แรงเสียดทาน (frictional force) คือ แรงที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุซึ่งเกิดขึ้นระหว่างผิววัตถุกับพื้นที่สัมผัสและมีทิศตรงกันข้ามกับทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุเสมอ แรงเสียดทานแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. แรงเสียดทานสถิตเป็นแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นในขณะที่วัตถุอยู่นิ่งจนถึงเริ่มต้นเคลื่อนที่ มีความสัมพันธ์
ตามสมการ
2. แรงเสียดทานจลน์เป็นแรงเสียดทานขณะวัตถุกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว ซึ่งจะมีค่าน้อยกว่าแรงเสียดทานสถิต มีความสัมพันธ์ตามสมการ
กราฟแรงเสียดทาน
เมื่อออกแรง F กระทำกับวัตถุ วัตถุยังคงอยู่นิ่งไม่ขยับเพราะมีแรงเสียดทานสถิตต้านอยู่ แต่เมื่อออกแรงมากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งแรง F มีค่าเท่ากับวัตถุจะอยู่ในสภาพกำลังจะเคลื่อนที่ซึ่งเป็นจุดที่มีแรงเสียดทานสูงสุด (ที่ตำแหน่งA) และเมื่อเราออกแรงมากขึ้นวัตถุจะเคลื่อนที่โดยมีแรงเสียดจลน์เกิดขึ้น แต่จะมีค่าน้อยกว่า
ลักษณะของแรงเสียดทาน
1. ไม่ขึ้นกับจำนวนพื้นที่ผิวสัมผัส
2. ไม่ขึ้นกับความเร็วที่วัตถุเคลื่อนที่ และมีทิศตรงข้ามการเคลื่อนที่ของวัตถุ
3. ขึ้นอยู่กับแรงที่วัตถุกดพื้นในแนวตั้งฉาก หรือ แรงปฏิกิริยาของ พื้นในแนวตั้งฉาก
4. ขึ้นกับพื้นผิวสัมผัส เช่น ขรุขระ หรือเรียบ
5. สำหรับผิวสัมผัสคู่หนึ่งมีค่ามากกว่าเสมอ µ
ตัวอย่างประโยชน์ของแรงเสียดทาน
1. ทำให้ยานพาหนะเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการได้ เช่น ในขณะที่รถแล่น ล้อกับถนนต้องมีแรงเสียดทาน ถ้าไม่มีแรงเสียดทานรถจะแล่นไม่ได้ ล้อรถจะหมุนอยู่กับที่
2. แรงเสียดทานช่วยไม่ให้รถลื่นโดยเฉพาะเวลาฝนตก
3. ยานพาหนะแต่ละชนิด ต้องมีทั้งการลดแรงเสียดทานในอุปกรณ์บางส่วนและเพิ่มแรงเสียดทานในบางส่วนเพื่อให้ยานพาหนะมีประสิทธิภาพและปลอดภัย เช่น รถ เรือ หรือเครื่องบิน ต้องให้หัวแหลมเพื่อลดความเสียดทานของอากาศหรือน้ำ
ความเสียดทานของอากาศหรือน้ำ
การเคลื่อนที่ของวัตถุบนพื้นเอียงที่มีความเสียดทาน
ถ้าวัตถุอยู่บนพื้นเอียงแล้ววัตถุลื่นไถลลงมาตามพื้นเอียงด้วย ความเร็วคงที่
มุมที่พื้นระนาบเอียงกระทำกับแนวระดับ คือ มุมของความเสียดทาน
โดยแบ่งออกเป็น | คือ มุมที่พื้นระนาบเอียงกระทำกับแนวระดับขณะที่วัตถุกำลังจะเริ่มเคลื่อนที่ คือ มุมที่พื้นระนาบเอียงกระทำกับแนวระดับขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว |
เมื่อวัตถุอยู่บนพื้นเอียงจะมีแรงเนื่องจากน้ำหนักของวัตถุ (mg) แรงเสียดทาน(f) และแรงที่พื้นเอียงกระทำกับวัตถุ(N) หากแตกแรง mg แล้ว เราจะหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณต่างๆในขณะที่วัตถุกำลังจะเริ่มเคลื่อนที่ได้ดังนี้
ในลักษณะเดียวกัน ขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ เราสามารถหาค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานจลน์ได้จากสมการ