คณะ/สาขาเทคนิคการแพทย์ คือสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยโรค โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการวินิจฉัยและส่งผลให้กับคุณหมอเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป จะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 4 ปี มีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ครอบคลุมเนื้อหาในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ระบบภูมิคุ้มกัน ธนาคารเลือด ซึ่งสาขานี้จะมีกล้องจุลทรรศน์เป็นของประจำกายเลยค่ะ เพราะใช้สำหรับส่องสิ่งที่มองไม่เห็นต่างๆ
คณะหรือสาขาเทคนิคการแพทย์ มีสาขาอะไรบ้างที่น่าสนใจ
เทคนิคการแพทย์ มีหลายสถาบันที่ใช้ชื่อว่าคณะเทคนิคการแพทย์ ซึ่งเป็นการแยกสาขาวิชานี้ออกมา เช่น ม.มหิดล ม.เชียงใหม่ ม.สงขลานครินทร์ แต่อีกหลายที่ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ จะอยู่ในคณะสหเวชศาสตร์ ดังนั้นหากมองว่าหลักสูตรนี้เป็น “สาขาวิชา” ก็จะไม่มีสาขาหรือแขนงย่อยค่ะ แต่ถ้ามองเป็น “คณะ” จะมีสาขาวิชาที่จัดรวมกลุ่มอยู่ในคณะเดียวกันคือ
- สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
- สาขาวิชากายภาพบำบัด
- สาขาวิชารังสีเทคนิค
- สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร
- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และการออกกำลังกาย
- สาขาวิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
- สาขาวิชากิจกรรมบำบัด
- สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์
- สาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์
ประมาณค่าธรรมเนียมการศึกษา
- ม.ธรรมศาสตร์ 16,000 บาท / ภาคการศึกษา
- จุฬาฯ 21,000 บาท / ภาคการศึกษา
- ม.พะเยา 28,000 บาท / ภาคการศึกษา
- ม.นเรศวร 22,000 บาท / ภาคการศึกษา
- ม.เชียงใหม่ 20,000 บาท / ภาคการศึกษา
คะแนนที่ใช้ในการสมัคร (รอบแอดมิชชัน)
- GPAX : 20%
- O-NET : 30%
- GAT : 20%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) : 30%
ข้อควรรู้
- สำหรับการสอบเข้าคณะเทคนิคการแพทย์ คะแนน PAT 2 ถือว่าเป็นคะแนนที่สำคัญมาก ถ้าอยากสอบติด เกณฑ์ Admission 2 ใน 10 มหาวิทยาลัยข้างต้น ควรจะได้คะแนน PAT 2 มากกว่า 120 คะแนนขั้นไป ในขณะที่ GAT ต้องได้่คะแนนมากกว่า 210 คะแนนขึ้นไป
- เป็นสาขาวิชาที่มีคณะเป็นของตัวเอง แล้วก็เป็นสาขาวิชาที่สังกัดอยู่ในหลายคณะ เช่น คณะสหเวชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- แต่ละมหาวิทยาลัยมักจะกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครไว้ว่าจะต้องเป็นผู้ที่จบแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือมีเรียนกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต และกลุ่มสาระวิชาคณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ทั้งเกณฑ์ Admission 1 และ Admission 2 เลย ยกเว้นแต่ม.นเรศวรไม่ได้กำหนด
- เป็นคณะที่ห้ามบุคคลที่มีภาวะตาบอดสีขั้นรุนแรงเข้าเรียน โดยจะต้องผ่านการทดสอบ Farnsworthd 15 hue test ซึ่งจะต้องไม่มีเส้นตัดขวาง มากกว่า หรือเท่ากับ 10 เส้น
- หลักสูตรนี้ ใช้ระยะเวลาเรียน 4 ปี แล้วเมื่อเรียนจบจากคณะ หรือสาขาวิชานี้ จะได้รับวุฒิการศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) และจะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพก่อนจะไปทำงานด้วย
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยรังสิต
- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
- มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์
- มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยบูรพา
- มหาวิทยาลัยนเรศวร ฯลฯ
จบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง
- นักเทคนิคการแพทย์
- นักวิจัย
- นักรังสีเทคนิค
- นักทัศนมาตรศาสตร์
- เซลล์ขายอุปกรณ์ทางการแพทย์
- เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์สุขภาพและความงาม
- อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
- เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์สุขภาพ
- ครู/อาจารย์ ฯลฯ
อ้างอิงข้อมูลจาก : www.u-review.in.th, www.tcaster.net
และ ขอบคุณข้อมูล https://campus.campus-star.com/ และ https://www.dek-d.com/