เอกลักษณ์และสมการตรีโกณมิติ
เอกลักษณ์ของฟังก์ชันตรีโกณมิติ เอกลักษณ์ของฟังก์ชันตรีโกณมิติ หมายถึง สมการตรีโกณมิติที่เป็นจริงเสมอ ไม่ว่าจะแทนที่ตัวแปลด้วยจำนวนจริงใดๆ ก็ตาม โดยการแทนที่ตัวแปลด้วยจำนวนจริงนั้นจะต้องทำให้แต่ละพจน์มีความหมายด้วย การพิสูจน์เอกลักษณ์ หมายถึง การพิสูจน์ให้เห็นจริงว่า กลุ่มพจน์ทางด้านซ้ายมือและขวามือ ของเครื่องหมายเท่ากับ เท่ากันเสมอ ในทุกๆ ค่าตัวแปร หลักการในการพิสูจน์เอกลักษณ์ 1. ควรพิสูจน์จากด้านที่ยุ่งยากไปหาด้านที่ง่ายกว่า 2. ควรจะเปลี่ยนฟังก์ชันตรีโกณมิติที่โจทย์กำหนดมาให้เป็นฟังก์ชัน sine หรือ cosine เพื่อที่จะทำให้การพิสูจน์เอกลักษณ์ง่ายขึ้น
เอกลักษณ์ตรีโกณมิติ คือการเท่ากันของฟังก์ชันตรีโกณมิติที่ต่างกัน และเป็นจริงสำหรับทุก ๆ ค่าของขนาดของมุม
เมื่อกำหนด A เป็นขนาดของมุมใดๆ ( 0 < A < 360) จะได้
sinA * cosA = 1
cosA * secA = 1
tanA * cotA = 1
cosA * tan A = sinA
sinA * cot A = cosA
sin2 A * cos2A = 1
sec2A – tan2A = 1
cos2A – cot2A = 1
เมื่อกำหนด x และ y เป็นขนาดของมุมใดๆ ( 0 < X,Y < 360 )จะได้
sin ( X + Y ) = sinX * cosY + cosX * sinY
sin ( X – Y ) = sinX * cosY – cosX * sinY
cos ( X + Y ) = cosX * cosY – sinX * sinY
cos ( X – Y ) = cosX * cosY + sinX * sinY
tan ( X + Y ) = tanX + tanY / 1 – tanX tanY
tan ( X – Y ) = tanX – tanY / 1 + tanX tanY
sinX + sinY = 2sin [ (X + Y) /2 ] cos [ ( X – Y ) / 2]
sinX – sinY = 2cos [ (X + Y) /2 ] sin [ ( X – Y ) / 2]
cosX + cosY = 2cos [ (X + Y) /2 ] cos [ ( X – Y ) / 2]
cosX – cosY = -2sin [ (X + Y) /2 ] sin [ ( X – Y ) / 2]
tanX + tanY = [ sin ( X + Y) ] / cosX cosY
tanX – tanY = [ sin ( X – Y) ] / cosX cosY
cotX + cotY = [ sin ( X + Y) ] / sinX sinY
cotX – cotY = [ -sin ( X – Y) ] / sinX sinY
เอกลักษณ์ตรีโกณมิติ คือการเท่ากันของฟังก์ชันตรีโกณมิติที่ต่างกัน และเป็นจริงสำหรับทุก ๆ ค่าของขนาดของมุม
เมื่อกำหนด A เป็นขนาดของมุมใดๆ (0 ≤ A ≤ 2π) จะได้
เมื่อกำหนด x และ y เป็นขนาดของมุมใดๆ (0 ≤ x ≤ 2π , 0 ≤ y ≤ 2π) จะได้
กฎของโคไซน์ และไซน์
กฎของโคไซน์ ในรูปสามเหลี่ยม ABC ใดๆ ถ้า a,b และ cเป็นความยาวของด้านตรงข้ามมุม A,B และ C ตามลำดับ จะได้
a2 = b2 + c2 – 2bc cosA
b2 = c2 + a2 – 2ca cosB
c2 = a2 + b2 – 2ab cosC
กฎของไซน์ ในรูปสามเหลี่ยม ABC ใดๆ ถ้า a,b และ c เป็นความยาวของด้านตรงข้ามมุม A,B และ C ตามลำดับ จะได้
การหาระยะทางและความสูง
ในการวัดระยะทางและความสูงของสิ่งใดก็ตาม บางครั้งจะใช้เครื่องมือสำหรับวัดมาใช้ในการวัดโดยตรงไม่ได้
เช่น การวัดสถานที่สองแห่งที่มีสิ่งกีดขวางกั้นตรงกลาง หรือการวัดความสูงของภูเขา เป็นต้น
เราสามารถนำความรู้ในเรื่องฟังก์ชันตรีโกณมิติ มาประยุกต์ใช้ในการคำนวณได้ อันได้แก่
– มุมก้ม (Angel of Depression) คือมุมที่วังลงไปจากแนวราบ (ระดับสายตา)
– และมุมเงย (Angle of Elevation)คือมุมที่วัดขึ้นจากแนวราบ
– รวมถึงการใช้กฎของไซน์และโคไซน์มาช่วยในการคำนวณ