แรง มวล และกฎการเคลื่อนที่ สมดุลต่อการเคลื่อนที่-ฟิสิกส์ออนไลน์
1.การหาแรงลัพธ์
2. การหาแรงลัพธ์ของ 2 แรง
3. การหาแรงลัพธ์ของ 3 แรง
วิธีการหาแรงลัพธ์
1. การเขียนรูป (โดยแทนแรงด้วยลูกศร )
ใช้หางต่อหัว คือเอาหางของลูกศรที่แทนแรงที่ 2 มาต่อหัวลูกศรที่แทนแรงที่ 1
แล้วเอาหางลูกศรที่แทนแรงที่ 3 มาต่อหัวลูกศรที่แทนแรงที่ 2 …..ต่อกันไปจนหมด
โดยทิศของลูกศรที่แทนแรงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
ขนาดของแรงลัพธ์คือ ความยาวลูกศรที่ลากจากจุดเริ่มต้น ไปยังจุดสุดท้าย
มีทิศจากจุดเริ่มต้นไปจุดสุดท้าย
ตัวอย่าง เมื่อมีแรง A B และ C มากระทำต่อวัตถุ ดังรูป
2. โดยการคำนวณ
2.1. เมื่อแรงทำมุม 0 องศา (แรงไปทางเดียวกัน)
แรงลัพธ์ = ขนาดแรง ทั้งสองบวกกัน และทิศของแรงลัพธ์ มีทิศเดิม
แรงลัพธ์ = แรงมากลบด้วยแรงน้อย ทิศของแรงลัพธ์มีทิศเดียวกับแรงมาก
การหาแรงลัพธ์ของ 3 แรง
สมดุลของแรง 3 แรง
เมื่อมีแรง 3 กระทำต่อวัตถุ วัตถุจะสมดุลได้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขคือ
1. แรงทั้งสามต้องอยู่ในระนาบเดียวกัน
2. แรงลัพธ์ = 0
3. แรงทั้งสามต้องพบกันที่จุดเดียวกันหรือแรงทั้งสามต้องขนานกัน
ทฤษฎีที่ใช้เกี่ยวกับการสมดุล
1. สมดุลของแรง 3 แรง
แรง 3 แรงจะสมดุลได้ มีเงื่อนไขดังนี้
1. แรงทั้งสามต้องอยู่ในระนาบเดียวกัน
2. แรงทั้งสามต้องพบกันที่จุดเดียวกัน หรือไม่ก็ต้องขนานกัน
3. แรงลัพธ์เท่ากับศูนย์
การหาขนาดของแรงที่ทำให้วัตถุสมดุล โดย
1. ทฤษฎีของลามิ ” ถ้ามีแรง 3 แรงมากระทำที่จุดหนึ่งและอยู่ในสภาพสมดุลอัตราส่วนของแรงต่อ Sin ของมุมตรงข้าม ย่อมมีค่าเท่ากัน ”
.2. สามเหลี่ยมแทนแรง “ ถ้าแรงทั้งสามตั้งฉากกับด้านทั้งสามของสามเหลี่ยม อัตราส่วนของแรงต่อด้าน ที่ตั้งฉากกับแรงนั้นจะมีค่าคงที่ ”
จากรูป ABC เป็นสามเหลี่ยมแทนแรง
โดย ด้าน BC แทนแรง P ( BC P )
ด้าน AC แทนแรง Q ( AC Q )
ด้าน AB แทนแรง R ( AB R )
ได้
หรือ “ถ้าแรงทั้งสามขนานกับด้านทั้งสามของ รูปสามเหลี่ยมจะได้ว่าอัตราส่วนของแรงต่อด้านที่ขนานกับแรง นั้นจะมีค่าคงที่
จากรูป DABC เป็นสามเหลี่ยมแทนแรง
โดย ด้าน BC แทนแรง P ( BC//P )
ด้าน AC แทนแรง Q ( AC//Q )
ด้าน AB แทนแรง R ( AB//R )
ได้