เรียนวิศวะไฟฟ้า ที่ไหนดี จบมาทำงานอะไรได้บ้าง?
ปัจจุบันชื่อเสียงของมหาลัยผมว่าไม่สำคัญแล้ว จบที่ไหนก็มีงานทำ มีโอกาสประสบความสำเร็จมันขึ้นอยู่กับความคิดของคนมากกว่า มันขึ้นอยู่กับความสามารถของคน สังคมทุกวันนี้แข่งขันกันสูงอยู่แล้วฝากไปถึงคนที่คิดจะเรียนวิศวะ อยากเข้าสถาบันมีชื่อเสียง ชอบจริงๆรึป่าววิศวะ เข้ามาจะเรียนได้จริงๆรึป่าว จะตั้งใจเรียนรึป่าว เรียนวิศวะเรียนที่ไหนก็ได้ถ้าใจมันรัก ถามใจตัวเองดูน่ะน้องๆ
วิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาหนึ่งของวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเรียนเกี่ยวกับทฤษฎีไฟฟ้า การออกแบบ การวิเคราะห์ และสร้างอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า โดยจะเน้นเรื่องประสิทธิภาพการทำงานและความปลอดภัยเป็นหลัก เป็นการเรียนเพื่อเข้าใจถึงพื้นฐาน, การออกแบบและการผลิตระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, แผงวงจร และนาโนเทคโนโลยี ถ้าต่อไปโลกของเราเต็มไปด้วยหุ่นยนต์เมื่อใด เมื่อนั้นวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเพียงความหวังเดียวของโลกยุคใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไมได้!
ทักษะที่จำเป็นต้องมี
คณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่สำคัญมากสำหรับการเรียนวิศวกรรมไฟฟ้า ผู้เรียนควรมีทั้งความชำนาญและความชอบในคณิตศาสตร์ มิฉะนั้นจะทรมานกับการเรียนมากทีเดียว เพราะสาขานี้ต้องใช้หลักการคำนวณในการเรียนอยู่ตลอดเวลา กาดอกจันไว้เลยว่าแทบทุกวิชามีการคำนวณเข้ามาเกี่ยวข้อง
ภาษาอังกฤษ
บางสาขาวิชาของวิศวกรรมไฟฟ้า เช่น ระบบควบคุมและเครื่องมือวัด ไม่ค่อยมีตำราภาษาไทย นักศึกษาจึงต้องศึกษาจากตำราภาษาอังกฤษ หากเก่งภาษาอังกฤษเป็นทุนเดิม จะได้เปรียบในการค้นคว้าหาความรู้เป็นอย่างมาก
สาขาวิชาย่อย
ส่วนใหญ่สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจะแบ่งสาขาย่อยออกเป็น 4 สาขา ได้แก่ ไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าสื่อสารหรือโทรคมนาคม ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และไฟฟ้าควบคุม
สาขาไฟฟ้ากำลัง (Power Division)
สาขาไฟฟ้าระบบควบคุม (Control Systems Division)
เรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ออกแบบ และเขียนโปรแกรม เพื่อสร้างระบบควบคุมหรือที่คนทั่วไปมักเรียกว่า ‘ระบบอัตโนมัติ’ ตัวอย่างเช่น สายพานลำเลียงในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องจักรผลิตสินค้า ผู้เรียนสาขาวิชานี้จึงต้องเชี่ยวชาญเรื่องสมการคณิตศาสตร์มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะหากต้องการทำงานเป็นนักวิจัยคิดค้นระบบควบคุมใหม่ๆ อาชีพที่น่าสนใจในสาขานี้ ได้แก่
- วิศวกรควบคุม
- วิศวกรเครื่องมือวัด
- วิศวกรระบบ
- วิศวกรทดสอบ
สาขาไฟฟ้าสื่อสารหรือโทรคมนาคม (Communication Division)
เรียนเกี่ยวกับระบบการสื่อสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบสื่อสารดาวเทียม ระบบเรดาร์ ระบบวิทยุ ระบบโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต สัญญาณดิจิตอล เส้นใยแก้วนำแสง ผู้เรียนจะได้ศึกษาข้อมูลด้านการสื่อสารอย่างครบวงจร ตั้งแต่กลไกการจัดการสัญญาณ การรับ-ส่งสัญญาณ การติดตั้ง การทดสอบ ไปจนถึงการซ่อมบำรุง กลุ่มวิชาหลักที่ต้องเจอในสาขานี้ ได้แก่
- การสื่อสารทางคลื่นแสงและไมโครเวฟ
- สื่อประสมและการประมวลสัญญาณ
- โครงข่ายโทรคมนาคมและสารสนเทศ
สาขาไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Division)
เรียนเกี่ยวกับการออกแบบและควบคุมวงจรไฟฟ้าทั้งวงจรแบบอนาล็อกและดิจิตอล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำงานของอุปกรณ์ทุกชนิดที่มีไฟฟ้าเข้าไปเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องทำน้ำอุ่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ไมโครเวฟ รถยนต์ ไปจนถึงเครื่องบิน ยานอวกาศ หุ่นยนต์ และอื่นๆ อีกมากมาย ผู้เรียนจะได้ศึกษาครอบคลุมตั้งแต่เรื่องของวัสดุนานาชนิดที่นำมาผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงการเขียนโปรแกรม และการทดสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ หมวดหมู่วิชาหลักที่ต้องเจอในสาขานี้ ได้แก่
- การออกแบบวงจรดิจิทัลลอจิก
- อิเล็กทรอนิกส์วิศวกรรม
- การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า
- อิเล็กทรอนิกส์กำลัง
- ไมโครคอนโทรลเลอร์
- ระบบควบคุม