เวกเตอร์ Vector เรื่อง ปริมาณสเกลาร์ (Scalar Quantity)และ ปริมาณเวกเตอร์ (Vector Quantity)
ปริมาณสเกลาร์ (scalar quantity) คือ ปริมาณที่มีแต่ขนาดเท่านั้น การบอกค่าของปริมาณสเกลาร์บอกแต่ขนาดก็มีความหมายสมบูรณ์แล้ว
ปริมาณสเกลาร์ ได้แก่ มวล ระยะทาง เวลา พื้นที่ ปริมาตร งาน พลังงาน และความหนาแน่น การบอกปริมาณสเกลาร์ เช่น วัตถุมีมวล 5 กิโลกรัม สนามกีฬามีพื้นที่ 100 ตารางเมตร น้ำมีความหนาแน่น 1 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร เป็นต้น
ปริมาณเวกเตอร์ (vector quantity) คือ ปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง การบอกค่าของปริมาณเวกเตอร์ต้องบอกทั้งขนาดและทิศทางจึงจะมีความหมายสมบูรณ์
ปริมาณเวกเตอร์ ได้แก่ แรง ความเร็ว อัตราเร่ง โมเมนต์ แรงเคลื่อนไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า การบอกปริมาณเวกเตอร์ เช่น แรง 10 นิวตันกระทำในแนวดิ่งมีทิศลงสู่พื้นโลก วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 5 เมตรต่อวินาทีไปทางทิศเหนือ เป็นต้น
เราใช้เส้นตรงเขียนแทนปริมาณเวกเตอร์โดย
1. ใช้ความยาวของเส้นตรงแทนขนาด
2. ใช้หัวลูกศรเขียนกำกับในเส้นตรงเพื่อแสดงทิศทาง
ปริมาณที@ระบุเพียงขนาดและหน่วย ก็ได้ความสมบูรณ์ เช่น
มวล (kg) พืHนที@ (m2) ความถี@ (Hz)
เวลา (s) อุณหภูมิ ( K ) เป็นต้น
สรุป
ปริมาณทางฟิสิกส์ (Physical quantities)
ปริมาณทางฟิสิกส์ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1. ปริมาณสเกลาร์ (Scalar quantity) 2. ปริมาณเวกเตอร์ (Vector quantity)
1 ปริมาณสเกลาร์ (Scalar quantity) คือ ปริมาณที่ กาหนดแต่เพียง ขนาด ก็มี ความหมาย ตัวอย่างของ ปริมาณสเกลาร์ ได้แก่ จานวนนับของสิ่งของ โดยทั่วไป ระยะทาง เวลา พื้นที่ งาน พลังงาน กระแสไฟฟ้า เป็นต้น การคานวณปริมาณสเกลาร์ สามารถดาเนินการ บวก ลบ คูณ หาร เหมือนกับการ คานวณในระบบจานวนทั่ว ๆ ไป จานวน 0 ของ ปริมาณสเกลาร์ เป็น 0 อ้างอิง ไม่ได้หมายความว่ามีค่า เป็นศูนย์จริง เช่น อุณหภูมิ 0 เซลเซียส ไม่ได้ หมายความว่าวัดอุณหภูมิไม่ได้ แต่กาหนดให้อุณหภูมิ ขณะนั้นเป็นศูนย์ และอุณหภูมิ – 1 เซลเซียสเป็น อุณหภูมิที่ต่ากว่าศูนย์เซลเซียสอยู่ 1 เซลเซียส เป็นต้น ปริมาณสเกลาร์ที่เป็นลบจึงเป็น ปริมาณที่มีค่าน้อยกว่า ศูนย์
2 ปริมาณเวกเตอร์ (Vector quantity) คือ ปริมาณที่ ต้องกาหนดทั้ง ขนาด และทิศทาง จึงจะมีความหมาย ตัวอย่างของปริมาณเวกเตอร์ ได้แก่ แรง การกระจัด ความเร็ว ความเร่ง เป็นต้น เนื่องจากปริมาณ เวกเตอร์มีทั้งขนาดและทิศทาง การคาน วณจึงต้องมี วิธีการที่แตกต่างออกไปจากการคานวณในระบบ จานวน ไม่สามารถดาเนินการบวก ลบ คูณ หารแบบ ธรรมดาได้ จึงต้องใช้วิธีการคานวณเวกเตอร์ โดยเฉพาะ จานวน 0 ในปริมาณเวกเตอร์ เป็น ปริมาณที่ไม่มีค่าจริง ๆ ปริมาณเวกเตอร์จึงไม่มีค่าเป็น ลบ เครื่องหมายในปริมาณเวกเตอร์ใช้บอกทิศทาง ของเวกเตอร์ เวกเตอร์ที่มีเครื่องหมายเหมือนกัน ทิศทางเดียวกัน เวกเตอร์ที่มีเครื่องตรงกันข้ามทิศทาง ตรงกันข้าม