1. หาความสนใจของตัวเองให้เจอ
ก่อนเลือกหลักสูตรที่จะสมัครเรียน ลองลิสต์รายการหลักสูตรหรือคณะที่เราสนใจมากที่สุด กับอาชีพที่เราอยากทำมากที่สุดในอนาคต แล้วนำมาเปรียบเทียบกับสาขาต่างๆ ในมหาวิทยาลัยที่เราสนใจ
2. หาข้อมูล
ไม่ว่าจะจากอินเตอร์เน็ต สื่อ หรือผู้คนรอบๆ ตัวเรา ทุกอย่างล้วนเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญทั้งสิ้น ลองหาข้อมูลหลักสูตรออนไลน์ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย สอบถามข้อมูลกับคนที่เคยเรียนหรือกำลังเรียนหลักสูตรนั้นๆ หรือคุยกับบุคคลในนอาชีพต่างๆ
3. ทำความเข้าใจกับเนื้อหาของแต่ละสาขาวิชา
ข้อมูลที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ได้แก่ course review ซึ่งสามารถบอกเราว่า รายวิชาเหล่านั้น มีเนื้อหาตรงกับความสนใจของเราจริงๆ หรือไม่ การเรียนการสอนเป็นยังไง วัดผลยังไง ซึ่งจะทำให้เราได้ไอเดียคร่าวๆ ว่า หากเลือกเรียนในสาขานี้ เราจะได้เรียนอะไร จ
4. พิจารณาคุณภาพและชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย
ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยอาจจะไม่ใช่ทุกอย่าง แต่ก็สำคัญไม่น้อยในแง่คุณภาพ ลองเปรียบเทียบ course outlines และสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนในบรรดามหาวิทยาลัยที่เราสนใจ
5. ระยะเวลาของหลักสูตร
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับคนที่เลือกจะไปศึกษาที่ต่างประเทศ เพราะนั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายจำนวนไม่น้อย ระยะเวลาในการเรียน จะช่วยให้เราสามารถกำหนดงบประมาณ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับหลักสูตรที่เรสนใจด้วย เช่น อยากเรียน double-degrees, full time หรือ part-time ตัดสินให้ดีว่า เราจะสามารถบาลานซ์สิ่งต่างๆ กับระยะเวลาในการเรียนได้ดีขนาดไหน ทั้งนี้ เรื่องของความยืดหยุ่นของหลักสูตร ก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัย
6. คุณสมบัติในการเข้าศึกษา
แน่นอนว่า มหาวิทยาลัยดีๆ ดังๆ ย่อมมีการแข่งขันที่สูงกว่า ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะได้พิจาณาถึงความสามารถจริงๆ ของเราว่าเหมาะสมกับมหาวิทยาลัยใดที่สุด บางหลักสูตรหรือบางสาขาวิชาอาจมีการแข่งขันที่สูงมาก เข้ายากมาก ดังนั้นเราควรซื่อตรงกับตัวเองให้มากที่สุดในการเลือก
7. ค่าใช้จ่ายในการเรียน
เรื่องค่าใช้จ่ายและกำลังซื้อคืออีกสิ่งหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกหลักสูตร เพราะไม่ได้มีแค่เรื่องของค่าเทอม (แต่ละหลักสูตร ค่าใช้จ่ายและค่าเทอมก็ไม่เท่ากันไปอีก) แต่อย่างไรก็ดี อย่าให้เรื่องของเงินมาบั่นทอนความฝันในการเลือกอาชีพในอนาคตของเรา ยังมีทางเลือกอื่นๆ ที่จะสามารถช่วยให้เราเรียนไปได้ตลอดรอดฝั่ง เช่น ทุนการศึกษาต่างๆ หรืองานพิเศษ เป็นต้น
8. โอกาสในการทำงาน
Career Prospects เป็นอีกเรื่องที่สำคัญในการเลือกสาขาวิชาที่จะเรียน มีหลายปัจจัยที่ควรตระหนัก เช่น รายได้ ความมั่นคงของอาชีพ ความเครียด สุขภาพ ความรับผิดชอบและหน้าที่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานในอนาคตและการลงทุนกับการศึกษา
9. อิสระในการเลือก
ใช่ การเลือกหลักสูตรและมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็อย่าลืมว่าความสุขของเราก็สำคัญไม่แพ้กัน หากเมื่อไหร่ที่เรารู้สึกว่า เราได้เลือกหรือตัดสินใจผิดไป ก็สามารถเปลี่ยนใจและถอยหลังกลับได้ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน ไม่มีคำว่าสายเกินไปใดๆ ทั้งสิ้น ลองคุยกับครอบครัว หรือที่ปรึกษา เพื่อหาตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด
จุดแข็งของมหาวิทยาลัย หรือ Areas of strength
ไม่มีมหาวิทยาลัยใดที่เชี่ยวชาญไปซะทุกด้าน แต่ก็ไม่มีมหาวิทยาลัยใดเหมือนกันที่ไม่เชี่ยวชาญในเรื่องใดเลย แต่ละมหาวิทยาลัยมักมีจุดแข็งหรือจุดขายของตัวเอง ดังนั้น น้องๆ ควรศึกษาข้อมูลให้แน่ใจว่าสาขาวิชาหลักสูตรที่น้องเลือก เป็นจุดแข็งของมหาวิทยาลัยที่เราอยากเรียนด้วยหรือเปล่า การพิจารณาจาก ranking หรือการจัดอันดับต่างๆ
โอกาสในการทำงานและการเพิ่มพูนประสบการณ์
เรียกว่าเป็นเหตุผลแรกๆ ของคนส่วนใหญ่เลยก็ว่าได้ สำหรับการเลือกหลักสูตรและมหาวิทยาลัย นั่นก็คือโอกาสในการทำงานหลังเรียนจบ
สไตล์ของการเรียนการสอนและหลักสูตร
นอกเหนือไปจากการประเมินความสามารถในการเรียนของเรา ว่าจะสามารถสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยนั้นๆ ได้หรือไม่ รวมถึงความชอบส่วนตัว ว่ารักที่จะเรียนในสาขานั้นๆ จริงหรือเปล่า (หรือแค่ตามกระแส) อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การเลือกสไตล์ของการเรียนการสอนและการออกแบบหลักสูตร ว่าตรงกับความต้องการของเราหรือไม่
วัฒนธรรมของแต่ละมหาวิทยาลัย
อย่างที่บอกไปว่า แต่ละมหาวิทยาลัย ก็จะมีคาแรกเตอร์ต่างกันออกไป มีขนาดหรือความพลุกพล่านของวิทยาเขต หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Campus community เล็กหรือใหญ่ต่างกัน น้องๆ ควรถามตัวเองให้ดีว่า เราอยากเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแบบใด และมหาวิทยาลัยที่เราสนใจเข้ากับไลฟ์สไตล์ของเราหรือไม่ มีสิ่งอำนวยความสะดวกภายในวิทยาเขตที่เหมาะกับความต้องการของเราไหม ฯลฯ
ขอขอบคุณ
https://www.siuk-thailand.com/study-guide/how-choose-right-course/