เนื้อหาที่สอน เลข ม.4 การให้เหตุผล
(1) การให้เหตุผลแบบอุปนัย
(2) การให้เหตุผลแบบนิรนัย
การให้เหตุผล
การให้เหตุผลแบ่งได้ 2 แบบดังนี้
1. การให้เหตุผลแบบอุปนัย
2. การให้เหตุผลแบบนิรนัย
1. การให้เหตุผลแบบอุปนัย
การให้เหตุผลแบบอุปนัย เป็นการให้เหตุผลโดยอาศัยข้อสังเกตหรือผลการทดลองจากหลาย ๆ ตัวอย่าง มาสรุปเป็นข้อตกลง หรือข้อคาดเดาทั่วไป หรือคำพยากรณ์ ซึ่งจะเห็นว่าการจะนำเอาข้อสังเกต หรือผลการทดลองจากบางหน่วยมาสนับสนุนให้ได้ข้อตกลง หรือ ข้อความทั่วไปซึ่งกินความถึงทุกหน่วย ย่อมไม่สมเหตุสมผล เพราะเป็นการอนุมานเกินสิ่งที่กำหนดให้ ซึ่งหมายความว่า การให้เหตุผลแบบอุปนัยจะต้องมีกฎของความสมเหตุสมผลเฉพาะของตนเอง นั่นคือ จะต้องมีข้อสังเกต หรือผลการทดลอง หรือ มีประสบการณ์ที่มากมายพอที่จะปักใจเชื่อได้ แต่ก็ยังไม่สามารถแน่ใจในผลสรุปได้เต็มที่ เหมือนกับการให้เหตุผลแบบนิรนัย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการให้เหตุผลแบบนิรนัยจะให้ความแน่นอน แต่การให้เหตุผลแบบอุปนัย จะให้ความน่าจะเป็น
ตัวอย่างการให้เหตุผลแบบอุปนัย เช่น เราเคยเห็นว่ามีปลาจำนวนมากที่ออกลูกเป็นไข่เราจึงอนุมานว่า “ปลาทุกชนิดออกลูกเป็นไข่” ซึ่งกรณีนี้ถือว่าไม่สมเหตุสมผล ทั้งนี้เพราะ ข้อสังเกต หรือ ตัวอย่างที่พบยังไม่มากพอที่จะสรุป เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้วมีปลาบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว เช่น ปลาหางนกยูง เป็นต้น
โดยทั่วไปการให้เหตุผลแบบอุปนัยนี้ มักนิยมใช้ในการศึกษาค้นคว้าคุณสมบัติต่าง ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น ข้อสรุปที่ว่า สารสกัดจากสะเดาสามารถใช้เป็นยากำจัดศัตรูพืชได้ ซึ่งข้อสรุปดังกล่าวมาจากการทำการทดลอง ซ้ำ ๆ กันหลาย ๆ ครั้ง แล้วได้ผลการทดลองที่ตรงกันหรือในทางคณิตศาสตร์จะใช้การให้เหตุผลแบบอุปนัย ในการสร้างสัจพจน์ เช่น เมื่อเราทดลองลากเส้นตรงสองเส้นให้ตัดกัน เราก็พบว่าเส้นตรงสองเส้นจะตัดกันเพียงจุด ๆ เดียวเท่านั้น ไม่ว่าจะทดลองลากกี่ครั้งก็ตาม เราก็อนุมานว่า “เส้นตรงสองเส้นตัดกันเพียงจุด ๆ เดียวเท่านั้น”
ตัวอย่าง 1.
เมื่อเรามองไปที่ห่านกลุ่มหนึ่งพบว่า
ห่านตัวนี้สีขาว
ห่านตัวนั้นก็สีขาว
ห่านตัวโน้นก็สีขาว
ห่านนั้นก็สีขาว
ดังนั้น ห่านทุกตัวคงจะต้องมีสีขาว
ตัวอย่าง 2
ในการบวกเลข 2 จำนวน เราพบว่า
1+2 = 2+1
2+3 = 3+2
เราอาจสรุปได้ว่าทุกๆจำนวน a และ b จะได้ว่า a + b = b + a
ตัวอย่าง 3
จากการสร้างรูปสามเหลี่ยมในระนาบ พบว่า
เส้นมัธยฐานของสามเหลี่ยมรูป A พบกันที่จุดๆหนึ่ง
เส้นมัธยฐานของสามเหลี่ยมรูป B พบกันที่จุดๆหนึ่ง
เส้นมัธยฐานของสามเหลี่ยมรูป C พบกันที่จุดๆหนึ่ง
ดังนั้น เส้นมัธยฐานของสามเหลี่ยมใดๆ พบกันที่จุดๆหนึ่งเสมอ
ข้อสังเกต
1.ข้อสรุปของการให้เหตุผลแบบอุปนัยอาจจะไม่จริงเสมอไป
2. การสรุปผลของการให้เหตุผลแบบอุปนัยอาจขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สรุป
3. ข้อสรุปที่ได้จากการให้เหตุผลแบบอุปนัยไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
ตัวอย่าง กำหนด จำนวน 2, 4, 6 , a จงหา จำนวน a จะได้ a = 8
กำหนด จำนวน 2, 4, 6 , a จงหา จำนวน a
จะได้ a = 10 เพราะว่า 4 + 6 = 10
กำหนด จำนวน 2, 4, 6 , a จงหา จำนวน a จะได้ a = 22
เพราะว่า 6 = (2 x 4)-2 และ 22 = (4 x 6)-2
4. ข้อสรุปของการให้เหตุผลแบบอุปนัยอาจ ผิดพลาดได้
ตัวอย่าง ให้ F(n) = n2 – 79n + 1601
ทดลองแทนค่าจำนวนนับ n ใน F(n)
n = 1 ได้ F(1) = 1523 เป็นจำนวนเฉพาะ
n = 2 ได้ F(2) = 1447 เป็นจำนวนเฉพาะ
n = 3 ได้ F(3) = 1373 เป็นจำนวนเฉพาะ
F(n) = n2 – 79n + 1601
แทนค่า n ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งแทน n = 79 ได้ F(79) เป็นจำนวนเฉพาะ
จากการทดลองดังกล่าว อาจสรุปได้ว่า n2 – 79n + 1601 เป็นจำนวนเฉพาะ สำหรับทุกจำนวนนับ แต่…
F(n) = n2 – 79n + 1601
F(80) = 802 – (79)(80) + 1601
= 1681
= (41)(41)
F(80) ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ
2. การให้เหตุผลแบบนิรนัย
เป็นการนำความรู้พื้นฐานที่อาจเป็นความเชื่อ ข้อตกลง กฏ หรือบทนิยาม ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อนและยอมรับว่าเป็นจริง เพื่อหาเหตุผลนำไปสู่ข้อสรุป
ตัวอย่าง 1
มนุษย์ทุกคนเป็นสิ่งมีชีวิต และ นายแดงเป็นมนุษย์คนหนึ่ง
เพราะฉะนั้น นายแดงจะต้องเป็นสิ่งมีชีวิต
ตัวอย่าง 2
ปลาโลมาทุกตัวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์เลี้ยงลูกด้วย
นม ทุกตัวมีปอด
ดังนั้น ปลาโลมาทุกตัวมีปอด
ตัวอย่าง 3
แมงมุมทุกตัวมี 6 ขา และสัตว์ที่มี 6 ขา ทุกตัวมีปีก
ดังนั้น แมงมุมทุกตัวมีปีก
การให้เหตุผลแบบนิรนัย
การให้เหตุผลแบบนิรนัยเป็นวิธีการให้เหตุผลโดยสรุปผลจากข้อความซึ่งเป็นความจริงทั่วไปมาเป็นข้ออ้างเพื่อสนับสนุนให้เกิดข้อสรุปที่เป็นความรู้ใหม่ที่เป็นข้อสรุปส่วนย่อยข้อสรุปที่ได้จากการให้เหตุผล
แบบนิรนัยนั้นจะเป็นข้อสรุปที่อยู่ในขอบเขตของเหตุเท่านั้นจะเป็นข้อสรุปที่กว้างหรือเกินกว่าเหตุไม่ได้การให้เหตุผลแบบนิรนัยประกอบด้วยข้อความ2กลุ่มโดยข้อความกลุ่มแรกเป็นข้อความที่เป็นเหตุ เหตุอาจมี
หลาย ๆเหตุ หลาย ๆข้อความ และข้อความกลุ่มที่สองจะเป็นข้อสรุป ข้อความในกลุ่มแรกและกลุ่มที่สองจะต้องมีความสัมพันธ์กัน
ข้อจำกัดของการให้เหตุผลแบบนิรนัย
1.การให้เหตุผลแบบนิรนัยเป็นการให้เหตุผลที่มีขนาดใหญ่ซึ่งกำหนด เป็นการวางนัยทั่วไปและมีเหตุรองเป็น เหตุการณ์เฉพาะเพื่อนำไปสู่ข้อสรุป ดังนั้นเหตุจะเป็นข้อความหรือสมมุติฐานฐานใด ๆ ที่อาจเป็นจริงหรือไม่จริงในชีวิตประจำวันก็ได้ แต่ถ้าข้อความนั้นไม่จริงก็จะทำให้เกิดข้อเสียหายแก่ข้อสรุป เนื่องจากเหตุผลแบบนิรนัยจะสรุปผลในขอบเขตของเหตุที่กำหนดไว้เท่านั้น
2. การให้เหตุผลแบบนิรนัยไม่สามารถสรุปผลตามที่คาดหวังไว้ได้ต้องสรุปให้เป็นไปตามเหตุการณ์ต่าง ๆที่กำหนดไว้เท่านั้น ดังเช่น
เหตุ 1. นกทุกชนิดบินได้
2. เพนกวิน เป็นนกชนิดหนึ่ง
ผลสรุป นกเพนกวินบินได้
3.เมื่อเราใช้วิธีการให้เหตุผลแบบนิรนัยเพียงอย่างเดียวจะทำให้วิทยาการต่าง ๆก้าวหน้าได้อย่างช้ามากหรือไม่ก้าวหน้าเลยเพราะว่าความรู้ทั่วไปที่จะมาเป็นการวางนัยทั่วไปจะใช้เวลาที่ยาวนานมากเพราะเป็นความรู้ที่ถูกต้องจากผู้รู้ในสมัยก่อนๆ ซึ่งมีอยู่ไม่มากนักการใช้ความรู้ที่มีอยู่แบบเดิมมาใช้โดยไม่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่เพิ่มเติมนั้นจะเป็นผลให้ไม่เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาการหรือก้าวหน้าได้อย่างช้ามาก
ตัวอย่างการให้เหตุผลแบบนิรนัย
ตัวอย่างที่ 1 เหตุ 1. สัตว์ทุกชนิดต้องตาย
2. มนุษย์เป็นสัตว์
3. ดำเป็นมนุษย์
ผลสรุป ดำต้องตาย
ตัวอย่างที่ 2 เหตุ 1. จำนวนที่หารด้วย 2 ไม่ลงตัว เรียกว่า จำนวนคี่
2. X เป็นจำนวนที่หารด้วย 2 ลงตัว
ผลสรุป x ไม่เป็นจำนวนคี่
ตัวอย่างที่ 3 เหตุ 1. เด็กที่ขาดสารไอโอดีน ทุกคนเป็นโรคคอพอก
2. เด็กที่อยู่ในท้องถิ่นที่ห่างไกลจากทะเลทุกคนขาดสารไอโอดีน
3. หมู่บ้าน ก อยู่ห่างไกลจากทะเล
4. เด็กชายต้น อยู่ในหมู่บ้าน ก
ผลสรุป เด็กชายต้นเป็นโรคคอพอก
ตัวอย่างที่ 4 เหตุ 1. รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีมุมที่ฐานมีขนาดเท่ากัน 2 มุม
2. รูปสามเหลี่ยมมุมฉากเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีขนาดเท่ากัน 2 มุม
ผลสรุป รูปสามเหลี่ยมมุมฉากเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
2. การให้เหตุผลแบบอุปนัย
การให้เหตุผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning) เกิดจากการที่มีสมมติฐานกรณีเฉพาะ หรือเหตุย่อยหลายๆ เหตุ เหตุย่อยแต่ละเหตุเป็นอิสระจากกัน มีความสำคัญเท่าๆ กัน และเหตุทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีเหตุใดเหตุหนึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นสมมติฐานกรณีทั่วไป หรือกล่าวได้ว่า การให้เหตุผลแบบอุปนัยคือการนำเหตุย่อยๆ แต่ละเหตุมารวมกัน เพื่อนำไปสู่ผลสรุปเป็นกรณีทั่วไป เช่นตัวอย่างการให้เหตุผลแบบอุปนัย
1. สุนทรี พบว่า ทุกครั้งที่คุณแม่ไปซื้อก๋วยเตี๋ยวผัดไทยจะมีต้นกุยช่ายมาด้วยทุกครั้ง จึงสรุปว่า ก๋วยเตี๋ยวผัดไทยต้องมีต้นกุยช่าย
2.ชาวสวนมะม่วงสังเกตมาหลายปีพบว่า ถ้าปีใดมีหมอกมาก ปีนั้นจะได้ผลผลิตน้อย เขาจึงสรุปว่าหมอกเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลผลิตน้อย ต่อมามีชาวสวนหลายคนทดลองฉีดน้ำล้างช่อมะม่วง เมื่อมีหมอกมากๆ พบว่าจะได้ผลผลิตมากขึ้นจึงสรุปว่า การล้างช่อมะม่วงตอนมีหมอกมากๆ จะทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้น
3.นายสมบัติ พบว่า ทุกครั้งที่ทำความดีจะมีความสบายใจ จึงสรุปผลว่า การทำความดีจะทำให้เกิดความสบายใจ การให้เหตุผลแบบอุปนัย เป็นวิธีการให้เหตุผลโดยสรุปจากเหตุหลาย ๆ เหตุโดยถือหลักความจริงของเหตุจากส่วนย่อยหรือส่วนเฉพาะไปสู่การสรุปความจริงที่เป็นส่วนใหญ่ หรือส่วนร่วมโดยที่เหตุผลลักษณะนี้จะประกอบไปด้วย ข้อความ 2 กลุ่มคือ ข้อความที่เป็นส่วนของเหตุและข้อความที่เป็นข้อสรุป โดยกลุ่มของข้อความที่เป็นเหตุจะทำให้เกิดข้อสรุปของข้อความในกลุ่มหลังเราสามารถกล่าวได้ว่าการให้เหตุผลแบบอุปนัยมีลักษณะการนำความรู้ที่ได้จากการตัดสินใจจากประสบการณ์หลาย ๆครั้ง การสังเกต หรือการทดลองหลาย ๆ ครั้งมาเป็นเหตุย่อยหรือสมมติฐานต่าง ๆ แล้วนำมาสรุปเป็นคุณสมบัติของส่วนรวมทั้งหมดเป็นข้อความหรือความรู้ทั่วไปซึ่งจะครอบคลุมไปถึงสิ่งที่ยังไม่มีประสบการณ์หรือยังไม่ได้กล่าวอีกด้วย
ข้อจำกัดของการให้เหตุผลแบบอุปนัย
1.ข้อสรุปที่ได้จากการให้เหตุผลแบบอุปนัยที่ยอมรับว่าเป็นจริงนั้นอาจจะเกิดข้อขัดแย้งกับข้อความที่เป็นเหตุเรายังไม่ได้อ้างไว้ก่อนเพราะข้อความที่เป็นเหตุยังมีอยู่อีกมากมีจำนวนไม่จำกัด
2.จากการสังเกตข้อเท็จจริงจากเหตุหรือสมมุติฐานในเหตุการณ์หรือตัวอย่างที่หามา แล้วนำมาสรุปเป็นการวางนัยทั่วไปอาจจะไม่ใช่ข้อสรุปที่ถูกต้องก็ได้เพราะอาจมีตัวอย่างที่ไม่เป็นไปตามข้อสรุปที่ได้มาใหม่แน่นอนกว่าทำให้ข้อสรุปนั้นผิดไป
3.ข้อสรุปที่มาจากการให้เหตุผลแบบอุปนัย เป็นการวางนัยทั่วไปซึ่งไม่ได้ให้ความจริงกับเราได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ข้อสรุปนี้อาจจะถูกต้องหรือผิดก็ได้และเป็นเพียงข้อสรุปที่มีความจริงว่าจะเป็นสิ่งที่จะถูกต้องเท่านั้น
ตัวอย่างการให้เหตุผลแบบอุปนัย
ตัวอย่างที่ 1 ในการศึกษาลักษณะของสิ่งมีชีวิต ดังต่อไปนี้
เหตุ 1. คนทุกคนต้องหายใจ
2. นกทุกคนต้องหายใจ
3. แมวทุกคนต้องหายใจ
4. เต่าทุกคนต้องหายใจ
5. เสือทุกคนต้องหายใจ
ผลสรุป สัตว์ทุกชนิดต้องหายใจ