เรียนคณิตยังไง ? ให้ได้ผลสูงสุด
ฟังคือฟัง จดคือจด
ข้อเสียอย่างนึงของเด็กไทยคือ ระหว่างที่คุณครูพูด มือก็จดยิกๆๆ เพราะกลัวจดไม่ทัน แต่ความจริงสิ่งที่ทำอยู่ผิดหนักกว่าเก่าอีก เพราะทำให้เราจดไปทั้งๆ ที่ไม่เข้าใจ โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ที่ต่างจากวิชาอื่นๆ อาจารย์จะแสดงวิธีการคิด การได้มาของแต่ละคำตอบให้ดูบนกระดาน การเรียนแบบฟังไป เขียนไปไม่มองกระดาน ไม่เข้าใจแน่นอนค่ะ เพราะขาด”การเห็นด้วยตา” นั่นเอง ฉะนั้นเวลาที่อาจารย์อธิบาย วางปากกาดินสอ ทุกสิ่งอย่างไว้ก่อน แล้วจดจ้องที่กระดาน ดูให้ออกว่าผลลัพธ์ของแต่ละบรรทัดมาได้ยังไง เอาอะไรมาบวกลบคูณหารกัน ถ้าดูแล้วเข้าใจ น้องๆ ก็จะเขียนลงสมุดเข้าใจสูตร ทฤษฎีต่างๆ ตั้งแต่พื้นฐาน
“ทฤษฎีบท/สูตรต่างๆ” ต่อให้เราเกลียดแค่ไหน มันก็ยังจำเป็นสำหรับการเรียนคณิตศาสตร์อยู่ดี สิ่งที่ต้องระวังสำหรับการเรียนคณิตศาสตร์คือ น้องๆ มักจะท่องสูตรกันก่อนสอบ ทำให้ระยะยาวนั้นจำไม่ได้ ใช้ไม่เป็น สอบเสร็จคืนความรู้หน้าห้องสอบทันที
การเรียนคณิตศาสตร์ที่แท้จริง ไม่ควรเน้นการท่องจำ
รวบรวมสติและสมาธิ
น้องๆ น่าจะเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะมีเกิดปัญหา” ประโยคนี้ใช้ได้กับทุกสถานการณ์ ไม่เว้นแม้แต่การเรียนคณิตศาสตร์ค่ะ คนที่มีสติและสมาธิส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จ เพราะเขาจะรู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ และจะทำสิ่งนั้นให้ดีขึ้นได้ยังไง
พี่มิ้นท์ว่า “คณิตศาสตร์” เป็นวิชาที่ต้องใช้สมาธิขั้นสูง
เปลี่ยนตัวเองมาเป็นคนสอนบ้าง
หลังจากพยายามเรียนรู้ในแต่ละบทเรียนไปแล้ว เป็นธรรมดาค่ะที่จะต้องมีบางเรื่องที่เราเข้าใจและอีกหลายเรื่องที่เราไม่เข้าใจ เรื่องที่เราไม่เข้าใจแก้ไขไม่ยากคือ ให้เพื่อนช่วยสอนหรืออ่านหนังสือเพิ่มเติม แต่เรื่องที่เราเข้าใจดีก็พอจะมีวิธีที่จะทำให้จำแม่นๆ อยู่บ้าง นั่นก็คือ หาโอกาสลองอธิบายให้เพื่อนฟังบ้าง อาจจะเป็นเช้าวันถัดไป
หมั่นทำแบบฝึกหัดด้วยตัวเอง
เรียกเคล็ดลับก็ไม่ถูกซะทีเดียว เพราะการทำแบบฝึกหัด ฝึกตีโจทย์ต่างๆ เป็นสิ่งที่น้องๆ ควรทำอยู่แล้วทุกวัน แต่เนื่องจากเด็กไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการบ้านเท่าไหร่ แต่ไปให้ความสำคัญกับคะแนน ทำให้น้องๆ หาวิธีได้คะแนนแบบไม่ต้องเหนื่อย คือ เลือกที่จะลอกเพื่อนแล้วส่งในตอนเช้า ไม่ค่อยทำการบ้านด้วยตัวเองสักเท่าไหร่
ทำโจทย์คือหัวใจหลัก
ถ้าเป็นวิชาคำนวณ น้องๆ จะไม่สามารถเข้าใจหรือพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นได้เลยค่ะ ถ้าไม่เคยฝึกทำโจทย์มาก่อน เพราะการฝึกทำโจทย์จะช่วยให้น้องๆ คุ้นเคยกับรูปแบบของโจทย์ และเชี่ยวชาญกับวิธีแก้โจทย์ พี่อีฟเคยได้ยินรุ่นพี่หลายคนแนะนำว่า ถ้าเราทำโจทย์เยอะมากพอ
เข้าใจนิยามและทฤษฎีคือหัวใจรอง
ก่อนทำโจทย์คณิตศาสตร์ทุกครั้ง น้องๆ จะต้องได้เรียนเกี่ยวกับนิยามและทฤษฎีบทของบทนั้นๆ ก่อน เพื่อที่จะได้เข้าใจความหมายของบทนั้น ซึ่งน้องๆ อาจจะมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น เพราะนิยามและทฤษฎีบทมักจะใช้ภาษาทางการ และซับซ้อน ต้องแปลความหมาย
เข้าใจความหมายของสัญลักษณ์อย่างแท้จริง
+ – x > < น้องๆ รู้จักเครื่องหมายเหล่านี้ไหมคะ หลายคนอาจจะตอบว่ารู้จัก และอธิบายได้ว่าแต่ละสัญลักษณ์มีความหมายยังไง แต่ถ้าน้องๆ ไม่รู้มาก่อนเลยว่าเครื่องหมายเหล่านี้คืออะไร แล้วพี่อีฟให้โจทย์น้องๆ เช่น 34567 + 78954 = ? น้องๆ ก็คงไม่สามารถหาคำตอบได้แน่นอน นอกจากสัญลักษณ์พื้นฐานที่น้องๆ น่าจะคุ้นเคย อย่าลืมว่าสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ยังมีอีกมากมาย ถ้าน้องๆ เข้าใจทุกสัญลักษณ์ ไม่จำผิดหรือจำสลับกัน อย่างเช่นเครื่องหมาย มากกว่า (>) น้อยกว่า (<) ที่น้องๆ หลายคนมักสับสนกัน