คณิตศาสตร์ ม.5 ตามหลักสูตรของ สสวท. (หลักสูตรใหม่ ฉบับปรับปรุงปี 2560) ซึ่งเป็นหลักสูตรอัพเดทล่าสุด และใช้มาจนถึงปีปัจจุบัน
คณิตศาสตร์พื้นฐาน
บทที่ 1 เลขยกกำลัง
1.1 เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม
1.2 รากที่ n ของจำนวนจริง
1.3 เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ
ทฤษฎีเกี่ยวกับเลขยกำลัง ทฤษฎีเกี่ยวกับเลขยกกำลังมีทั้งหมด 5 ข้อ น่ะครับ ต้องจำให้ได้ทั้งหมดทั้ง 5 ข้อเลยน่ะครับ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่ยากครับ ต้องหัดทำโจทย์เยอะๆ เวลาเราไปโจทย์โจทย์เราต้องพิจารณาโจทย์ดูว่าจะใช้ทฤษฎีข้อไหนมาช่วยในการทำโจทย์ ต้องเลือกให้ถูกน่ะครับ ถ้าเลือกถูกก็จะแก้โจทย์ได้แบบง่ายๆ
บทนิยามของเลขยกกำลัง
บทนิยาม ถ้า a แทนจำนวนใด ๆ และ n แทนจำนวนเต็มบวก “a ยกกำลัง n” เขียนแทนด้วย aⁿ มีความหมายดังนี้
a ⁿ = a x a x a x … x a (a คูณกัน n ตัว)
เรียก aⁿ ว่า เลขยกกำลัง ที่มี a เป็นฐาน และ n เป็นเลขชี้กำลัง
สัญลักษณ์ 2⁵ อ่านว่า “สองยกกำลังห้า” หรือ “สองกำลังห้า” หรือ “ กำลังห้าของสอง”
2⁵ แทน 2 x 2 x 2 x 2 x 2
2⁵ มี 2 เป็นฐาน และ 5 เป็นเลขชี้กำลัง
และในทำนองเดียวกัน
สัญลักษณ์ (-2)⁵ อ่านว่า “ลบสองทั้งหมดยกกำลังห้า” หรือ “ กำลังห้าของลบสอง”
(-2)⁵ แทน (-2) x (-2) x (-2) x (-2) x (-2)
(-2)⁵ มี -2 เป็นฐาน และ 5 เป็นเลขชี้กำลัง
รากที่ n ของจำนวนจริง
รากที่ n ของจำนวนจริง คือจำนวนจริงตัวหนึ่งยกกำลัง n แล้วเท่ากับ x เมื่อ n > 1 เราสามารถตรวจสอบรากที่ n ได้ง่ายๆ โดยนิยามดังนี้
นิยาม
ให้ x, y เป็นจำนวนจริง และ n เป็นจำนวนเต็มที่มากกว่า 1 เราจะบอกว่า y เป็นรากที่ n ของ x ก็ต่อเมื่อ (y)n = x
เช่น 5 เป็นรากที่ 3 ของ 125 หรือไม่
จากที่เรารู้ว่า 5×5×5 = 125 ดังนั้น เราจึงสรุปได้ว่า 5 เป็นรากที่ 3 ของ 125 หรือสามารถพูดได้อีกแบบคือ รากที่ 3 ของ 125 คือ 5 เขียนให้สั้นลงได้เป็น นั่นเอง
ในกรณีที่ n= 0 จะได้ว่า = 0
แต่ถ้า n > 0 จะได้ว่า n จะเป็นเลขคู่หรือคี่ก็ได้
**เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มคู่ จะได้ว่า รากที่ n ของ a เป็นได้ทั้งจำนวนบวกและจำนวนลบ
เช่น -2, 2 เป็นรากที่ 4 ของ 16 เพราะ (-2)4 = 16 และ (2)4 = 16
เลขยกกำลัง ที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ
เลขยกกำลัง ที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะมีความเกี่ยวข้องกับกรณฑ์ในบทความ จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ จากที่เรารู้ว่า จำนวนตรรกยะคือจำนวนที่สามารถเขียนอยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็มได้ เช่น 2/3 ,5/4 , 1/4, 4 , 5 เป็นต้น ดังนั้นเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ ก็คือจำนวนจริงใดๆยกกำลังด้วยจำนวนที่สามารถ
โดยนิยามของเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ คือ
เมื่อ k และ n เป็นจำนวนเต็ม และ n > 1
เราเรียก
ว่า เลขยกกำลัง
a คือ เลขฐาน
k/nคือ เลขชี้กำลัง