เราจะยังสามารถพัฒนาความได้เปรียบของเราได้ อาทิ ซอฟต์ พาวเวอร์ สกิลส์ หรือทักษะด้านสังคม เป็นต้น อ่านต่อไปเพื่อค้นหาว่าทักษะอะไรที่พาคุณผ่านพ้นการปฏิวัติครั้งนี้ได้
โลกแห่งจินตนาการในอดีต อย่าง รถไร้คนขับ เครื่องบินที่บินเองได้ หุ่นยนต์ช่างซ่อม และเครื่องจักรที่สามารถซ่อมบำรุงตัวเองได้ ไม่ใช่นวนิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไปในทุกวันนี้ ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง มีความฉลาดเพิ่มขึ้นทุกวัน เพราะเครื่องจักรกลสอนตัวเองให้พัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและไม่ง้อมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์การแปลของกูเกิล มีการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัดเจนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เมื่อกูเกิลเปลี่ยนอัลกอริธึมให้ซอฟต์แวร์สามารถเรียนรู้ภาษาต่างๆ อย่าง ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และจีนได้ด้วยตัวของมันเอง ในอุตสาหกรรมเพลงตอนนี้มีโปรแกรม “Deep Artificial Composer”
“ซอฟต์ พาวเวอร์” ถูกคิดขึ้นโดยนักรัฐศาสตร์ โจเซฟ เอส. เนย์ จูเนียร์ เพื่ออธิบายประเภทของอำนาจในประเทศ สำหรับเนย์ ความหมายของอำนาจโดยทั่วไป คือ “การมีอิทธิพลต่อเหนือพฤติกรรมของคนอื่นเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ ในแง่พฤติกรรมแล้วซอฟต์ สกิลส์เป็นอำนาจที่น่าสนใจ” เขาอธิบายซอฟต์ สกิลส์ของแต่ละบุคคลว่า ขึ้นอยู่กับทักษะในเรื่อง “ความฉลาดทางอารมณ์ วิสัยทัศน์ และการสื่อสาร….”
คำว่า “ซอฟต์ สกิลส์” มีต้นกำเนิดมาจากอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (ซึ่งคุ้นเคยกับการใช้คำว่า ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์) และกลายเป็นคำพูดติดปากที่มีคำจำกัดความมากมายในแวดวงธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และจิตวิทยาในทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี โดยทั่วไปแล้วซอฟต์ สกิลส์แบ่งออกเป็นทักษะที่เกี่ยวกับการรับรู้และการควบคุมตัวเอง รวมถึงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีร่วมกัน
ทั้งนี้ ผมนิยาม “ซอฟต์ พาวเวอร์ สกิลส์” ว่าเป็นเครื่องมือในการควบคุมตัวเอง สร้างคุณธรรมและคุณค่าที่ดี รวมถึงความคิดสร้างสรรค์เพื่อใช้ในการสื่อสารและดึงดูดให้เพื่อนมนุษย์คนอื่นหันมาสร้างผลลัพธ์ที่มีความหมายและเป็นบวก คำจำกัดความนี้สามารถขยายและเปลี่ยนแปลงได้ตามการค้นหาความหมายของแนวคิดนี้ของเราในอนาคต รายการต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นซอฟต์ พาวเวอร์ สกิลส์ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจได้ชัดเจนขึ้นกว่าคำจำกัดความเพียงอย่างเดียว :
• ความฉลาดทางอารมณ์ คือความสามารถเข้าใจและควบคุมความรู้สึกของตัวเอง
• ความฉลาดทางสังคม หรือความสามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น
• ปฏิภาณไหวพริบ ความสามารถในการนำทรัพยากรที่มีอยู่ไปใช้ปรับปรุงและแก้ปัญหาได้
• การผนึกรวมหลักการและคุณค่าเชิงบวกที่น่าดึงดูดใจเข้าไว้ด้วยกัน
• แสดงออกพฤติกรรมที่ถูกต้องและมีจริยธรรม
• การรับรู้สถานการณ์ ความสามารถในการจับคู่สิ่งที่คุณเห็นว่ากำลังเกิดขึ้นกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
• สติ ความสามารถในการหยุดคิดหลังจากมีการกระตุ้น ก่อนที่เราจะตอบสนองโดยอัตโนมัติ และให้ความสำคัญกับความสนใจของเราเพื่อตอบสนองอย่างรอบคอบ
• ความสามารถในการมองเห็นความเป็นจริงที่น่าพอใจ
• ความสามารถในการเชื่อมโยงสิ่งของหรือเหตุการณ์ต่างๆที่ดูเหมือนจะไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
• ความสามารถในการเห็นรูปแบบและเปลี่ยนแปลงรูปแบบ
• ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
• ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล กำหนดความจริง จัดลำดับความสำคัญ กรองเสียงรบกวน และผลิตข้อมูลที่สั้น กระชับ น่าเชื่อถือและสามารถนำไปใช้งานได้จริง
• ความสามารถในการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด
• ความสามารถในการทำให้ผู้อื่นสนใจแนวคิดและวิสัยทัศน์ของคุณได้
• ความสามารถในการเล่าเรื่องได้อย่างมีเสน่ห์และจูงใจให้สื่อสารด้วยอำนาจที่น่าเชื่อถือและแสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่
• ความสามารถในการกระตุ้นให้ตัวเองและคนอื่นลงมือทำสิ่งดีๆ
• ความสามารถในการประเมินจุดแข็งของคนอื่นและจัดวางคนให้เหมาะสมกับงาน
• ความสามารถในการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์
• สุภาพ
• มีชั้นเชิง
• อารมณ์ดี
• ทำงานเป็นทีมได้
• ความสามารถในการเจรจาต่อรอง
ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) เป็นเรื่องที่มีการอ้างอิงถึงบ่อยมากเพราะซอฟต์พาวเวอร์เป็น
กระบวนการสร้างความคล้อยตาม ยอมตามโดยปราศจากการบังคับของนานาประเทศโดยมีหลักการสำคัญ 3 ข้อ ตามคำอรรถาธิบายของ ศาสตราจารย์โจเซฟ ไน ดังนี้คือ
1) วัฒนธรรม (culture) คือวิถีการดำเนินชีวิตตั้งเกิดจนตายซึ่งมีรูปแบบแตกต่างไปในแต่ละสังคมถ้าวัฒนธรรมของประเทศหนึ่งมีความสอดคล้องกับผลประโยชน์และค่านิยมของประเทศอื่นๆ เช่น การนิยมนุ่งกางเกงยีนส์ นิยมดูเค-ป๊อปหรือลอกเลียนระบบการศึกษาของประเทศหนึ่งมาใช้ ฯลฯ ทำให้โอกาสที่วัฒนธรรมดังกล่าวจะกลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศนั้นก็จะมีมากขึ้น ช่องทางที่ทำให้วัฒนธรรมของประเทศหนึ่งเป็นที่รู้จักในประเทศอื่นๆ นั้นมีมากมายหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการค้า การเยี่ยมเยือน การติดต่อสื่อสาร และการแลกเปลี่ยน
2) ค่านิยมทางการเมือง (political values) ถ้าประเทศดังกล่าวมีค่านิยมทางการเมืองที่สอดคล้องกับประเทศอื่นๆ ซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศนั้นจะเพิ่มขึ้นเช่นค่านิยมในเรื่องประชาธิปไตยหรือค่านิยมในเรื่องเผด็จการ คือซอฟต์พาวเวอร์ที่เห็นได้ชัดที่สุด
3) นโยบายต่างประเทศ (foreign policies) ถ้าประเทศหนึ่งดำเนินนโยบายที่ก้าวร้าว และไม่แยแสต่อท่าทีของประเทศอื่นๆ โอกาสที่จะสร้างซอฟต์พาวเวอร์ได้น้อย ดังเช่นกรณีของสหรัฐอเมริกาสมัยประธานาธิบดีทรัมป์ที่ยึดถือแต่นโยบาย “America First” มุ่งแต่ผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาแต่ฝ่ายเดียว ไม่ฟังเสียงคัดค้านของประเทศอื่นๆ เป็นต้น แต่ถ้าประเทศดังกล่าวมีแนวนโยบายต่างประเทศที่รักสันติภาพและเคารพใน
ขอบคุณข้อมูล https://www.matichon.co.th/ และ https://andamaninspirations.com/