หลักการในการหาพจน์ทั่วไปของลำดับ
จากลำดับแบบแจงพจน์ที่กำหนดให้ เราสามารถใช้หลักการในการหาได้ ดังนี้
1. เขียนตำแหน่งของลำดับแต่ละค่าไว้
2. หาว่าค่าของลำดับในแต่ละค่ามีการเปลี่ยนแปลงค่าจากค่าตำแหน่งอย่างไร (ซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงได้หลายแบบ เช่น บวกเพิ่ม ลบออก คูณเข้า หาร ยกกำลังด้วยจำนวนใดจำนวนหนึ่ง)
3. จากรูปแบบการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่ได้ใน (ข้อ 2) ให้เลือกเอารูปแบบการเปลี่ยนแปลงค่าในลักษณะเดียวกัน
4. นำผลที่ได้จาก (ข้อ 3) มาเปลี่ยนค่าตำแหน่งด้วย n จะได้พจน์ทั่วไปหรือพจน์ที่ n ของลำดับ
ตัวอย่างที่ 1 จงหาพจน์ทั่วไปของลำดับ 3, 5, 7, 9, 11
จากโจทย์ จะได้
a1 = 3 = (2 x 1) + 1
a2 = 5 = (2 x 2) + 1
a3 = 7 = (2 x 3) + 1
a4 = 9 = (2 x 4) + 1
a5 = 11 = (2 x 5) + 1
ดังนั้น อนุกรมนี้จะมีพจน์ทั่วไป คือ 2n + 1
ตัวอย่างที่ 2 จงหาพจน์ทั่วไปของลำดับ 2, 4, 6, 8, 10
จากโจทย์ จะได้
a1 = 2 = 2 x 1
a2 = 4 = 2 x 2
a3 = 6 = 2 x 3
a4 = 8 = 2 x 4
a5 = 10 = 2 x 5
ดังนั้น อนุกรมนี้จะมีพจน์ทั่วไป คือ 2n
ตัวอย่างที่ 3 จงหาพจน์ทั่วไปของลำดับ -1, 2, -3, 4, -5
จากโจทย์ จะได้
a1 = -1 = 1 x -1 = 1 x (-1)1
a2 = 2 = 2 x 1 = 2 x (-1)2
a3 = -3 = 3 x -1 = 3 x (-1)3
a4 = 4 = 4 x 1 = 4 x (-1)4
a5 = -5 = 5 x = -1 = 5 x (-1)5
ดังนั้น อนุกรมนี้จะมีพจน์ทั่วไป คือ n x (-1)n
ลำดับเลขคณิต
ลำดับเลขคณิต คือ ลำดับซึ่งมีผลต่างที่ได้จากการนำพจน์ที่ n + 1 ลบด้วยพจน์ที่ n เป็นค่าคงตัวที่เท่ากัน สำหรับทุกจำนวนเต็มบวก n และเรียกค่าคงตัวที่เป็นผลต่างนี้ว่า ผลต่างร่วม
สูตรของลำดับเลขคณิต
a1, a1 + d, a1 + 2d +, …, an + (n – 1)d, …
สูตรพจน์ทั่วไป คือ
an = a1 + (n – 1)d
d = an + an-1
ตัวอย่างลำดับเลขคณิต
1, 2, 3, 4, 5, 6, … ดังนั้นลำดับนี้ d = 1
1, 3, 5, 7, 9, … ดังนั้นลำดับนี้ d = 2
ลำดับเรขาคณิต
ลำดับเรขาคณิต คือ ลำดับซึ่งมีอัตราส่วนของพจน์ที่ n + 1 ต่อพจน์ที่ n เป็นค่าคงตัวที่เท่ากันสำหรับทุกจำนวนเต็มบวก n และเรียกค่าคงตัวที่เป็นอัตราส่วนนี้ว่า อัตราส่วนร่วม
สูตรของลำดับเรขาคณิต
a1, a1r, a1r2, a1r3, …, a1rn – 1
สูตรพจน์ทั่วไป คือ
an = a1rn-1
r = an / an-1
ตัวอย่างลำดับเรขาคณิต
1, 2, 4, 8, 16, … ดังนั้นลำดับเรขาคณิตนี้มี r = 2
1, 3, 9, 27, … ดังนั้นลำดับเรขาคณิตนี้มี r = 3
อนุกรมเลขคณิต
อนุกรมเลขคณิต คือ ผลบวกของลำดับเลขคณิต อนุกรมมี 2 ชนิด คือ
1. อนุกรมจำกัด คือ อนุกรมที่เกิดจากลำดับจำกัด
ถ้า a1, a2, … an เป็นลำดับจำกัด ดังนั้น a1 + a2 + … an เป็นอนุกรมจำกัด
2. อนุกรมอนันต์ คือ อนุกรมที่เกิดจากลำดับอนันต์
ถ้า a1, a2, … เป็นลำดับอนันต์ ดังนั้น a1 + a2 + … เป็นอนุกรมอนันต์
สูตรของอนุกรมเลขคณิต
a1 + [a1 + d] + [a1 + 2d] + [a1 + 3d] + … + [a1 + (n – 1)d] + …
สูตรผลบวก n พจน์แรกมี 2 สูตร คือ
Sn = (n/2)[a1 + an]
Sn = (n/2)[2a1 + (n – 1)d]
อนุกรมเรขาคณิต
อนุกรมเรขาคณิต คือ ผลบวกของลำดับเรขาคณิต อนุกรมมี 2 ชนิด คือ
1. อนุกรมจำกัด คือ อนุกรมที่เกิดจากลำดับจำกัด
ถ้า a1, a2, … an เป็นลำดับจำกัด ดังนั้น a1 + a2 + … an เป็นอนุกรมจำกัด
2. อนุกรมอนันต์ คือ อนุกรมที่เกิดจากลำดับอนันต์
ถ้า a1, a2, … เป็นลำดับอนันต์ ดังนั้น a1 + a2 + … เป็นอนุกรมอนันต์
สูตรของอนุกรมเรขาคณิต
a1 + a1r + a1r2 + a1r3 + … + a1rn – 1 + …