เซต คืออะไร สรุปเนื้อหาเซต (Set)
- เซต คืออะไร?
- วิธีการเขียนเซตรูปแบบต่างๆ
- เซต (Set) มีกี่ชนิด
- เซตว่าง คืออะไร หน้าตาเป็นอย่างไร
- เอกภพสัมพัทธ์
- เซตที่เท่ากัน
- สับเซต
- เพาเวอร์เซต
- แผนภาพเวนน์
- การดำเนินการระหว่างเซต
- การแก้ปัญหาโดยใช้เซต
- แจกฟรี !! เอกสาร รวม 10 จุดระวังพลาด เรื่อง เซต
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเซต
เซต คือคำที่ใช้เรียกกลุ่มของสิ่งต่างๆ เช่น เซตของสระในภาษาอังกฤษ คือ กลุ่มของสระในภาษาอังกฤษ a,e,i,o,u เป็นต้น
สมาชิกของเซต คือ สิ่งที่อยู่ในเซต เช่น เซตของสระในภาษาอังกฤษ สมาชิกของเซต คือ a,e,i,o,u
การเขียนเซต
การเขียนเซตจะเขียนได้ 2 วิธี
1.) เขียนแบบแจกแจงสมาชิก คือการเขียนสมาชิกไว้ในวงเล็บปีกกา “{ }”แล้วคั่นสมาชิกแต่ละตัวด้วย “,” เช่น
ให้ A แทนเซตของจำนวนนับที่น้อยกว่า 10
ดังนั้น A = {1,2,3,4,5,6,7,8,9}
2.) เขียนแบบบอกเงื่อนไข คือการกำหนดตัวแปรขึ้นมาแล้วใส่เงื่อนไขให้ตัวแปรนั้น เช่น
A = {x|x ∈ N และ x < 10} จากข้อความนี้ แปลได้ว่า A เท่ากับ x โดยที่ x เป็นสมาชิกของจำนวนนับและ x น้อยกว่า 10
“|” แทนคำว่า โดยที่ หรืออาจจะใช้ “:” แทนคำว่าโดยที่ก็ได้
ประเภทของเซต
1.) เซตว่าง (Empty set) คือเซตที่มีจำนวนสมาชิกเป็น 0 โดยจะใช้สัญลักษณ์ Ø หรือ { } แทน เซตว่าง
เช่น ให้ A แทนเซตของจำนวนเดือนที่มี 32 วัน เราจะเห็นว่าไม่มีเดือนไหนที่มี 32 วัน ดังนั้น A = Ø หรือ A = { }
2.) เซตจำกัด (Finite set) คือ เซตที่สามารถระบุจำนวนสมาชิกได้
เช่น เซตของของจำนวนนับที่น้อยกว่า 10 สามารถเขียนได้ดังนี้ {1,2,3,4,5,6,7,8,9} จะเห็นว่ามีจำนวนสมาชิกเท่ากับ 9
**เซตว่าง เป็นเซตจำกัด เนื่องจากมีจำนวนสมาชิกเท่ากับ 0**
3.) เซตอนันต์ (infinite set) คือ เซตที่ไม่สามารถระบุจำนวนสมาชิกได้ เช่น
เซตของจำนวนนับ {1,2,3,…} เป็นเซตอนันต์ เพราะเราไม่สามารถบอกได้ว่ามีจำนวนสมาชิกเท่าไหร่
เซตของจำนวนเต็ม {…,-3,-2,-1,0,1,2,3,…} เป็นเซตอนันต์
ให้ {1,2,3,…} หมายถึง มีจำนวนอื่นต่อไปอีกเรื่อยๆ
สรุปสูตรสำคัญ เรื่องเซต(Set) คณิตศาสตร์ออนไลน์ …เอาไว้จำก่อนเรียน
สรุปสูตร
1. A∪ B = B∪ A การสลับที่
2. A∩ B = B∩ A
3. A∪ ∅ = A
4. A∩ ∅ = ∅ เอกลักษณ์
5. A ∪ U = U
6. A∩ U = A
7. A∪ (B∪ C) = (A ∪ B) ∪ C การเปลี่ยนกลุ่ม
8. A∩ (B∩ C) = (A ∩ B) ∩ C 9. A∪ (B∩ C) = (A ∪ B) ∩ (A∪ C)
9. A∩ (B∪ C) = (A ∩ B) ∪ (A∩ C) การกระจาย
10. A – (B∩ C) = (A – B) ∩ (A – C)
11. A – (B∪ C) = (A – B) ∪ (A – C)
12. (A’)’ = A
13. (A∪ B)’ = A’ ∩ B’ สมบัติของ Complement
14. A∪ A’ = U
15. A∩ A’ = ∅
16. A – B = A∩ B’ = B’ – A’ Difference
17. A – B= B – A
เซต (Set) แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้
- เซตว่าง (Empty Set) คือ เซตที่ไม่มีสมาชิกเลย เขียนแทนด้วย
- เซตจำกัด (Finite Set) คือ เซตที่มีจำนวนสมาชิกเป็นจำนวนเต็มบวก เขียนแทนด้วย
- เซตอนันต์ (Infinite Set) คือ เซตที่มีจำนวนสมาชิกเป็นจำนวนอนันต์ เขียนแทนด้วย
- เซตต่อเนื่อง (Continuous Set) คือ เซตที่มีสมาชิกเป็นจำนวนอนันต์และสมาชิกแต่ละตัวมีความหนาแน่นต่อเนื่องกัน
ตัวอย่างเซต
- เซตว่าง:
- เซตจำกัด:
- เซตอนันต์:
- เซตต่อเนื่อง:
เซตว่าง คือ เซตที่ไม่มีสมาชิกเลย เขียนแทนด้วย
เซตว่างไม่มีหน้าตาอะไรเลย เพราะไม่มีสมาชิกอยู่นั่นเอง
เซตว่าง (Empty Set) คือ เซตที่ไม่มีสมาชิกเลย เขียนแทนด้วย
เซตว่างไม่มีหน้าตาอะไรเลย เพราะไม่มีสมาชิกอยู่นั่นเอง
ตัวอย่างเช่น เซตของจำนวนเต็มบวกที่น้อยกว่า 0 เป็นเซตว่าง เพราะไม่มีจำนวนเต็มบวกใดๆ ที่อยู่ต่ำกว่า 0
ในคณิตศาสตร์ เซตที่เท่ากัน คือ เซตที่มีสมาชิกเหมือนกันทุกตัว เขียนแทนด้วย
ตัวอย่างเช่น เซต และเซต เท่ากัน เพราะมีสมาชิกเหมือนกันทุกตัวคือ 1, 2, และ 3
ในทางกลับกัน เซต และเซต ไม่เท่ากัน เพราะเซต มีสมาชิก 3 คน ในขณะที่เซต มีสมาชิก 4 คน
เซตที่เท่ากันสามารถแสดงออกได้ด้วยสัญลักษณ์ ซึ่งอ่านว่า “A เท่ากัน B” หรือ ซึ่งอ่านว่า “A เทียบเท่า B”
ในคณิตศาสตร์ เพาเวอร์เซต (Power set) ของเซต คือเซตของทุกเซตย่อยของ เขียนแทนด้วย
ตัวอย่างเช่น หาก เพาเวอร์เซตของ คือ $\mathcal{P}(A) = \\{\\{\}, \\{1\\}, \\{2\\}, \\{3\\}, \\{1, 2\\}, \\{1, 3\\}, \\{2, 3\\}, \\{1, 2, 3\\}\\}$
เพาเวอร์เซตของเซต เสมอมีขนาดใหญ่กว่าเซต เสมอ ตัวอย่างเช่น เพาเวอร์เซตของเซต มีสมาชิก 4 คน ในขณะที่เซต มีสมาชิก 2 คน
เพาเวอร์เซตของเซต สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยวิธีการดังนี้
- เริ่มจากเซต
- พิจารณาทุกเซตย่อยของ
- รวมทุกเซตย่อยของ เข้าด้วยกัน
เพาเวอร์เซตของเซต มักใช้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ
สับเซต และ เพาเวอร์เซต
สับเซต (subset) หรือ “เซตย่อย” คือ เซตที่เล็กกว่าหรือเท่ากันกับเซตที่กำหนด โดยต้องใช้สมาชิกร่วมกับเซตที่กำหนดเท่านั้น
สัญลักษณ์ที่ใช้แทนประโยค “ A เป็นสับเซตของ B” คือ A Ì B และจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ สมาชิกทุกตัวของเซต A นั้นเป็นสมาชิกของเซต B ด้วย หรือเมื่อ A เป็นเซตว่างก็ได้
เช่น {1,2}Ì{1,2,3}เนื่องจากทั้ง 1 และ 2 เป็นสมาชิกของ {1,2,3}
รูปแบบ เซต (เล็ก) Ì เซต(ใหญ่)
สมบัติของซับเซต
1. A ⊂ A (เซตทุกเซตเป็นสับเซตของตัวมันเอง)
2. A ⊂ U (เซตทุกเซตเป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์)
3. Ø ⊂ A (เซตว่างเป็นสับเซตของทุกๆ เซต)
4. ถ้า A ⊂ ø แล้ว A = ø
5. ถ้า A ⊂ B และ B ⊂ C แล้ว A ⊂ C (สมบัติการถ่ายทอด)
6. A = B ก็ต่อเมื่อ A ⊂ B และ B ⊂ A
7. ถ้า A มีจำนวนสมาชิก n ตัว สับเซตของเซตจะมีทั้งสิ้น 2n สับเซต
การหาสับเซตทั้งหมดของA
จำนวนสับเซตทั้งหมดหาได้จาก 2n เมื่อ n = จำนวนสมาชิกในเซต
ตัวอย่าง จงหาสับเซตทั้งหมดของ A เมื่อ A = {2, 4, 6, 8}
A จะมีสับเซตทั้งหมด 24 =16 สับเซต เมื่อแจกแจงสับเซตทั้งหมดจะได้ดังนี้
Ø
{2} {4} {6} {8}
{2, 4} {2, 6} {2, 8} {4, 6} {4, 8} {6, 8}
{2, 4, 6} {2, 6, 8} {2, 4, 8} {4, 6, 8}
{2, 4, 6, 8}
ความหมายของสับเซตแท้
สับเซตแท้ คือ สับเซตทั้งหมดที่ไม่ใช่ตัวมันเอง มี 2n – 1 สับเซต (เซตว่างไม่มีสับเซตแท้)
นิยาม A เป็นสับเซตแท้ของ B ก็ต่อเมื่อ A⊂B และ A ≠ B
ซึ่งจะได้รูปดังภาพ
การหาจำนวนสับเซตทั้งหมดของ A
หลักในการเขียนสับเซตทั้งหมดของเซตๆหนึ่งที่โจทย์กำหนดมาทำโดย เริ่มเขียนตั้งแต่เซตว่าง แล้วตามด้วยเซตที่มีสมาชิก 1 ตัว, 2 ตัว ไปเรื่อยๆ จนมีสมาชิกเท่ากับเซตที่โจทย์กำหนดมา (ตัวมันเอง) โดยสมาชิกที่นำมาใช้เขียนต้องเป็นสมาชิกของเซตที่โจทย์กำหนดมาด้วย
ตัวอย่าง จงเขียนสับเซตทั้งหมดของเซตต่อไปนี้
1. A = Ø สับเซตทั้งหมดของ A มี 1 สับเซต คือ Ø
2. B = {1} สับเซตทั้งหมดของ B มี 2 สับเซต คือ 1) Ø 2) {1}
3. C = {1,3} สับเซตทั้งหมดของ C มี 4สับเซต คือ 1) Ø 2) {1} 3) {3} 4) {1,3}
4. D = {1,3,5} สับเซตทั้งหมดของ D มี 4 สับเซต คือ1) Ø 2) {1} 3) {3} 4) {5} 5) {1,3} 6)
{1,5} 7) {3,5} 8) { 1,3,5}
เซต | จำนวนสมาชิกของเซต | จำนวนสับเซตทั้งหมด |
1. A = Ø
2. B = { 1 } 3. C = { 1 , 3 } 4. D = { 1 , 3 , 5 } |
0
1 2 3 |
20 = 1
21 = 2 22 = 4 23 = 8 |
จากตาราง พิจารณาความสัมพันธ์ของสมาชิกของเซตกับจำนวนสับเซตทั้งหมดจะได้ว่า
จำนวนสับเซตทั้งหมดของเซต A = 2n(A)
จำนวนสับเซตแท้ทั้งหมดของ A
นิยาม : สับเซตแท้ (proper set) ของ A คือ สับเซตทั้งหมดของเซต A ยกเว้น ตัวมันเอง (ยกเว้น A)
1.มีเซตอะไรไหมที่ไม่มีสับเซตแท้
ตอบ มี เซตดังกล่าวคือเซตว่าง เพราะว่าสับเซตของ Ø ก็คือ Ø เพียงตัวเดียว ดังนั้น เซตว่างจึงไม่มีสับเซต
แท้
2. จำนวนสับเซตแท้ของเซต A = 2n(A) -1 สับเซต
โจทย์ประยุกต์ เรื่อง สับเซต
ข้อ1. ถ้า A={a, b,c,d,e,f} และ B={a,b} แล้วจำนวนเซต X ซึ่ง B⊂X⊂A เท่ากับข้อใดต่อไปนี้
1.4 2.15 3.16 4.32
เฉลย.
B⊂Xแปลว่า a, b ต้องอยู่ใน X ซึ่ง X⊂Aแปลว่า c, d, e, f อยู่ใน X กี่ตัวก็ได้
∴จำนวนแบบที่เป็นไปได้ของ X ก็คือจำนวนสับเซตทุกแบบของ {c, d, e, f}
นั่นคือ 2^4=16 แบบ
ข้อ2. ถ้า A={5, 6, 7, …,20} และ B={1, 2, 3,…,15} แล้ว จำนวนสมาชิกในเซต {X | X เป็นสับเซตของ A และ X ไม่เป็นสับเซตของ B}
1. (7×2)^10 2. (31×2)^11
3. (31×2)^10 4. (63×2)^11
เฉลย.
คิดโดยวิธีลบออก คือ จำนวนสับเซตของ A ทุกแบบ ลบออกด้วยแบบที่เป็นสับเซตของ B ด้วย
จะได้เท่ากับ 2^16-2^11=31×2^11