะปีที่แล้ว)
5. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของกรรม (Complement of an object) เพื่อขยายกรรมให้มีความหมายชัดเจนขึ้น คำนามที่ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของกรรม ก็จะอยู่หลังกรรมที่มันขยาย
We chose Jack the leader. (เราเลือกแจคเป็นหัวหน้า)
My mom named her dog Thong-Phun. (แม่ของฉันตั้งชื่อสุนัขว่าทองพูน)
6. ทำหน้าที่เป็นคำนามซ้อนคำนามที่อยู่ข้างหน้า ( In apposition to another noun) เพื่ออธิบายหรือขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า โดยมีเครื่องหมาย , คั่นระหว่างนามที่อยู่ข้างหน้ากับคำนามที่ซ้อน โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
ซ้อนตามหลังประธานของประโยค
The nurse, Janet has retired. (นางพยาบาล, เจเน็ทเกษียณแล้ว)
My country, Thailand is the land of smiles. (ประเทศของฉัน, ประเทศไทย ดินแดนแห่งรอยยิ้ม)
ซ้อนตามหลังกรรมของประโยค
We respect our boss, Mr. Tom. (เราเคารพนายจ้างของเรา, มิสเตอร์ทอม)
I want to see John, my brother. (ผมต้องการพบจอห์น, น้องชายของผม)
7. ทำหน้าที่เป็นนามเรียกขาน (An address) ในประโยค
Chai, please close the window. (ชัย, ช่วยปิดหน้าต่างให้หน่อย)
Jack, please speak slowly. (แจค, ช่วยพูดช้าๆหน่อย)
You’re right, Nong. (คุณถูกแล้วหล่ะ, น้อง)
นามเรียกขานจะวางไว้ตรงไหนของประโยคก็ได้ แต่ให้สังเกตการณ์ใช้เครื่องหมาย ,
8. ทำหน้าที่แสดงความเป็นเจ้าของของนามทั่วไป (Possessive case) โดยใช้เครื่องหมาย Apostrophe‘s เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ
Tom’s dog is so cute. (สุนัขของทอมน่ารักมาก)
Do you know the hotel’s name? (คุณรู้จักชื่อโรงแรมมั้ย)
เมื่อเรารู้หน้าที่ของคำนาม Function of Nouns ว่าใช้ทำหน้าที่อะไรบ้าง เราก็สามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง