เคล็ดลับง่ายๆ วิธีดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรงเสมอ
สุขภาพกาย หมายถึง สภาพของร่างกายที่มีความแข็งแรง สมบูรณ์ ระบบต่าง ๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้อย่างปกติและมีประสิทธิภาพ ต้านทานโรคได้ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บหรือความทุพพลภาพ
สุขภาพจิต หมายถึง สภาวะทางจิตใจมีความสดชื่น แจ่มใส สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี ตลอดจนสามารถควบคุมอารมณ์ให้มั่นคงเป็นปกติ ปราศจากความขัดแย้งหรือความสับสนภายในจิตใจ
- เลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้องตามหลักโภชนาการ
อาหารที่มีประโยชน์เป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายที่ดี การรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ สด สะอาดให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจะช่วยให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ
เลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
อาหารกับสุขภาพเป็นของคู่กัน การที่เราจะมีสุขภาพดีได้นั้น การกินถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักในการดูแลตัวเอง เป็นการดูแลจากภายในสู่ภายนอก เราจึงควรต้องกินอาหารให้พอดีและหลากหลายในแต่ละวัน เลือกกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ โดยเน้นไปที่โปรตีนและคาร์โบไฮเดตรที่มีประโยชน์เป็นหลัก เสริมผัก ผลไม้ที่ให้เกลือแร่และวิตามิน ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกไขมันและอาหารที่มีคลอเรสเตอรอลสูง
- ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 8–10 แก้ว
อย่างที่ทราบกันดีว่าร่างกายมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบถึงร้อยละ 70 การดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก เนื่องจากน้ำเป็นตัวกลางในการเกิดปฏิกิริยาเคมีทุกชนิดตั้งแต่กระบวนการการย่อยอาหาร กระบวนการดูดซึมอาหาร และกระบวนการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย หากขาดน้ำ ร่างกายอาจทำงานผิดปกติได้
- หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายมีส่วนช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น เพราะทำให้หัวใจ กล้ามเนื้อ ปอดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตและระบบเผาผลาญทำงานได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยผ่อนคลายความเครียดจากการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (Endorphins) หรือสารแห่งความสุข การออกกำลังกายที่ดีควรทำเป็นประจำ สม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที และควรออกกำลังกายให้ได้สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยเลือกรูปแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับ สภาพร่างกายช่วงวัยและความถนัด ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค บอดี้เวท หรือโยคะ เพราะการได้ออกกำลังกายในรูปแบบที่เราชอบ จะช่วยทำให้เราออกกำลังกายได้นานขึ้น และออกกำลังกายได้อย่างไม่มีเบื่อ แถมได้ลดน้ำหนักไปในตัวอีกด้วย
- นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
ร่างกายต้องการการพักผ่อนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงขึ้นกับช่วงอายุ ในขณะนอนหลับเป็นช่วงที่ร่างกายจะได้พักผ่อน ฟื้นฟู และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้อย่างเต็มที่ ตลอดจนเป็นช่วงที่ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนต่อต้านการแก่ชรา การขาดการนอนหลับทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ และอาจทำให้ดูแก่ก่อนวัยได้ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หากเรานอนครบ 8-10 ชั่วโมงต่อคืน จะทำให้เราตื่นมาแล้วรู้สึกสดชื่นและสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในวันถัดไปได้อย่างไม่รู้สึกเหนื่อยล้า เปรียบเสมือนการได้ชาร์ตแบตร่างกายให้เต็ม 100% ในทุกๆ วัน
- บริหารและบำรุงสมองอย่างต่อเนื่อง
สมองเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากรับหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของระบบและอวัยวะต่าง ๆ ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด การบริหารสมองไม่ว่าจะเป็นการเล่นหมากรุก เกมอักษรไขว้ เกมจับผิดภาพ เกมจำตำแหน่งภาพจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพสมองที่ดี นอกจากนี้อาจรับประทานสารอาหารที่ช่วยบำรุงสมองอย่างน้ำมันปลาและวิตามินบีร่วมด้วยเพื่อช่วยในการหมุนเวียนเลือดและลดอาการหลงลืม
- ฝึกการปล่อยวาง
จิตใจที่เป็นทุกข์ย่อมนำมาซึ่งความเครียดและความวิตกกังวล ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างมาก การมองโลกในแง่ดี ปล่อยวางจะช่วยให้จิตใจสงบและไม่จมอยู่กับความทุกข์ อาจเริ่มจากการนั่งสมาธิอย่างน้อยวันละ 5-10 นาทีเพื่อพิจารณาสิ่งที่ผ่านเข้ามาชีวิต เมื่อฝึกได้ระยะหนึ่ง เราก็จะสามารถควบคุมสติ อารมณ์ มีมุมมองต่อโลกในแง่ดีขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพจิต และห่างไกลจากโรคเครียดหรือโรคซึมเศร้า
7. ปรับวิธีคิดเพื่อเพิ่มพลังบวก
การจมอยู่กับความวิตกกังวล หรือปัญหาใดปัญหาหนึ่งมากจนเกินไป อาจทำให้กลายเป็นความเครียดสะสม ซึ่งเป็นสาเหตุของความทุกข์ในใจ ทำให้เกิดทัศนคติลบ จนส่งผลให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ เป็นไปในทิศทางที่แย่ลง ลองเอาตัวเองออกจากความกังวลเหล่านั้น และปรับมุมมองปัญหาต่างๆ อาจจะทำให้เรามองเห็นสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้ไขได้ง่ายขึ้น หากเรายอมรับข้อบกพร่องและพยายามทำความเข้าใจกับมันอย่างมีสติ ก็จะช่วยให้เรามีสุขภาพใจที่แข็งแรง และมีความสุขกับสิ่งรอบตัวได้ง่ายขึ้น หรือถ้าเรามองเห็นว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ลองมองข้ามข้าม หรือปล่อยผ่านไปบ้างก็ได้
เราสามารถเพิ่มพลังบวกให้ตัวเองง่ายๆ ด้วยการ
- มองโลกอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง
- ปรับความคิด ทัศนคติให้เป็นคนที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
- เลิกเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ แต่เลือกมองหาเฉพาะเรื่องดีๆ จากสิ่งเหล่านั้นแทน
- เตือนตัวเองว่าทุกเรื่องมีสองด้านเสมอ มีดีก็ต้องมีร้ายคละเคล้ากันไป
- มีความสุข ยิ้ม และหัวเราะกับเรื่องธรรมดารอบตัว
- พาตัวเองไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความคิดเชิงบวก
ขอบคุณข้อมูล https://www.medicallinelab.co.th/