ผลคูณคาร์ทีเซียน
2. ผลคูณคาร์ทีเซียน(Cartesian product)
ให้ A และ B เป็นเซตสองเซตใด ๆ ผลคูณคาร์ทีเซียนของ A และ B
เขียนแทนด้วย A×B (อ่านว่า A ครอส B) เป็นเซตของคู่อันดับทั้งหมดที่เป็นไปได้
โดยที่สมาชิกตัวแรกของคู่อันดับเป็นสมาชิกของ A และสมาชิกตัวหลังของคู่อับดับ
เป็นสมาชิกของ B
นั้นคือ A×B = {(a , b) | a A , b B }
ตัวอย่างที่ 2.1
การหาผลคูณคาร์ทีเซียน
กำหนด A = {1,2,3} , B = {a,b}
1. A×B = { (1,a) , (1,b) , (2,a) , (2,b) , (3,a) , (3,b) }
2. B×A = { (a,1) , (a,2) , (a,3) , (b,1) , (b,2) , (b,3) }
3. A×A = { (1,1) , (1,2) , (1,3) , (2,1) , (2,2) , (2,3) , (3,1) , (3,2) , (3,3) }
4. B×B = { (a,a) , (a,b) , (b,a) , (b,b) }
บทนิยาม ผลคูณคาร์ทีเซียนของเซต A และ B คือเซตของคู่อันดับ (a,b) ทั้งหมด โดยที่ a เป็นสมาชิกของเซต A และ b เป็นสมาชิกของเซต B
ผลคูณคาร์ทีเซียนของเซต A และ B เขียนแทนด้วย A x B
เขียน A x B ในรูปเซตแบบบอกเงื่อนไขได้ดังนี้
A X B = {(a,b)| a A และ b B}
ตัวอย่างที่ 3 A = {2,4,6} , B = {a,b}
ดังนั้น A x B = {(2,a),(2,b),(4,a),(4,b),(6,a),(6,b)}
n(AxB) = 6
B x A = {(a,2),(a,4),(a,6),(b,2),(b,4),(b,6)}
n(AxB) = 6
A x A = {(2,2),(2,4),(2,6),(4,2),(4,4),(4,6),(6,2),(6,4),(6,6)}
n(AxA) = 9
ข้อสังเกต 1. ถ้า A มีจำนวนสมาชิก n ตัว ; B มีจำนวนสมาชิก m ตัว แล้ว AxB มีจำนวน สมาชิกทั้ง หมดเท่ากับ nm
2. ถ้า n(A) = n ตัว และ n(B) = m ตัว ความสัมพันธ์จาก A ไป B ทั้งหมดเท่ากับ 2nm