มวลอะตอม
เนื่องจากอะตอมมีขนาดเล็กมาก มวลของอะตอมก็น้อยมากเช่นกัน การที่จะวัดมวลอะตอมจึงทำได้ยาก ดังนั้นจึงได้มีการนิยามมวลอะตอม (atomic mass) เป็นมวลอะตอมสัมพัทธ์ (relative atomic mass) เปรียบเทียบกับธาตุที่กำหนด โดยเริ่มแรกนั้น ดอลตัน (John Dalton) ได้กำหนดให้
ดังสมการข้างล่าง
จากนั้นได้มีการเปลี่ยนเป็นเปรียบเทียบกับธาตุออกซิเจน เพราะธาตุออกซิเจนทำปฏิกิริยากับธาตุอื่นได้ง่าย
แต่เนื่องจากออกซิเจนมีมวลเป็น 16 เท่าของไฮโดรเจนจึงได้นิยามเป็น
แต่เนื่องจากธาตุออกซิเจนมีหลายไอโซโทป คือ 16O, 17O และ 18O
ซึ่ง นักเคมีและนักฟิสิกส์ กำหนดมวลอะตอมของธาตุออกซิเจนไม่เหมือนกัน โดยนักเคมีใช้มวลอะตอมเฉลี่ยของทั้ง 3 ไอโซโทป แต่นักฟิสิกส์ใช้เฉพาะมวลของ 16O
จึงได้มีการตกลงกันใหม่โดยให้ใช้เป็น
ดังนั้นนิยามในปัจจุบันคือ
ซึ่งมวลของ 1/12 มวลของ 12C นั้นเท่ากับ 1.66 x 10-24 กรัม ดังนั้น
มวลอะตอมของธาตุ = มวลของธาตุ 1 อะตอม (g) / 1.66 x 10-24 g
มวลอะตอมของธาตุนั้นจะไม่มีหน่วยเพราะเป็นมวลสัมพัทธ์ แต่มวลของธาตุ 1 อะตอมจะมีหน่วยกำกับ
ธาตุในธรรมชาติส่วนใหญ่จะมีหลายไอโซโทป แต่ละไอโซโทปมีมวลอะตอมและปริมาณที่พบในธรรมชาติแตกต่างกัน
ดังนั้น มวลอะตอมของธาตุจึงคิดจากมวลอะตอมของไอโซโทปและปริมาณของไอโซโทปนั้น ๆ ในธรรมชาติ
เช่น
คาร์บอนมี 3 ไอโซโทป คือ 12C, 13C และ 14C โดยที่ 12C มีมวลอะตอม 12.0000 และพบเป็น 98.930% ในธรรมชาติ 13C มีมวลอะตอมเป็น 13.0034 และพบเป็น 1.070% ในธรรมชาติ ส่วน 14C เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีและพบน้อยมาก
ดังนั้น มวลอะตอมของคาร์บอนจึงคำนวณจาก 12C และ 13C ดังนี้
โมล
เนื่องจากสารต่าง ๆ ประกอบด้วย อนุภาคของสารที่มีขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก นักเคมีจึงได้กำหนดหน่วยสำหรับปริมาณสารว่า โมล (mole) โดยกำหนดว่า
และเรียกจำนวนอนุภาคนี้ว่า
เลขอาโวกาโดร (Avogadro’s number) หรือ ค่าคงตัวอาโวกาโดร (Avogadro’s constant)
ตัวอย่างของสารปริมาณ 1 โมล
สาร | จำนวนอนุภาค |
อาร์กอน (Ar) | 6.02 x 1023 อะตอม |
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) | CO2 = 6.02 x 1023 โมเลกุล
C = 6.02 x 1023 อะตอม O = 2 x 6.02 x 1023 = 1.204 x 1024 อะตอม |
โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) | Na+ = 2 x 6.02 x 1023 = 1.204 x 1024 ไอออน
CO32- = 6.02 x 1023 ไอออน |
เนื่องจากมวลของ 12C 1 อะตอม เท่ากับ 12 x 1.66 x 10-24 กรัม
เราสามารถหา มวลต่อโมล (molar mass) ของ 12C ได้โดย
จะเห็นได้ว่ามวลของธาตุ 1 โมลในหน่วยกรัม (หรือมวลต่อโมล) มีค่าเป็นตัวเลขเท่ากับมวลอะตอมของธาตุนั้น
เช่น
ไนโตรเจนมีมวลอะตอมเท่ากับ 14.01 ดังนั้น ไนโตรเจร 1 โมล จะมีมวล 14.01 กรัม หรือมวลต่อโมลของไนโตรเจนเป็น 14.01 กรัมต่อโมล
เมื่อมีอะตอมของธาตุมารวมกันเป็นโมเลกุล ผลรวมของมวลอะตอมของธาตุในสูตรเคมีนั้น ๆ เรียกว่า มวลโมเลกุล (molecular mass)
เช่น
มวลโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับมวลอะตอมของคาร์บอน 1 อะตอม รวมกับมวลอะตอมของออกซิเจน 2 อะตอม หรือ (1 x 12.01) + (2 x 16.00) = 44.01
ในทำนองเดียวกับอะตอม มวลต่อโมลของสารที่เป็นโมเลกุลก็เท่ากับมวลโมเลกุลของสารนั้น
ดังนั้น มวลต่อโมลของคาร์บอนไดออกไซด์จึงเท่ากับ 44.01 กรัมต่อโมล
ส่วนสารที่ไม่อยู่ในรูปโมเลกุล
เช่น
สารประกอบไอออนิกหรือโลหะ
ผลรวมของมวลอะตอมของธาตุในสูตรเคมี เรียกว่า มวลสูตร (formula mass)
เช่น
มวลสูตรของ แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) เท่ากับมวลอะตอมของแมกนีเซียมรวมกับมวลอะตอมของออกซิเจน คือ 24.31 + 16.00 = 40.31
และมวลต่อโมลของสารมีค่าเป็นตัวเลขเท่ากับมวลสูตรของสารนั้น
ดังนั้น มวลต่อโมลของแมกนีเซียมออกไซด์เท่ากับ 40.31 กรัมต่อโมล
นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ระหว่างโมล มวลและปริมาตรของแก๊สซึ่งเราควรจะจำให้ได้ โดยที่
ความสัมพันธ์เหล่านี้สามารถทำเป็นแผนภาพได้ดังนี้