เลขยกกำลังและราก (Exponent & Root)
เลขยกกำลัง
การยกกำลังคือการดำเนินการทางคณิตศาสตร์อย่างหนึ่ง เขียนอยู่ในรูป a ⁿ = a x a x a x … x a (a คูณกัน n ตัว) ซึ่งประกอบด้วยสองจำนวนคือ
ฐาน (a) และเลขชี้กำลัง (n) การยกกำลังมีความหมายเหมือนการคูณซ้ำ ๆ กัน นั่นเอง และสำหรับเนื้อหาใน
เรื่องนี้นั่นคือต้องการทราบถึงเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนจริงใด ๆ ซึ่งจะต้องค่อย ๆ ทำความเข้าใจโดย
เริ่มศึกษาตามลำดับดังนี้
1. เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม
2. เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นเศษส่วน
3. เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ
4. เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนอตรรกยะ
5. เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนจริงใดๆ
ก่อนที่จะศึกษาเรื่องต่าง ๆที่กล่าวมาข้างต้นนั้นก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทนิยามต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับเลขยกกำลังดังต่อไปนี้
a ⁿ = a x a x a x … x a (a คูณกัน n ตัว)
เลขยกกำลัง ฐาน และเลขชี้กำลัง
จำนวนที่สามารถเป็นฐานได้มีหลายรูปแบบ เช่น จำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ เศษส่วน ทศนิยม ยกตัวอย่างเช่น 24 (-2)4 ()2 0.45
ข้อสังเกต: อ่านไม่เหมือนกัน ผลลัพธ์ไม่เท่ากัน
ลบสองทั้งหมดยกกำลังสี่
(-2)4 = (-2)(-2)(-2)(-2) = 16
ลบสองยกกำลังสี่
-24 = – (2 x 2 x 2 x 2) = -16
จะเห็นว่า (-2)4 มีค่าไม่เท่ากับ -24 แค่ใส่วงเล็บ ผลลัพธ์ก็ต่างกันแล้ว ดังนั้นเพื่อน ๆ ต้องระวังการใส่วงเล็บให้ดีนะ เราลองมาดูตัวอย่างอื่น ๆ เพิ่มกันดีกว่า
54 = 5 x 5 x 5 x 5 = 625
(5)4 = (5)(5)(5)(5) = 625
-54 = -(5 x 5 x 5 x 5) = -(625) = -625
(-5)4 = (-5)(-5)(-5)(-5) = (25)(25) = 625
รากที่ n ของจำนวนจริง
รากที่ n ของจำนวนจริง คือจำนวนจริงตัวหนึ่งยกกำลัง n แล้วเท่ากับ x เมื่อ n > 1 เราสามารถตรวจสอบรากที่ n ได้ง่ายๆ โดยนิยามดังนี้
นิยาม
ให้ x, y เป็นจำนวนจริง และ n เป็นจำนวนเต็มที่มากกว่า 1 เราจะบอกว่า y เป็นรากที่ n ของ x ก็ต่อเมื่อ (y)n = x
เช่น 5 เป็นรากที่ 3 ของ 125 หรือไม่
จากที่เรารู้ว่า 5×5×5 = 125 ดังนั้น เราจึงสรุปได้ว่า 5 เป็นรากที่ 3 ของ 125 หรือสามารถพูดได้อีกแบบคือ รากที่ 3 ของ 125 คือ 5 เขียนให้สั้นลงได้เป็น นั่นเอง
ในกรณีที่ n= 0 จะได้ว่า = 0
แต่ถ้า n > 0 จะได้ว่า n จะเป็นเลขคู่หรือคี่ก็ได้
**เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มคู่ จะได้ว่า รากที่ n ของ a เป็นได้ทั้งจำนวนบวกและจำนวนลบ
เช่น -2, 2 เป็นรากที่ 4 ของ 16 เพราะ (-2)4 = 16 และ (2)4 = 16
ตัวอย่าง
จงหา
1) รากที่สองของ 36
2) รากที่สามของ 27
3) รากที่ห้าของ -32
วิธีทำ
1) 62 = 36 แสดงว่า 6 เป็นรากที่สองของ 36
และ (-6)2 = 36 แสดงว่า -6 เป็นรากที่สองของ 36
ดังนั้น รากที่สองของ 36 คือ -6 และ 6
2) 33 = 27 แสดงว่า 3 เป็นรากที่สามของ 27
ดังนั้น รากที่สามของ 27 คือ 3
3) (-2)5 = -32 แสดงว่า -2 เป็นรากที่ห้าของ -32
ดังนั้น รากที่ห้าของ -32 คือ -2