ความต้องการเรียนรู้นั้นมีจุดเริ่มต้นจากทัศนคติหรือวิธีคิด (Mindset) ซึ่งจะไปกำหนดพฤติกรรมการเรียนรู้อีกทอดหนึ่ง Mindset สำคัญที่กระตุ้นให้เกิดความต้องการเรียนรู้ เช่น Growth Mindset คือแนวคิดที่มองว่าทุกสิ่งสามารถพัฒนาขึ้นได้ เปลี่ยนแปลงเติบโตได้ มองอุปสรรคเป็นโอกาส รักที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ตลอดเวลา ไม่กลัวที่จะผิดพลาด มองการล้มเหลวเป็นเรื่องปกติ Agile Mindset คือแนวคิดที่เน้นความยืดหยุ่นและการปรับตัว เชื่อว่าถ้าปรับตัวได้เร็วก็จะอยู่รอดและพัฒนาต่อไปได้ เริ่มจากเปลี่ยนแปลงความคิดความเชื่อเดิมหรือการกระทำแบบเดิม หาทางใหม่ๆ หรือปรับปรุงแก้ไขวิธีการเดิมเพื่อให้ได้คำตอบหรือวิธีการที่ดีกว่าเดิม และเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง Resilient Mindset คือความไม่ย่อท้อต่อปัญหา อุปสรรคคือความท้าทาย เมื่อผิดพลาดแล้วล้มลงต้องลุกขึ้นใหม่ได้เสมอ ด้วยการสรุปบทเรียนและปรับตัวให้แตกต่างเพื่อที่จะกลับมายืนได้อีกครั้ง Learning and Curious Mindset กล้าเผชิญความท้าทายและกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เพื่อผลักดันตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม
การส่งเสริมการเรียนรู้ ไม่อาจแยกออกจากกรอบคิดเรื่อง ระบบนิเวศการเรียนรู้4 ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่
(1) ความต้องการเรียนรู้ พฤติกรรมการเรียนรู้
(2) เนื้อหาและสื่อการเรียนรู้
(3) แหล่งหรือพื้นที่การเรียนรู้ ทั้งกายภาพและออนไลน์
(4) เทคโนโลยี
(5) กฎหมาย โครงสร้างทางสังคม ปัจจัยด้านวัฒนธรรม
การเรียนรู้ยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก
การศึกษา เป็นรากฐานที่เราต้องวางไว้ให้กับเด็กๆ และการศึกษาในสมัยนี้ก็มีหน้าตาต่างไปจากเมื่อก่อน ยิ่งทุกวันนี้โลกเราเปลี่ยนไปวันต่อวัน การให้การศึกษา ออกแบบห้องเรียน และการจัดการเรียนการสอนจึงไม่อาจเป็นรูปแบบแบบเดิมๆ ได้อีกต่อไป เมื่อโลกเทคโนโลยีกำลังมา
Coding Literacy
เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล อีกหน่อยหุ่นยนต์และ AI ก็ยิ่งจะมาเป็นส่วนสำคัญของโลกธุรกิจและการผลิต ดังนั้น ‘ภาษา’ สำคัญในโลกยุคต่อไปจึงไม่ใช่ภาษาที่ใช้สื่อสารระหว่างมนุษย์ แต่เป็นภาษาที่เราใช้สื่อสารเข้าใจและจัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ ทักษะความเข้าใจเรื่องโค้ดและระบบการเขียนโค้ด (coding)
Student as Creators
จากที่เราเคยวางผู้เรียนเป็นแค่ฝ่ายรับและเรียนรู้สิ่งต่างๆ แต่ในโลกยุคใหม่ ด้วยพลังของเทคโนโลยีที่เปิดโอกาสให้ใครก็ตามสามารถผลิตสร้างผลงานของตัวเองได้ด้วยเพียงคอมพิวเตอร์และโปรแกรมในมือ ดังนั้นนักเรียนในโลกของการสร้างสรรค์จึงจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับ (passive) เป็นผู้สร้าง (active)
Empathy and Emotion Understanding
การศึกษาคือการสร้างมนุษย์ ไม่ใช่สร้างหุ่นยนต์ ยิ่งต่อไปเรากำลังก้าวสู่ยุคเทคโนโลยี ทักษะอ่อน (soft skill) ทักษะแบบมนุษย์ที่พ้นไปจากเรื่องการงาน เช่น ความเข้าใจและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน จึงเป็นสิ่งที่โลกแห่งการทำงานกำลังต้องการ ดังนั้นประเด็นเรื่องความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจผู้อื่น
Collaborative learning
เรามักชินกับความสำเร็จส่วนบุคคล เชิดชูความอัจฉริยะของเด็กคนใดคนหนึ่ง แต่จริงๆ แล้ว เราต่างเข้าใจว่าโลกของความสำเร็จและการทำงาน การแก้ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นได้จากการร่วมมือกัน ยิ่งในโลกทุกวันนี้เทคโนโลยีกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยเชื่อมโยงและแก้ปัญหาต่างๆ
Family and Community Involvement
การให้การศึกษาไม่ใช่แค่ภาระของโรงเรียนหรือครูอาจารย์ แต่เป็นหน้าที่ที่ทั้งครอบครัวและชุมชนต้องร่วมกันส่งเสริมพัฒนาการของเด็กๆ ให้รอบด้าน การที่ใครก็ตามต่างสามารถมีส่วนรับผิดชอบและสอดส่องว่าเด็กคนนี้มีความต้องการความช่วยเหลือหรือส่งเสริมพัฒนาอะไรเป็นพิเศษหรือไม่นั้น เป็นกระแสที่ปรับจากความเชื่อเรื่องการให้การศึกษาแบบเดิมๆ มาเป็นการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กๆ
ขอบคุณข้อมูล https://www.aksorn.com/