เวกเตอร์ ปริมาณทางฟิสิกส์
ปริมาณเวกเตอร์ ได้แก่ แรง ความเร็ว อัตราเร่ง โมเมนต์ แรงเคลื่อนไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า การบอกปริมาณเวกเตอร์ เช่น แรง 10 นิวตันกระทำในแนวดิ่งมีทิศลงสู่พื้นโลก วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 5 เมตรต่อวินาทีไปทางทิศเหนือ เป็นต้น
เราใช้เส้นตรงเขียนแทนปริมาณเวกเตอร์โดย
1. ใช้ความยาวของเส้นตรงแทนขนาด
2. ใช้หัวลูกศรเขียนกำกับในเส้นตรงเพื่อแสดงทิศทาง
ปริมาณในทางฟิสิกส์ มี 2 ปริมาณ คือ
1. ปริมาณสเกลาร์ (Scalar) เป็นปริมาณที่บอกขนาดเพียงอย่างเดียว เช่น มวล , อัตราเร็ว , พลังงาน ฯลฯ
2. ปริมาณเวกเตอร์ (Vector) เป็นปริมาณที่บอกทั้งขนาดและทิศทาง เช่น ความเร็ว , ความเร่ง , การกระจัด , แรง ฯลฯ
1. การรวมเวกเตอร์
การรวมเวกเตอร์ หมายถึง การบวกหรือลบกันของเวกเตอร์ตั้งแต่ 2 เวกเตอร์ ขึ้นไป ผลลัพธ์ที่ได้เป็นปริมาณเวกเตอร์ เรียกว่า เวกเตอร์ลัพธ์ (Resultant Vector) ซึ่งพิจารณาได้ ดังนี้
1.1 การบวกเวกเตอร์โดยวิธีการเขียนรูป ทำได้โดยเขียนเวกเตอร์ที่เป็นตัวตั้ง จากนั้นเอาหางของเวกเตอร์ที่เป็นผลบวกหรือผลต่าง มาต่อกับหัวของเวกเตอร์ตัวตั้ง โดยเขียนให้ถูกต้องทั้งขนาดและทิศทาง เวกเตอร์ลัพธ์หาได้โดยการวัดระยะทาง จากหางเวกเตอร์แรกไปยังหัวเวกเตอร์สุดท้าย
1. การรวมเวกเตอร์
การรวมเวกเตอร์ หมายถึง การบวกหรือลบกันของเวกเตอร์ตั้งแต่ 2 เวกเตอร์ ขึ้นไป ผลลัพธ์ที่ได้เป็นปริมาณเวกเตอร์ เรียกว่า
เวกเตอร์ลัพธ์ (Resultant Vector) ซึ่งพิจารณาได้ ดังนี้
1.1 การบวกเวกเตอร์โดยวิธีการเขียนรูป ทำได้โดยเขียนเวกเตอร์ที่เป็นตัวตั้ง
จากนั้นเอาหางของเวกเตอร์ที่เป็นผลบวกหรือผลต่าง มาต่อกับหัวของเวกเตอร์ตัวตั้ง โดยเขียนให้ถูกต้องทั้งขนาด
และทิศทาง เวกเตอร์ลัพธ์หาได้โดยการวัดระยะทาง จากหางเวกเตอร์แรกไปยังหัวเวกเตอร์สุดท้าย
จากรูป เวกเตอร ์ =
1.2 การบวกเวกเตอร์โดยใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์
ให้ เวกเตอร์ ทำมุมกับ เป็นมุม q คำนวณหาเวกเตอร์ลัพธ์ได้ ดังนี้
ผลคูณเวกเตอร์ (Vector Product หรือ Cross Product แทนด้วยเครื่องหมาย “x” )
กำหนดให้ และ เป็นเวกเตอร์ที่ทำมุม q ต่อกัน และ เป็นเวกเตอร์ลัพธ์ โดย
ขนาดของ มีนิยามว่า
ทิศทางของ หาได้โดยใช้กฎมือขวา โดยปลายนิ้วทั้งสี่แทนทิศทางของ และหมุนไปหา จะได้นิ้วหัวแม่มือแทนทิศทางของ
หน่วยฐานเอสไอ (SI base unitsSI base units) และหน่วยอนุพัทธ์เอสไอ (SI base unitsSI derived units) ส่วนหน่วยเสริม (supplementary units) 2 ประเภทคือ เรเดียน (radian) เป็นหน่วยของมุมระนาบ และสตีเรเดียน (steradian) เป็นหน่วยของมุมตัน จัดอยู่ในกลุ่มหน่วยอนุพัทธ์เอสไอ การใช้หน่วยเอสไอได้อย่างถูกต้องจำเป็นต้องเรียนรู้กฎ กติกาและรูปแบบของการใช้ หน่วยอนุพัทธ์เอสไอและคำนำหน้าหน่วยในระบบเอสไอ (SI prefixes) ที่จะใช้ร่วมกับหน่วยฐานในระบบหน่วยเอสไอ
1. หน่วยเอสไอ (SI Unit)
1.1 หน่วยฐานเอสไอ (SI base units) เป็นหน่วยการวัดพื้นฐานของหน่วยวัดอื่นๆ ทั้งหมดซึ่งสามารถสอบกลับได้ (traceability) หน่วยฐานทั้ง 7 หน่วย ดังแสดงในตารางที่ 1.1
ตารางที่ 1.1 หน่วยฐานเอสไอ (SI base units)
ปริมาณ | ชื่อหน่วย | ตัวย่อ |
ความยาว | เมตร (meter) | m |
มวล | กิโลกรัม (kilogram) | kg |
เวลา | วินาที (second) | s |
กระแสไฟฟ้า | แอมแปร์ (ampere) | A |
อุณหภูมิ | เคลวิน (kelvin) | K |
ความเข้มของการส่องสว่าง | แคนเดลา (candela) | cd |
ปริมาณของสาร | โมล (mole) | mol |
1.2 หน่วยอนุพัทธ์เอสไอ (SI derived units) หน่วยอนุพัทธ์เกิดจากการพิสูจน์ทางพีชคณิตระหว่างหน่วยฐานเอสไอหรือระหว่างหน่วยอนุพัทธ์เอสไอ ตัวย่อของหน่วยอนุพัทธ์เอสไอได้มาจากการกระทำทางคณิตศาสตร์โดยการคูณและการหาร
ตารางที่ 1.2 แสดงตัวอย่างหน่วยอนุพัทธ์เอสไอที่เกี่ยวเนื่องกับหน่วยฐาน
ปริมาณ (derived quantity) | หน่วยอนุพัทธ์ | ตัวย่อ |
พื้นที่ (area) | ตารางเมตร | m2 |
ปริมาตร (volume) | ลูกบาศก์เมตร | m3 |
อัตราเร็ว, ความเร็ว (speed, velocity) | เมตรต่อวินาที | m·s-1 |
ความเร่ง (acceleration) | เมตรต่อวินาทีกำลังสอง | m·s-2 |
เลขคลื่น (wave number) | reciprocal meter | m-1 |
ความหนาแน่น (density) | กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร | kg·m-3 |
ความหนาแน่นกระแส (current density) | แอมแปร์ต่อลูกบาศก์เมตร | A·m-3 |
ความแรงสนามไฟฟ้า (electric field strength) | โวลต์ต่อเมตร | V·m-1 |
ความเข้มแสง (luminance) | แคนเดลาต่อตารางเมตร | cd·m–2 |
ความเข้มข้นเชิงปริมาณสาร (amount of substance concentration) | โมลต่อลูกบาศก์เมตร | mol·m-3 |
หน่วยอนุพัทธ์เอสไอที่มีชื่อหน่วยเฉพาะและมีสัญลักษณ์เฉพาะ แสดงในตารางที่ 1.3
ตารางที่ 1.3 หน่วยอนุพัทธ์ที่มีสัญลักษณ์เฉพาะ
ปริมาณ | ชื่อหน่วยเฉพาะ | สัญลักษณ์เฉพาะ | สัญลักษณ์แสดงไม่เป็นหน่วย SI | สัญลักษณ์แสดงเป็นหน่วย SI |
มุมระนาบ (plane angle) | เรเดียน | rad | m/m | |
มุมตัน (solid angle) | สตีเรเดียน | sr | m2/m2 | |
ความถี่ (frequency) | เฮิรตซ์ | Hz | 1/s | |
แรง (force) | นิวตัน | N | kg·m/s2 | |
ความดัน (pressure) | พาสคัล | Pa | N/m2 | kg·m×s2 |
พลังงาน หรืองาน (energy or work) | จูล | J | N×m | kg·m2/s2 |
กำลังไฟฟ้า (power) | วัตต์ | W | J/s | kg·m2/s3 |
ประจุไฟฟ้า (electric charge) | คูลอมบ์ | C | A·s | |
ศักย์ไฟฟ้า (electric potential) | โวลต์ | V | W/A | kg·m2/A·s3 |
ความจุ (capacitance) | ฟารัด | F | C/V | m-2kg-1s4A2 |
ความต้านทานไฟฟ้า (electric resistance) | โอห์ม | W | V/A | m2kg/s3A2 |
การนำไฟฟ้า (conductance) | ซีเมนส์ | S | 1/W, A/V | s3A2/m2kg |
ฟลักซ์แม่เหล็ก (magnetic flux) | เวเบอร์ | Wb | V×s | m2kgs-2A-1 |
ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก (magnetic flux density) | เทสลา | T | Wb/m2 | kg/s2A |
ความเหนี่ยวนำ (inductance) | เฮนรี | H | Wb/A | m2kg/s2A2 |
อุณหภูมิ (temperature) | เซลเซียส | °C | K | |
ฟลักซ์ส่องสว่าง (luminous flux) | ลูเมน | lm | cd×sr | cd |
ความสว่าง (illuminance) | ลักซ์ | lx | lm/m2 | m-2·cd |
1.3 คำนำหน้าหน่วยในระบบเอสไอ (SI prefixes) คือสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาวางไว้หน้าหน่วย มีจุดประสงค์เพื่อให้การแสดงปริมาณมีความกะทัดรัดมากขึ้น สัญลักษณ์เหล่านี้จะเข้าไปคู่กับหน่วย จึงมีผลเท่ากับการเพิ่มหรือลดขนาดของหน่วยนั้น ดังแสดงในตารางที่ 1.4
ตารางที่ 1.4 คำนำหน้าหน่วยแสดงปริมาณตัวเลข
คำนำหน้า | สัญลักษณ์ | แฟกเตอร์ | คำนำหน้า | สัญลักษณ์ | แฟกเตอร์ |
เดซิ (deci) | d | 10-1 | เดคา (deca) | da | 10 |
เซนติ (centi) | c | 10-2 | เฮกโต (hecto) | h | 102 |
มิลลิ (milli) | m | 10-3 | กิโล (kilo) | k | 103 |
ไมโคร (micro) | μ | 10-6 | เมกะ (mega) | M | 106 |
นาโน (nano) | n | 10-9 | จิกะ (giga) | G | 109 |
พิโก (pico) | p | 10-12 | เทระ (tera) | T | 1012 |
เฟมโต (femto) | f | 10-15 | เพตะ (peta) | P | 1015 |
อัตโต (atto) | a | 10-18 | เอกซะ (exa) | E | 1018 |
เซปโต (zepto) | z | 10-21 | เซตตะ (zetta) | Z | 1021 |
ยอกโต (yocto) | y | 10-24 | ยอตตะ (yotta) | Y | 1024 |
1.4 ข้อแนะนำวิธีการเขียนหน่วยวัดระบบหน่วยเอสไอ