แนะนำเนื้อหาที่เรียนคณิตศาสตร์ (ม.ปลาย) มีดังต่อไปนี้
ม.4 เทอม 1 จะเป็นการเรียนในเชิงของปรับพื้นฐานของคณิตศาสตร์ ได้แก่
-
- เซต
- ตรรกศาสตร์
- จำนวนจริง
ม.4 เทอม 2 เป็นเรื่องของพื้นฐานความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ได้แก่
-
- ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
- ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม
ม.5 เทอม 1 จะได้เรียนฟังก์ชันอีกเช่นกัน แต่เพิ่มความยากและซับซ้อนมากขึ้น และยังมีเรื่องปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทางอีกด้วย ได้แก่
-
- ฟังก์ชันตรีโกณมิติ
- เมทริกซ์
- เวกเตอร์
ม.5 เทอม 2 จะเป็นเรื่องการนำเวกเตอร์ไปเขียนจำนวนเชิงซ้อน และหลักการนับจำนวนวิธีที่เป็นไปได้ในการทำงานทั้งหมด รวมไปถึงความน่าจะเป็น
-
- จำนวนเชิงซ้อน
- หลักการนับเบื้องต้น
- ความน่าจะเป็น
ม.6 เทอม 1 เรียนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ฟังก์ชันแต่มีความยากขึ้น ได้แก่
-
- ลำดับและอนุกรม
- แคลคูลัสเบื้องต้น
ม.6 เทอม 2 กล่าวถึงเรื่องของสถิติศาสตร์ ตั้งแต่สถิติศาสตร์ภาคบรรยาย ไปจนถึงสถิติศาสตร์ภาควิเคราะห์และคำนวณ
-
- ความหมายของสถิติศาสตร์และข้อมูล
- การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพ
- การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ
- ตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็น
เรียนคณิตออนไลน์- ก่อนสอบปลายภาคเตรียมตัวอย่างไรดี
1. วางแผนให้ดีในการเรียนออนไลน์
ทำปฏิทินเกี่ยวกับในช่วงสอบปลายภาคว่า แต่ละวัน จะต้องทำอะไรให้เสร็จบ้าง ลองเขียนวันสอบและเวลา และสถานที่ลงก่อน จากนั้น ก็จัดทำตารางอ่านหนังสือ และลองดูว่า อาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยวันไหน เวลาไหน เพื่อที่คุณจะได้ไปขอคำปรึกษาได้ถูกต้อง หรือหากมีการจัดสอนหรือจัดติวพิเศษในช่วงปลายภาค คุณก็สามารถเข้าไปนั่งฟังหรือนั่งติวเพื่อทบทวนความรู้ได้ด้วย
2. รู้จักข้อสอบ
เราน่าจะลองถามอาจารย์ว่า ข้อสอบที่จะออกช่วงปลายภาค จะเป็นแบบอัตนัยหรือปรนัย และใช้เวลาเท่าไหร่ในการทำข้อสอบให้เสร็จ อนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลขได้หรือไม่ เพื่อที่เราจะสามารถเตรียมตัวเตรียมใจได้ถูก เพราะเราคงไม่อยากใช้เครื่องคิดเลขตอนฝึกทำข้อสอบ หากอาจารย์ไม่อนุญาตให้เอาเครื่องคิดเลขเข้าห้องสอบหรอกนะ นอกจากนี้ เราก็ควรถามอาจารย์เกี่ยวกับเนื้อหาโดยทั่วไปที่จะออกข้อสอบ เช่น จะมีข้อสอบเกี่ยวกับบทเรียนเก่า ๆ เยอะไหม หรือมีข้อสอบเกี่ยวกับบทเรียนใหม่ ๆ หรือเปล่า อาจารย์อาจจะไม่บอกว่า มีบทไหนที่จะเน้นเป็นพิเศษ แต่ถ้าเกิดจะถามก็ไม่ผิดอะไร และข้อมูลเหล่านั้น จะช่วยให้เราเจาะข้อสอบได้ตรงประเด็นมากขึ้นนั่นเอง
3. หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือหามรุ่งหามค่ำ แต่เน้นการทำเป็นประจำสม่ำเสมอ
การอ่านหนังสือทั้งคืน มักจะไม่ได้ผล และการอดนอนจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำข้อสอบลดลง และการอดนอนนั้น ก็เป็นเหมือนการทรมานตัวเองอย่างหนึ่ง การคร่ำเครงอยู่กับหนังสือมมากเกินไป อาจจะทำให้เราสับสน และพอถึงเวลาทำข้อสอบจริง ๆ สิ่งที่อ่านมาก็จะใช้ไม่ได้ ดังนั้น ลองวางแผนว่าจะอ่านอะไรบ้างทั้งวัน และเราจะได้อ่านได้ตรงประเด็น จากนั้น ก็ค่อยเข้านอนแต่หัวค่ำ แล้วพอตื่นมา เราก็มีเวลาเหลือเฟือที่จะชาร์จพลัง เพื่อเตรียมตัวไปสอบอย่างสดชื่น
4. อย่าไขว้เขวกับเรื่องอื่น ๆ
ถ้าเราไม่มีสมาธิอ่านหนังสือในหอพัก ก็ลองเปลี่ยนบรรยากาศไปอ่านที่ห้องสมุดดูสิ ปิดเสียงโทรศัพท์ในกรณีที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการช่วยอ่านหนังสือ และข้อเสียของเราคือการเข้าเว็บไซต์ดูนั่นนี่ ก็ลองหาโปรแกรม SelfControl โปรแกรมที่จะมาบล็อกเราไม่ให้เข้าเว็บไซต์ที่เราเข้าประจำ เป็นระยะเวลาหนึ่ง นอกจากนี้ ยังมีโปรแกรมต่าง ๆ มากมาย ที่เราสามารถดาวน์โหลดมา และช่วยให้เรามีสมาธิกับการอ่านหนังสือมากขึ้นได้ด้วย
5. ทดสอบตัวเอง
ปกติเราเองจะรู้สึกวิตกกังวลกับการสอบหรือเปล่า ดังนั้น ลองฝึกทำข้อสอบล่วงหน้าดูสิ หากอาจารย์บอกแนวทางข้อสอบหรือมีแบบฝึกหัดให้ทำ ก็อย่าลืมเก็บแบบฝึกหัดนั้นมาลองทำนอกเวลาเพื่อดูว่า เราเข้าใจเนื้อหามากน้อยแค่ไหน หรือไม่อย่างนั้น ก็ลองคิดคำถามที่เป็นประเด็นสำคัญ ๆ ในแต่ละบท แล้วตอบคำถามนั้นด้วยตัวเอง หากเราสามารถตอบคำถามเหล่านั้นได้โดยที่ไม่ต้องเปิดโน้ตดูคำตอบ แสดงว่าเรามีโอกาสทำข้อสอบได้ และอีกหนึ่งวิธีที่จะทดสอบตัวเองคือ เขียนคำถามลงกระดาษแผ่นเล็ก ๆ แล้วให้เพื่อนเป็นคนถามคำถามนั้น
6. หาความช่วยเหลือ
ไม่ต้องกลัว หากต้องไปขอความช่วยเหลือจากอาจารย์หรือติวเตอร์ที่โรงเรียน พวกเขาพร้อมจะช่วยเราให้เข้าใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น และเราสามารถเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้น หากเรากล้าที่จะเดินเข้าไปถาม และนอกเหนือจากความช่วยเหลือจากภายนอกแล้ว หากเราไม่เข้าใจเนื้อหาที่สอนในห้องเรียน ก็ให้ยกมือถามอาจารย์เพื่อให้ท่านอธิบายช้า ๆ
7. พักผ่อน บ้าง
การอ่านหนังสือตลอดเวลา อาจทำให้เรารู้สึกเครียดและกดดันโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น ลองให้เวลาตัวเองเพื่อสงบจิตสงบใจ จะได้ไม่รู้สึกเครียดจนเกินไป หากเรารู้สึกว่า เรากำลังอ่านประโยคเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมา แต่ไม่เข้าใจซักที ก็ลองออกไปเดินเล่นซัก 5 นาที หาของกิน แล้วค่อยมาเริ่มต้นกันใหม่ นอกจากนี้ เราอาจทำอะไรก็ได้ที่ไม่ทำให้วิตกกังวลถึงเรื่องการสอบมากเกินไป อาจจะเป็นการดูโทรทัศน์ หรือไปออกกำลังกายที่ยิมเพื่อให้สมองปลอดโปร่ง แต่เราต้องกลับมาอ่านหนังสือเหมือนเดิมเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การพักผ่อนระหว่างช่วงสอบนั้น ไม่ได้หมายความว่า เราใช้เวลาอ่านหนังสือ 15 นาที แล้วใช้เวลาดูยูทูบเป็นชั่วโมงหรอกนะ
8. ใจเย็นตอนที่กำลังสอบ
มีกฎอยู่ 2-3 ข้อเพื่อการทำข้อสอบให้ดี และข้อที่สำคัญที่สุดคือ การอ่านคำสั่งให้ถี่ถ้วนและอ่านคำถามให้เข้าใจก่อนที่จะตอบข้อสอบ ลองขีดเส้นใต้ตรงส่วนที่สำคัญ เพราะคำถามหลอก ๆ ยาวยืด ย่อมทำให้เราหลงกลและตอบไม่ตรงประเด็น หากทำข้อสอบข้อใดไม่ได้ ก็ให้ข้ามไปก่อน แล้วค่อยกลับมาทำใหม่หลังจากที่ตอบคำถามข้ออื่น ๆ เสร็จแล้ว เพราะบางครั้ง คำถามที่อยู่หลัง ๆ อาจช่วยทำให้เรานึกคำตอบของคำถามก่อนหน้านี้ออกก็ได้ และหากทำข้อสอบเสร็จแล้ว แต่ยังพอมีเวลาอยู่ ลองตรวจกระดาษคำตอบอีกครั้ง เพื่อที่เราจะได้แน่ใจว่า ไม่กาคำตอบผิดข้อ และตอบคำถามครบทุกข้อ และอย่าลืมเขียนชื่อตัวเองลงในกระดาษคำตอบด้วย
9. อ่านหนังสือให้หนัก จากนั้นก็เที่ยวให้หนักเหมือนกัน
เราอาจจะรู้สึกว่า การไปปาร์ตี้กับเพื่อนหลังจากที่สอบเสร็จแล้ว เป็นอะไรที่น่าสนุกตื่นเต้นเหลือเกิน แต่หากเรายังคงต้องสอบในวันอื่น ๆ อีก การออกไปเที่ยวคงไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่ ๆ ความเครียดมาผสมกับความเหนื่อยล้า และการสอบนั้นมีผลต่อเกรดอย่างสูง สุดท้าย เราอาจต้องมาเศร้าตอนที่เกรดออกก็เป็นได้ ดังนั้น ทันทีที่เราสอบเสร็จสิ้นเรียบร้อย ก็ให้ลืมเรื่องการสอบไป เพราะเรากลับไปแก้ไขอะไรในคำตอบไม่ได้ จากนั้น ค่อยไปสนุกกับงานปาร์ตี้ให้สุดเหวี่ยงไปเลย