เงินเฟ้อ (Infation) เงินฝืด (Deflation) คืออะไร?
เงินเฟ้อ หรือ Infation คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ระดับสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น เช่น เพื่อนๆ เคยซื้อน้ำอัดลมได้ 2 กระป๋องในราคา 10 บาท ปัจจุบันอาจจะซื้อได้เพียง กระป๋องละ 10 บาท เป็นต้นเงินฝืด หรือ Deflation คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ระดับสินค้าและราคาลดลงต่อเนื่อง เช่น จากที่เคยซื้อน้ำอัดลมได้ 2 กระป๋อง 10 บาท ปัจจุบันอาจจะซื้อได้ 3 กระป๋อง 10 บาท เป็นต้น
เงินเฟ้อ เงินฝืด มีที่มาอย่างไร?
ในระบบเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในหลายๆประเทศจะใช้นโยบายแบบกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ “Inflation Targeting” ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยรายปีจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 +- 1.5 โดยประเทศนั้นๆ อาจจะมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อให้ภาคเอกชนกู้ยืมและนำเงินจำนวนนั้นไปลงทุนในภาคอุตสาหกรรมด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ เพื่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น เกิดการลงทุน เกิดการจ้างงาน และจะนำมาซึ่งการจับจ่ายใช้สอย และเมื่อดัชนีการบริโภคเพิ่มขึ้น การจ้างงานเพิ่มขึ้น นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติจะทยอยเข้ามาลงทุน และจะเกิดการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจ (Money Flow) ปริมาณเงินในระบเพิ่มขึ้น ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว
สำหรับภาวะเงินฝืดแล้ว นักลงทุนบางท่านไม่อยากมาลงทุนในช่วงนี้ แต่จะรอจังหวะและโอกาสที่รัฐจะเข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ โดยจะใช้โอกาสนี้ลงทุนในบริษัทที่ได้ประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ และในภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบเศรษฐกิจเริ่มมีการขยายตัว นักลงทุนบางท่านมีความสนใจและเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เนื่องจากมีปัจจัยกระตุ้นจากภาคการผลิต การบริโภค ฯลฯ
ภาวะเงินเฟ้อลดลง หรือ Disinflation คือการชะลอตัวของภาวะที่ระดับราคาของสินค้าและบริการโดยทั่วไป หรือพูดสั้นๆ ก็คืออัตราเงินเฟ้อก็ยังสูงขึ้นแต่สูงขึ้นในอัตราที่ต่ำลง หรือจะให้เข้าใจกว่านี้คืออัตราเงินเฟ้อที่ลดลงแต่ยังอยู่ในช่วงบวก
ตัวอย่างเช่น ในปีแรก อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 4% แต่ปีถัดไป อัตราเงินเฟ้อตกไปที่ 2.5% เป็นสัญญาณของภาวะเงินเฟ้อที่ลดลง
ซึ่งแตกต่างจากเงินฝืด (Deflation) ที่เป็นภาวะที่ระดับราคาของสินค้าและบริการโดยทั่วไปต่ำลงต่อเนื่อง และตัวเลขของอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่า 0% หรืออัตราเงินเฟ้อติดลบ สรุปคือตรงกันข้ามกับเงินเฟ้อ (Inflation) นั่นเอง
สรุปแล้ว เงินเฟ้อคือภาวะระดับราคาของสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้น ถ้ามองมุมมองโดยทั่วไป เงินเฟ้อในระดับที่พอเหมาะนั้นจะดีต่อสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งต่างจากเงินฝืดที่มีระดับราคาลดลงและเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจ
วางแผนนำเงินที่มีนั้นไปฝากธนาคารส่วนหนึ่ง
เมื่อเกิดภาวะปัญหาเศรษฐกิจเงินเฟ้อขึ้นนั้น นั้นหมาถึงการมีเงินอยู่ในระบบเศรษฐกิจต่างๆในประเทศมากเกินไปทำให้ราคาสินค้าข้าวของต่างๆนั้นแพงขึ้น ธนาคารหรือสถาบันการเงินต่างๆก็เลือกที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆโดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากขึ้น เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากให้สูงขึ้นเพื่อที่ดึงดูดประชากรต่างๆทั่วไป มาฝากเงินกับธนาคารต่างๆหรือมาฝากเงินกับสถาบันการเงินต่างๆให้มากขึ้นเพื่อที่จะดึงดูดเงินในระบบเศรษฐกิจไม่ให้เยอะเกินไป และไม่ใช่เพียงดอกเบี้ยเงินฝากที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
วางแผนการใช้จ่ายเงินให้ประหยัด
ภาวะปัญหาต่างๆที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจหรือไม่ก็เกี่ยวกับการเงินนั้นการวางแผนเรื่องการใช้จ่ายเงินหรือการวางแผนเรื่องการประหยัดเงินถือว่าเป็นสิ่งที่ค่อนข้างพื้นฐานเลยก็ว่าได้ เพราะว่าการประหยัดเงินนั้นทำให้เรามีเงินเหลือที่มากขึ้นและเราสามารถเก็บออมเงินส่วนนั้นไว้เพื่อใช้ในการรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจต่างๆได้ มีสิ่งต่างๆรอบตัวจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจหรือแม้ว่าจะได้รับผลกระทบแต่ราคาคงไม่ปรับตัวสูงขึ้นเท่าไหร่ การวางแผนประหยัดเงินนี้คือการพยายามประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆจากทุกส่วน นั้นอาจหมายถึงการปลูกผักกินเลยก็ว่าได้
วางแผนเร่งซื้อข้าวของเครื่องใช้ต่างๆที่จำเป็น
เมื่อภาวะปัญหาเศรษฐกิจเงินเฟ้อเกิดขึ้นหรือว่าใกล้จะเกิดขึ้นนั้น สิ่งของต่างๆรอบตัวคงไม่ปรับราคาอย่างฉลับพลันทันที ทุกอย่างจะค่อยๆปรับขึ้นจนถึงจุดๆหนึ่งที่เรารู้สึกว่าแพง การติดตามข่าวสารจากแหล่งต่างๆนั้นสามารถทำให้เราเตรียมตัวรับมือการสถานการณ์ต่างๆได้ง่ายขึ้น
วางแผนเตรียมตัวขายทอง ขายของที่เคยเก็บไว้เก็งกำไร
นักลงทุนเพื่อเก็งกำไรจำนวนไม่น้อยที่อาศัยช่วงเวลาที่เกิดภาวะปัญหาเศรษฐกิจเกี่ยวกับการเงินต่างๆในการลงทุน ใช้ภาวะปัญหาเศรษฐกิจเกี่ยวกับการเงินต่างๆเพื่อเก็งกำไร โดยที่จะเน้นปริมาณนั้นไม่เน้นมูลค่าของเงิน นักลงทุนจำนวนไม่น้อยนั้นเลือกที่จะออกมาขายสินค้าต่างๆที่ตัวเองได้กักตุนไว้ในช่วงที่ราคาปกติหรือเลือกที่จะขายสินค้าต่างๆในช่วงเวลาภาวะปัญหาเศรษฐกิจเงินเฟ้อ นักลงทุนจำนวนไม่น้อยนั้นอาศัยช่วงสินค้าราคาปรับตัวสูงขึ้นและสินค้าปรับราคาต่างลงต่างๆ โดยที่ภาวะปัญหาเศรษฐกิจเงินฝืดนั้น จะทำให้สินค้าจำนวนไม่น้อยที่มีราคาถูกลง
ที่มา: https://www.investopedia.com/ask/answers/111414/how-can-inflation-be-good-economy.asp
https://www.investopedia.com/ask/answers/032415/what-difference-between-deflation-and-disinflation.asp
และ
https://aommoney.com/