โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง โลกก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ไปด้วย โดยโคจรไปในทิศทางเดียวกับการหมุนรอบตัวเอง หรือโคจรจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ในลักษณะที่แกนโลกเอียงเป็นมุม 23.5 องศา จากแนวตั้งฉากกับระนาบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงโคจรซึ่งใช้เวลา 365 1/4 วัน เพื่อให้ครบ 1 รอบ ปฏิทินแต่ละปีมี 365 วัน ซึ่งหมายความว่าจะมี 1/4 ของวันที่เหลือในแต่ละปี ซึ่งทุกๆปีสี่ปีจะมีวันพิเศษ คือจะมี 366 วัน กล่าวคือเดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันเหมือนปกติ ตามที่เคปเลอร์ค้นพบวงโคจรของโลกไม่เป็นวงกลม ในเดือนธันวาคมมันจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าเดือนมิถุนายน ซึ่งมันจะอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด โลกจะเอียงไปตามเส้นแกน ในเดือนมิถุนายน ซีกโลกเหนือจะเอียงไปทางดวงอาทิตย์ดังนั้น ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูร้อนและซีกโลกใต้จะเป็นฤดูหนาว
ในเดือนธันวาคมจะเอียงจากดวงอาทิตย์ ทำให้ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาวและซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน ในเดือนมีนาคมและกันยายน ซีกโลกทั้งสองไม่เอียงไปยังดวงอาทิตย์ กลางวันและกลางคืนจึงมีความยาวเท่ากัน ในเดือนมีนาคม ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกใต้เป็นฤดูใบไม้ร่วง ในเดือนกันยายน สถานการณ์จะกลับกัน
ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ จะมีฤดูกาลเป็นของตนเองและระยะของการโคจร ความยาวของปีดาวเคราะห์เป็นเวลาที่มันหมุนรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบ ถ้าคุณอยู่บนดาวพุธ ปีของคุณจะมีเพียง 88 วันของโลก บนดาวพูลโต ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่นอกสุดหนึ่งปีจะเท่ากับ 248 วันบนโลก
ข้อมูลเกี่ยวกับโลก
โลกมีอายุประมาณ 4,700 ปี
โลกไม่ได้มีรูปร่างกลมโดยสิ้นเชิง เส้นรอบวงที่เส้นศูนย์สูตรยาว 40,077 กิโลเมตร (24,903 ไมล์)และที่ขั่วโลกยาว 40,009 กิโลเมตร (24,861 ไมล์)
ดวงจันทร์
ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลก โคจรรอบโลกทุกๆ 27 วัน 8 ชั่งโมง และขณะเดียวกันก็หมุนรอบแกนตัวเองได้ครบหนึ่งรอบพอดีด้วย ทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์ด้านเดียว ไม่ว่าจะมองจากส่วนไหนของโลก ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง มนุษย์เพิ่งจะได้เห็นภาพ เมื่อสามารถส่งยานอวกาศไปในอวกาศได้ บนพื้นผิวดวงจันทร์ร้อนมากในบริเวณที่ถูกแสงอาทิตย์ และเย็นจัดในวริเวณเงามืด ที่พื้นผิวของดวงจันทร์มีปล่องหลุมมากมาย เป็นหมื่นๆหลุม ตั้งแต่หลุมเล็กไปจนถึงหลุมใหญ่มีภูเขาไฟและทะเลทรายแห้งแล้ง
ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับดวงจันทร์
เส้นผ่าศูนย์กลาง 3,476 กิโลเมตร
มวล 0.012 เท่าของโลก
ความหนาแน่น 3.3 เท่าของน้ำ
ระยะห่างจากโลกโดยเฉลี่ย 384,400 กิโลเมตร
ระยะที่อยู่ใกล้ที่สุด 365,400 กิโลเมตร
ระยะห่างมากที่สุด 406,700 กิโลเมตร
เวลาหมุนรอบตัวเอง 27.32 วัน (นับแบบดาราคติ)
เวลาหมุนรอบโลก 29.53 วัน (นับแบบจันทรคติ)
เอียงทำมุมกับเส้นอีคลิปติค 5 องศา
เอียงทำมุมกับแกนตัวเอง 6 1/2 องศา
วัฏจักรของดวงจันทร์
เราทราบแล้วว่า ถ้านับเดือนทางจันทรคติ แล้วดวงจันทร์จะโคจรรอบโลกหนึ่งรอบ กินเวลา 29 1/2 วัน ถ้าเรานับจุดเริ่มต้นของดวงจันทร์ที่วันเดือนดับ (New moon) เป็นช่วงที่ดวงจันทร์ อยู่เป็นเส้นตรงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำให้ดวงจันทร์ทึบแสง คนบนโลกจึงมองไม่เห็นดวงจันทร์ แล้วก็เป็นวันข้างขึ้นทีละน้อย เราจะเห็นดวงจันทร์สว่างเป็นเสี้ยวทางขอบฟ้าตะวันตก และจะเห็นดวงจันทร์ขึ้นสูงจากขอบฟ้าทิศตะวันตก ไปทางทิศตะวันออก พร้อมกับมีเสี้ยวสว่างมากขึ้น พอถึงช่วงวันขึ้น 7-8 ค่ำ ดวงจันทร์จะสว่างครึ่งซีกอยู่ตรงกลางท้องฟ้าพอดี (Quarter) วันต่อมาจะเพิ่มเสี้ยวสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งวันขึ้น 14-15 ค่ำ ดวงจันทร์จะมาอยู่ตรงเส้น ระหว่างดวงอาทิตย์และโลก ทำให้ดวงจันทร์เกิดสว่างเต็มดวง (Full moon) หลังจากนั้นดวงจันทร์กลายเป็นข้างแรม ดวงจันทร์จะขึ้นช้าไปเรื่อยๆ จนหายไปในท้องฟ้าจะเห็นเดือนดับ แล้วก็เริ่มต้นใหม่ เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ การเกิดข้างขึ้นข้างแรม เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก 1 รอบ เท่ากับมันโคจรรอบตัวเอง 1 รอบพอดี ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้นเราจึงเห็นดวงจันทร์เพียงซีกเดียวตลอดเวลา
โดยมีดวงจันทร์หมุนรอบตัวเอง และโคจรรอบโลก ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ที่มีผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมบนโลก การหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้เกิดปรากฏการณ์หลายอย่าง ได้แก่
– การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่างๆ
– การเกิดทิศ
– การเกิดกลางวันและกลางคืน
การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการที่โลกหมุนรอบตัวเอง จากทิศตะวันตก ไปทางทิศตะวันออก พร้อมกับโคจรไปรอบๆ ดวงอาทิตย์ โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 1 วัน ทำให้คนบนโลกเห็นดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ปรากฏจากทิศตะวันออก ไปทางทิศตะวันตก
การที่โลกหมุนรอบตัวเองยังทำให้เกิดปรากฏการณ์ขึ้นและตกของดวงดาวอื่นๆ เช่น ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และดาวฤกษ์ต่างๆ
ขอบฟ้า (Horizon) คือ บริเวณรอยต่อระหว่างท้องฟ้าและพื้นดินหรือบริเวณรอยต่อระหว่างท้องฟ้าและพื้นน้ำ
ทิศตะวันออก คือ ทิศที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้า
ทิศตะวันตก คือ ทิศที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
แหล่งอ้างอิง : www.google.co.th/