ไดโนเสาร์ชนิดต่าง ๆ
คอมซอกนาทัส เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด สกุลไดโนเสาร์ที่ตัวเล็กที่สุดในโลก ลำตัวยาวประมาณ 70เซนติเมตร และมีน้ำหนักเพียง 3 กิโลกรัม ฟอสซิลของมันพบในเหมืองที่ประเทศเยอรมนี นอกจากนี้ยีงพบในประเทศไทยของเราด้วย พบเศษกระดูก 2 ชิ้นของกระดูกแข้งด้านซ้าย และกระดูกน่องด้านขวา มีความยาวประมาณ 3 เซนติเมตร พบที่หลุมขุดค้นที่ 1 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่นพบอยู่ในเนื้อหินทรายหมวดหินเสาขัว ยุคครีเทเชียสตอนต้น ลักษณะของกระดูกที่พบมีลักษณะใกล้เคียงกับคอมพ์ซอกเนธัส ลองกิเปส
มันล่าสัตว์ตัวเล็กอย่างแมลง หรือหนู อาศัยอยู่ปลายยุคจูราสซิก วิ่งเร็ว เป็นไดโนเสาร์เทอราพอดขนาดเล็ก
คามาราซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินพืช ตระกูลซอโรพอด 4 เท้า มีขนาดลำตัวไม่ใหญ่ มีชีวิตอยู่ในกลางถึงปลายยุคจูแรสซิก เมื่อ 155 -145 ล้านปีก่อน มีความยาวประมาณ 12-18 เมตร กะโหลกศีรษะมีลักษณะสั้นแต่ลึกเข้าไปด้านใน ขากรรไกรมีขนาดใหญ่ คอและหางสั้นกว่าซอโรพอดตัวอื่น ไม่มีปลายหางแส้ ลำตัวกลมหนาและค่อนข้างสั้น แขนขาใหญ่โตมีลักษณะคล้ายเสาหิน ขาหลังยาวกว่าขาหน้าเล็กน้อย มีรูจมูกขนาด ใหญ่เหนือดวงตา เพื่อช่วยในการระบายความร้อนและดมกลิ่น
คาร์ชาโรดอนโทซอรัส (Carcharodontosaurus)เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่โตและแข็งแรงที่สุด มีขนาดโดยประมาณคือ 13 เมตร อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกาเหนือเมื่อประมาณ 93-100 ล้านปีก่อน ชื่อ คาชาโรดอน มาจากภาษากรีกมีความหมาย ขรุขระ หรือ คม
คาร์โนทอรัส (อังกฤษ: Carnotaurus) ค้นพบที่ทุ่งราบพาร์ตาโกเนียของอาร์เจนตินา มีเขาอยู่บนหัว 2 เขา เป็นลักษณะที่พิเศษของคาร์โนทอรัส ชื่อของมันมีความหมายว่ากิ้งก่ากระทิง ขนาดประมาณ 7.5 เมตร อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียส
ตอนปลายเมื่อประมาณ 75-80 ล้านปีก่อน
เคนโทรซอรัส (อังกฤษ: Kentrosaurus) ชื่อของมันมีความหมายว่ากิ้งก่าแหลมคม เพราะลำตัวส่วนหน้าของมันมีแผงกระดูอยู่ ส่วนจากหลังถึงหางของมันมีหนามแหลมคมอยู่ อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิกตอนปลาย มันยาว 3-5 เมตร พบที่แอฟริกา อาวุธหลักของมันคือหนามยาวหนึ่งคู่ตรงหาง กินพืชเป็นอาหาร
แคมป์โทซอรัส (อังกฤษ: Camptosaurus – กิ้งก่าหลังโค้ง) มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคจูแรสสิค ชื่อนี้มาจากโครงสร้างของของมันที่สามารถยืนตรง 2 เท้าหรือ 4 เท้าก็ได้ ขนาดตัวไม่ใหญ่มากนัก ความยาวประมาณ 6.5เมตร และ ส่วนสูง 2 เมตรจากพื้นถึงเอว เป็นไดโนเสาร์ใน กลุ่มสะโพกนก (Ornithischia) รุ่นแรกๆของกลุ่มสายพันธุ์ที่ต่อไปในสมัยหลังจะวิวัฒนาการไปเป็น อิกัวโนดอน และ ไดโนเสาร์ตระกูลปากเป็ดในสมัยครีเตเชียส มันมีปากตัด เพื่อเอาไว้สำหรับกินพืชในป่า
เป็นไดโนเสาร์ที่ไม่ได้มีขนาดอาวุธป้องกันตัวครบเครื่องแบบสเตโกซอรัส หรือ มีขนาดใหญ่ร่างยักษ์อย่างซอโรพอด ฝีเท้าก็ไม่ว่องไวนักเนื่องจากน้ำหนักตัวที่หนักไป (จนต้องยืน 4 ขา ในบางเวลา) จึงมักกลายถูกล่าเป็นเหยื่อจากพวกไดโนเสาร์กินเนื้อในป่า จนกระทั่งมันเริ่มวิวัฒนาการไปเป็น ไดโนเสาร์ร่างใหญ่ติดอาวุธอย่างอิกัวโนดอน
โคริโทซอรัส (อังกฤษ: Corythosaurus) เป็นไดโนเสาร์จำพวกแฮดโดรซอร์ อาศัยช่วงปลายยุคครีเตเซียส เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ขนาด 12 เมตร ริว เท ซูน ฟอสซิลของมันพบที่ทวีปอเมริกาเหนือ ชื่อแปลว่ากิ้งก่ามงกุฏ ลักษณะปากของโคริโทซอรัสคล้ายกระสุนปืน สามารถกินหินได้อย่างสบาย ๆ เลยทีเดียว มันเป็นหนึ่งในเหยื่อ ที่โปรดปราณ ของ ไทรันโนซอรัส
กิก้าโนโตซอรัส (อังกฤษ: Giganotosaurus) (สะกดได้2แบบ กิก้าโนโตซอรัส และจิกแกนโนโตซอรัส) มีถิ่นอาศัยอยู่ที่ทุ่งปาตาโกเนียที่ประเทศอาร์เจนตินาช่วง กลางยุคครีเตเซียส 93 – 89 ล้านปี พบซากฟอสซิลในปี1993 เป็น 1 ใน 3 ไดโนเสาร์กินเนื้อที่โตและดุที่สุด ยาว13.5เมตร และนํ้าหนักอยู่ระหว่าง 6.5-13.3 ตัน ความยาวกะโหลกศรีษระ 1.95 เมตร (6.3ฟุต) ขนาดของมันยาวกว่า ไทรันโนซอรัส แต่เล็กกว่า สไปโนซอรัส แต่ทว่ามันก็ยังมีคู่แข่งทางด้านขนาดอย่าง อัลโลซอรัส ที่ยาว 9เมตร (36ฟุต) คาร์ชาโรดอนโทซอรัส ที่ยาว13เมตร (42ฟุต) สไปโนซอรัส ที่ยาว18เมตร (59ฟุต) ไทรันโนซอรัส ที่ยาว 12.5เมตร (40ฟุต) อโครแคนโตซอรัส ที่ยาว 12 เมตร (39ฟุต) มาพูซอรัส ที่ยาว 12 เมตร (39ฟุต) ซึ่งไม่ได้มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันกันกับ กิก้าโนโตซอรัส นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า กิก้าโนโตซอรัส สามารถทำความเร็วได้ถึง 14 เมตรต่อวินาที (50kmต่อชั่วโมง)ด้วยขนาดอันใหญ่โตและขาที่ยาวของมัน
ซัลตาซอรัส (Saltasaurus) ซัลตาซอรัส ( กิ้งก่าจากซัลตา ) เป็นไดโนเสาร์ตระกูลซอโรพอด ขนาดเล็กที่เหลืออยู่ถึงปลายยุคครีเตเซียส 75 – 65 ล้านปี และ เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กลงมาอีก คือมีความยาวเพียง 12เมตร หนัก 7 ตัน เช่นเดียวกับ ซอโรพอดจำพวกอื่น ซัลตาซอรัสมีฟันแท่งที่ทื่อ ช่วงคอ กับ ส่วนหางที่ยาว แต่ลักษณะเด่นของมันและซอโรพอดยุคหลังอื่นๆคือ ผิวหนังมันมีปุ่มกระดูกเกล็ดผุดขึ้นมาจากหนัง เพื่อประโยชน์เป็นเกราะ ป้องกันลำตัวมันจากนักล่า คล้ายๆกับ ไดโนเสาร์หุ้มเกราะ ค้นพบเมื่อปีค.ศ.1980
ซัลตาซอรัส (Saltasaurus) ซัลตาซอรัส ( กิ้งก่าจากซัลตา ) เป็นไดโนเสาร์ตระกูลซอโรพอด ขนาดเล็กที่เหลืออยู่ถึงปลายยุคครีเตเซียส 75 – 65 ล้านปี และ เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กลงมาอีก คือมีความยาวเพียง 12เมตร หนัก 7 ตัน เช่นเดียวกับ ซอโรพอดจำพวกอื่น ซัลตาซอรัสมีฟันแท่งที่ทื่อ ช่วงคอ กับ ส่วนหางที่ยาว แต่ลักษณะเด่นของมันและซอโรพอดยุคหลังอื่นๆคือ ผิวหนังมันมีปุ่มกระดูกเกล็ดผุดขึ้นมาจากหนัง เพื่อประโยชน์เป็นเกราะ ป้องกันลำตัวมันจากนักล่า คล้ายๆกับ ไดโนเสาร์หุ้มเกราะ ค้นพบเมื่อปีค.ศ.1980
ซิตตะโกซอรัส (อังกฤษ: Psittacosaurus) หรือ ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว มีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนต้นพบได้ในทวีปเอเชียและทวีปยุโรป เป็นสัตว์กินพืช 2 เท้าที่มีขนาดเล็ก เพราะมีความ ยาวลำตัวเพียง 2 เมตร กะโหลกศีรษะแคบ กระดูกแก้มมีลักษณะคล้ายเขา ตาและรูจมูกอยู่ค่อน ข้างสูง จะงอยปากมีลักษณะงองุ้มคล้ายปากของนกแก้ว จึงทำให้มันได้ชื่อว่า “ไดโนเสาร์นกแก้ว” หน้าตาของมันไม่ค่อยดุร้ายเหมือนไดโนเสาร์ตัวอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน
ในภายหลัง ได้มีการค้นพบไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดใหม่ ที่หมวดหินโคกกรวด อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นการค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ปากนกแก้วครั้งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้มีการตั้งชื่อให้กับไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดใหม่นี้ว่า “ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี” เพื่อเป็นเกียรติแด่นเรศ สัตยารักษ์ซึ่งเป็นผู้ค้นพบซากฟอสซิลดังกล่าว
ซีโลไฟซิต (อังกฤษ: Coelophysis) เป็นไดโนเสาร์มี ความสามารถในการวิ่งอย่างรวดเร็ว เพราะกระดูกของซีโลไฟซิตนั้นกลวง ซีโลไฟซิตยาวประมาณ 3.2 เมตร อาหารของพวกซีโลไฟซิตคือซากสัตว์ที่ตายแล้ว กิ้งก่า และแมลง แต่บางครั้งเมื่อหน้าแล้งมาถึงซึ่งเป็นช่วงหาอาหารลำบาก ซีโลไฟซิตจึงกินพวกเดียวกันด้วย ฟอสซิลของซีโลไฟซิตพบที่รัฐนิวเม็กซิโก ซีโลไฟซิตอยู่ในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย เคยมีการพบฟอสซิลของซีโลไฟซิต 1,000 ตัวที่ทุ่งปีศาจ จึงกล่าวว่าซีโลไฟซิตอาจจะอยู่เป็นฝูง แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนค้านว่าซีโลไฟซิตไมได้อยู่เป็นฝูง เพียงแต่ตายในที่เดียวกันเท่านั้น
เซอราโตซอรัส (อังกฤษ: Ceratosaurus – กิ้งก่ามีเขา) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ (เทอโรพอด) ช่วงปลายยุคจูแรสสิค มีความใกล้ชิดกับสายพันธุ์ของอัลโลซอรัส แต่ขนาดตัวเล็กกว่าครึ่งหนึ่ง ความยาวลำตัวประมาณ 6 เมตร แต่จากการคำนวณคาดว่า ตัวโตที่สุดอาจยาวได้ 8.8 เมตร
มีลักษณะ คล้ายอัลโลซอรัส แต่มีส่วนหัวที่โตกว่าเมื่อเทียบกับสัดส่วนลำตัว แขนสั้นและเล็กมี 4 นิ้วไม่น่าใช้เป็นอาวุธได้ และมีเขายื่นออกมาจากเหนือจมูกและดวงตา เป็นเอกลักษณ์และที่มาของชื่อ “กิ้งก่ามีเขา“ของมัน แต่เขาของซีราโตซอรัส เป็นแผ่นกระดูกบางๆ ไม่แข็งแกร่งพอจะเอาไปใช้เป็นอาวุธได้ จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่า เขาของมันน่าจะมีไว้เพื่อดึงดูดตัวเมีย
ฟันของของเซอราโตซอรัสยาวมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว แต่แบนและบางกว่า นักล่ายุคเดียวกัน เหมาะกับการตัดเนื้อกิน แต่ไม่สามารถบดกระดูกได้ ทำให้คาดได้ว่า เหยื่อของมันน่าจะเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดกลาง ที่ฉีกเนื้อกินได้ง่ายกว่า
บวกกับการศึกษาที่พบฟอสซิล เชื่อว่า เซอราโตซอรัสมักจะล่าเหยื่อในป่าทึบ ตามลำพังคล้ายๆกับ เสือดาว แม้จะมีขนาดตัวเล็กกว่านักล่าอื่นๆ แต่ก็มีร่างกายแข็งแกร่ง และ ปราดเปรียว จัดได้ว่าเป็นนักล่าตัวยงอีกสายพันธุ์หนึ่ง
ไซคาเนีย (อังกฤษ: Saichania) เป็นไดโนเสาร์หุ้มเกราะชนิดหนึ่ง ชื่อของมันมีความหมายว่าสวยงาม อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย ตรงที่หางคล้ายมีกระบองติดอยู่ กระบองใช้เป็นอาวุธฟาดศัตรู สาเหตุที่มันได้ชื่อว่างดงามเป็นเพราะฟอสซิลของมันอยูในสภาพสมบูรณ์มาก ยาวประมาณ 7 เมตร กินพืชเป็นอาหาร ค้นพบฟอสซิลที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี ค.ศ. 1977
ไดพลอโดคัส (ชื่อวิทยาศาสตร์: Diplodocus (เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /daɪˈplɒdəkəs/))หรือ กิ้งก่าสันคู่ วงศ์ดิพโพลโดซิเด อันดับแยกย่อย ซอโรโพดา อันดับย่อย ซอโรโพโดมอพา อันดับ ซอริสเชีย เป็นไดโนเสาร์ ตระกูลซอโรพอดเช่นเดียวกับ อะแพทโตซอรัสและ มีชื่อเสียงพอๆกัน ในด้านความยาวขนาดตัว ขนาดใหญ่โตเต็มที่ยาว 25-27 เมตร( David Gillete คำนวณขนาดมันว่า ใหญ่ได้มากที่สุด 33 เมตร) แต่หนักแค่ 10-12 ตัน ถือว่าเป็นซอโรพอดที่เบาที่สุด อาศัยอยู่กลางถึงปลายยุคจูแรสซิก 150 – 147 ล้านปีก่อน
ไดพลอโดคัส เป็นสายพันธุ์ที่แยกประเภทได้ง่าย เนื่องจาก ลักษณะตามแบบไดโนเสาร์ ศีรษะขนาดเล็ก เตี้ย และเอียงลาด ตาลึก รูจมูกอยู่เหนือตา จมูกกว้าง คอและหางยาว ปลายแส้ที่หางยาวมากกว่า อะแพทโตซอรัส ขา 4 ข้างที่ใหญ่โตเหมือนเสา ลักษณะที่โดดเด่นคือ เงี่ยงกระดูกเป็นคู่ที่ยื่นโผล่ออกมาจากกระดูกสันหลังตั้งแต่หลังคอเรียงราย ไปถึงหาง
หลายปีก่อน ไดพลอโดคัส เคยเป็น ไดโนเสาร์ที่ตัวยาวที่สุด ขนาดตัวมหึมาของมัน เป็นอุปสรรคระดับหนึ่งต่อนักล่า อย่าง อัลโลซอรัส พบที่อเมริกาเหนือ อยู่ในยุคจูราสสิคตอนปลาย
ไดโนนีคัส (Deinonychus) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ฉลาดและว่องไว มีความยาวประมาณ 2-5 เมตร อยู่ในวงศ์โดรเมโอซอร์ มีการออกล่าเหยื่อเป็นกลุ่มเหมือนหมาป่า อาวุธคือเล็บเท้า แหลมคมเหมือนใบมีดที่พับเก็บได้และฟันที่คมกริบ เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่บนโลก ช่วงประมาณ 83-70 ล้านปีก่อนในยุคครีเทเชียส (Cretaceous) มีหลักฐานพบเป็นฟอสซิลในบริเวณอเมริกาเหนือ
ไดโลโฟซอรัส (อังกฤษ: Dilophosaurus) หงอนของมันจะมีเฉเพาะตัวผู้เท่านั้น มีไว้อวดตัวเมียเวลาผสมพันธ์ ชื่อของมันมีความหมายว่ากิ้งก่ามีหงอน พบที่ทวีปอเมริกาเหนือและประเทศจีน อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิคตอนต้นเมื่อประมาณ 208 ล้านปีก่อน มีหงอนบนหัวไว้สำหรับโอ้อวดตัวเมีย เวลาผสมพันธุ์
ไดโลโฟซอรัส เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วจากไปจากการปรากฎตัวใน ภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค พาร์ค โดยภายในภาพยนตร์ได้มีการแสดงว่า ไดโลโฟซอรัส สมมารถพ่นพิษออกจากปากได้เพียงเพื่อเป็นการเพิ่มอรรถรสในการชมเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันไม่สามารถพ่นพิษได้
ทาร์โบซอรัส บาร์ทา เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อดุร้ายมากเหมือนไทรันโนซอรัส เป็นบรรพบุรุษของ ไทรันโนซอรัส พบได้ในเอเชีย มองโกเลีย ความยาวประมาณ 10-12 เมตร หนัก 5 – 6 ตัน สูงจากหัวถึงพื้น 5 เมตร อยู่ยุคครีเทเชียส 85 – 65 ล้านปีก่อน มันมีลักษณะไม่แตกต่างกับไทรันโนซอรัส เร็กซ์ เลย บางคนจึงเรียกมันว่าไทรันโนซอรัส บาร์ทา
ทีนอนโตซอรัส (อังกฤษ: tenontosaurus) ชื่อของมันมีความหมายว่า กิ้งก่าเอ็นกล้ามเนื้อ ที่ชื่อของมันมีความหมายแบบนี้เพราะมีเส้นเอ็นแข็งๆ ตั้งแต่หลังไปจนถึงหาง พบในยุคครีเทเซียสตอนต้น ฟอสซิลของมันค้นพบที่อเมริกาเหนือและแอฟริกา ขนาด 5 เมตร เวลายืนมันใช้ขาหลัง เวลาเดินมันจะใช้ขาทั้งหมด
โทรโอดอน (Troodon หรือ Troödon) เป็น ไดโนเสาร์ กินเนื้อที่จัดว่าเป็นไดโนเสาร์ทีมีความฉลาดมากที่สุด ไดโนเสาร์โทรโอดอนเป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ใน ช่วงครีเตเชียสตอนปลาย พบได้ ในประเทศอเมริกาและคานาดา ไดโนเสาร์โทรโอดอนจัดว่าเป็นไดโนเสาร์ที่มีขนาดเล็กกว่า ไดโนเสาร์พันธุ์อื่น ๆ เพราะโครงสร้างที่บอบบาง ลำตัวมีความยาวประมาณ 1.8 เมตร ข้างกะโหลกศีรษะของมัน ค่อนข้างแตกต่างจากไดโนเสาร์พันธุ์อื่น ๆ เพราะบริเวณด้านหลังและด้านข้างของจมูก จะมีโครงกระดูกแหลมโผล่ออกมา ฟันมีลักษณะแหลมและเป็นซี่เล็ก ๆ ตาโต ทำให้สามารถ มองเห็นวัตถุต่าง ๆ ได้ดี มีนิ้วมือสำหรับตะครุบ
ไททันโนซอรัส (อังกฤษ: Titanosaurus) จัดเป็นไดโนเสาร์กินพืชในกลุ่มซอโรพอด ลำตัวยาว 9-12 เมตร นำหนัก 13 ตัน เกิดในยุคครีเทเชียสตอนปลาย พบทางตอนใต้ของทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาใต้ ไททันโนซอรัส มีลำตัวขนาดใหญ่ คอยาวหนา หางยาว เดิน 4 ขา เชื่องช้า มักอาศัยอยู่รวม – กันเป็นฝูง กินพืชเป็นอาหาร สมองขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว
ไทรเซอราทอปส์ (อังกฤษ: triceratops) เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ในปลายยุคครีเทเชียสราว 68-65ล้านปีมันเป็น1ในไดโนเสาร์ชนิดสุดท้าย ไทรเซอราทอปส์เป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่หนักราว6-8ตันและยาวได้กว่า6-10เมตรโดยทั่วไปแล้วไทรเซอราทอปส์จะกินเฟริน สนซึ่งเป็นพืชเนื้อหยาบมันมีจงอยปากคล้ายนกแก้วไว้ตัดพืช และมันจะกลืนหินไปในกระเพาะเพื่อบดอาหารหินนี้เรียกว่า แกสโตรลิท ไทรเซอราทอปส์มีวิถีชีวิตคล้ายแรดอยู่รวมเป็นฝูงเล็มอาหารเมื่อถูกคุกคามจากนักล่า เช่น ไทรันโนซอรัส จะหันหน้าเป็นวงกลมให้ตัวอ่อนแอและเด็กอยู่ในวงล้อม หากศัตรูเข้ามาทางใดจะพุ่งชนด้วยแรงชนกว่า6ตัน ไทรเซอราทอปส์มีเขา3เขาอยู่บนหัวเขาแรกยาว20เซนติเมตรอยู่เหนือจมูก ส่วน2เขาหลังอยู่ที่ตายาวราว1เมตรแทงเพียงครั้งเดียวอาจถึงตาย บางตัวเขาอาจยาวกว่า2เมตร แต่ด้วยพละกำลังและขนาดเป็น2เท่าของช้างนักล่าส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยโจมตีมัน แต่มันมีจุดอ่อนที่แผงคอทำให้มันมองหลังไม่ดีแต่หากโจมตีข้างหน้าสถานการจะ กลับกัน ไทรเซอราทอปส์กินค่อนข้างมากเฉลี่ยถึง500กิโลกรัม มันมีชื่อเสียงพอๆกับที-เร็กซ์และมักเห็นภาพมันเข้าปะทะกับที-เร็กซ์ทำให้ เจ้า3เขาตัวนี้ได้คำขนานนามว่า คู่ปรับแห่งราชาไดโนเสาร์ นอกจากนี้มันยังเป็นพระเอกในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องไดโนคิง (DINOSAUR KING) อีกด้วย ไทรเซอราทอปส์มีชื่อเต็มว่าไทรเซอราทอปส์ ฮอริดัส ฟอสซิลของไทรเซอราทอปส์ตัวแรกพบโดยมารช์ คู่แข็งของโคป ในสงครามกระดูกไดโนเสาร์
ไทแรนโนซอรัส หรือ ทิแรนโนซอรัส (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tyrannosaurus; เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /tɨˌrænɵˈsɔrəs หรือ taɪˌrænɵˈsɔrəs/; แปลว่า กิ้งก่าทรราชย์ มาจากภาษากรีก) เป็นสกุลหนึ่งของไดโนเสาร์ประเภทเทอโรพอด ชนิดเดียวที่เป็นที่รู้จักในสกุลนี้คือ ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tyrannosaurus rex; rex แปลว่า ราชา มาจากภาษาละติน) หรือเรียกอย่างย่อว่า ที. เรกซ์ (T. rex) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ มีถิ่นอาศัยตลอดทั่วตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกา ซึ่งกว้างกว่าไดโนเสาร์วงศ์เดียวกัน ไทแรนโนซอรัสอาศัยอยู่ในยุคครีเทเซียสตอน ปลายหรือประมาณ 68 ถึง 65 ล้านปีมาแล้ว เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์พวกสุดท้ายที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนก ซึ่งมีชีวิตอยู่ก่อนการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งที่สามในยุคครีเทเชียส
ไทแรนโนซอรัสเป็นสัตว์กินเนื้อ เดินสองขา มีกะโหลกศีรษะที่ใหญ่ และเพื่อสร้างความสมดุลมันจึงมีหางที่มีน้ำหนักมาก มีขาหลังที่ใหญ่และทรงพลัง แต่กลับมีขาหน้าขนาดเล็ก มีสองกรงเล็บ ถึงแม้ว่าจะมีไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าไทแรนโนซอรัส เรกซ์ แตมันก็มีขนาดใหญ่ที่สุดในไดโนเสาร์วงศ์เดียวกันและเป็นหนึ่งในผู้ล่าที่มี ขนาดใหญ่ที่สุดบนพื้นพิภพ วัดความยาวได้ 13 ม.สูง 4 ม. จากพื้นถึงสะโพก และอาจหนักถึง6.8 ตันในยุคสมัยของไทแรนโนซอรัส เรกซ์ที่ยังมีนักล่าขนาดใหญ่ชนิดอื่นๆนั้น ไทแรนโนซอรัส เรกซ์อาจเป็นนักล่าที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร เหยื่อของมันเช่น แฮโดรซอร์ และ เซอราทอปเซีย เป็นต้น ถึงแม้ว่าผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าโดยพื้นฐานแล้วไทแรนโนซอรัส เรกซ์เป็นสัตว์กินซาก การถกเถียงในกรณีของไทแรนโนซอรัสว่าเป็นนักล่าหรือสัตว์กินซากนั้นมีมานาน มากแล้วในหมู่การโต้แย้งทางบรรพชีวินวิทยา
ไทแรนโนซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่โด่งดังที่สุดในโลก ด้วยฐานะไดโนเสาร์กินเนื้อที่ตัวใหญ่ที่สุด ก่อนจะเสียอันดับให้ คาร์ชาโรดอนโทซอรัส และ จิกแกนโนโตซอรัส และ ปรากฏตัวในภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น จูราสสิค พาร์คไดโนเสาร์ทีเรกซ์ ชื่อซู (Sue) เป็นโครงกระดูกไดโนเสาร์ทีเรกซ์ ที่มีความสมบูรณ์ที่สุด มีขนาดลำตัวยาวกว่า12.8 เมตร และความสูงถึงสะโพก 4 เมตร โดยตั้งชื่อมาจากซูฃานนักธรณีวิทยาที่ค้นพบปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ Field Museum ที่ชิคาโก ในปี 2549 ซูได้เป็นตัวเอกหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (Natural History Museum) ชื่อ Night at the Museum ของ ชอน เลวี่ (Shawn Levy) มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับสิ่งต่างๆในพิพิธภัณฑ์ที่ต้องคำสาปให้กลับมีชีวิต ขึ้นมาในตอนกลางคืน
บารีโอนิกซ์ (Baryonyx) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่อยู่ในวงศ์สไปโนซอร์ มีถิ่นกำเนิดที่อังกฤษ บารีโอนิกซ์มีฟันรูปกรวย มันมีเล็บหัวแม่มือที่ใหญ่กว่าเล็บอื่น ยังมีการพบเกล็ดปลาดึกดำบรรพ์ เลปิโดเทส ที่กระเพาะอาหารของ มันอีกด้วย ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงคาดว่า มันคงจะกินปลาเป็นอาหาร โดยใช้เล็บจิกปลาขึ้นมากิน แต่อย่างไรก็ตาม มันก็กินไดโนเสาร์อื่นๆ และกระทั่งลูกของมันเอง มันมีความยาวประมาณ10.5เมตร อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ120ล้านปีก่อน
แบรกคิโอซอรัส (อังกฤษ: Brachiosaurus) หรือ กิ้งก่าท่อนแขน เป็นซอโรพอดขนาดใหญ่ลำตัวยาว 30เมตรสูง 13-14 เมตรน้ำหนัก 78 ตันหรือเท่ากับช้างแอฟริกา 15 เชือกอาศัยอยู่ในยุคจูแรสซิก 200-130 ล้านปีก่อนที่ขุดค้นพบอเมริกาเหนือ และแอฟริกา เคยเป็นซอโรพอดที่ตัวใหญ่ที่สุดก่อนค้นพบ ซุปเปอร์ซอรัส อาร์เจนติโนซอรัส และไซโมซอรัส
ลักษณะเด่น ของแบรกคิโอซอรัส จากซอโรพอดอื่นคือ บริเวณจมูกบนกระหม่อมมีโหนกยื่นขึ้นมาชัดเจนกว่าคามาราซอรัส หรือ ซอโรพอดอื่น หางสั้นไม่มีปลายแส้ มีขาหน้าที่ยาวกว่าขาหลัง ทำให้ตัวลาดลงแบบยีราฟ ส่งผลให้ส่วนคอของแบรกคิโอซอรัสตั้งชันสูงกว่าซอโรพอดตระกูลอื่นๆ ทำให้มันสามารถหาใบไม้บนยอดสูงได้ดีกว่าพวกอื่น และมีประโยชน์ในการมองเห็น ไดโนเสาร์กินเนื้อแต่ไกล
แบรกคิโอซอรัส ได้เป็นที่รู้จักมาก จากการปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่อง “จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์“แต่มีข้อวิพากย์ถึงท่าทางในภาพยนตร์ ที่มันยืน 2 ขา เพื่อยืดตัวกินยอดใบไม้ ด้วยสาเหตุที่ส่วนคอของมันตั้งสูงเหมาะกับการกินอาหารบนยอดไม้อยู่แล้ว ส่วนขาหลัง 2 ข้างของมันยังสั้นและเล็ก และสรีระทางสะโพกก็น้อย นอกจากนี้มันไม่มีท่อนหางยาวสำหรับคานน้ำหนักเหมือนซอโรพอดวงศ์ดิพโพลโดซิเด ก็ไม่น่าจะแบกรับน้ำหนักของร่างกายช่วงบนเวลาที่มัน“ยืน“ไหว ดังนั้นภาพที่เห็นมันยืน 2 ขาในหนังจึงไม่น่าจะจริง
พลาทีโอซอรัส (อังกฤษ: Plateosaurus) เป็นไดโนเสาร์โปรซอโรพอดของยุคไทรแอสซิก ขนาด 7.8 เมตร อยู่กันเป็นฝูง กินพืชเป็นอาหาร พบที่ทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ เมื่อหน้าแล้งมาถึงมันจะอพยพ มันสามารถเดินได้ทั้ง 4 ขาและ 2 ขา เวลากินอาหารบนต้นไม้จะยืนด้วย 2 ขา แต่เวลาเดินหรือกินอาหารที่อยู่บนพื่นอย่างหญ้า มันก็จะเดิน 4 ขา พบในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย-ยุคจูแรสซิกตอนต้น
ไดโนเสาร์พาราซอโรโลฟัส (อังกฤษ: Parasaurolophus) เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ ในยุคครีเตเชียสตอนปลายพบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ เช่น ในอัลเบอร์ต้า คานาดา หรือรัฐยูทาห์ ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ลักษณะเด่นของพาราซอโรโลพัส คือ หงอนที่มีลักษณะเหมือนท่อกลวงยาว บางตัวอาจจะมีหงอนยาวถึง1.5 เมตร มีไว้ส่งเสียงหาพวก สามารถเดินได้ทั้ง 2 เท้าและ 4 เท้า มีขนาดใหญ่โตพอสมควร เท่าที่ค้นพบไดโนเสาร์พันธุ์นี้จะมีความยาวประมาณ 10 เมตร กินพืชเป็นอาหาร
มาเมนชีซอรัส (อังกฤษ: Mamenchisaurus) เป็นไดโนเสาร์กินพืชที่คอยาวที่สุด ซึ่งเป็นความสูงครึ่งหนึ่งของความสูงทั้งหมด สปีชีส์ส่วนใหญ่อาศัยบนโลกในช่วง 145 – 150 ล้านปีมาแล้ว ในช่วง Tithonian ช่วงปลายของยุคจูแรสซิก
เวโลซีแรปเตอร์ (อังกฤษ: Velociraptor) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ฉลาดและว่องไว มีความยาวประมาณ1.5-1.8เมตร อยู่ในวงศ์โดรเมโอซอร์ มีการออกล่าเหยื่อเป็นกลุ่มเหมือนหมาป่า อาวุธคือเล็บเท้าแหลมคมเหมือนใบมีดที่พับเก็บได้และฟันที่คมกริบ เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่บนโลก ช่วงประมาณ 83-70 ล้านปีก่อนในยุคครีเทเชียส(Cretaceous) มีหลักฐานพบเป็นฟอสซิลในบริเวณเอเซียกลาง(เคยมีการค้นพบฟอสซิลว่ามันต่อสู้กับโปรโตเซราทอปส์ด้วย
สเตโกซอรัส( กิ้งก่ามีหลังคา )เป็นไดโนเสาร์กินพืชจำพวกสะโพกนก( Ornithischia ) ที่มีเกราะป้องกันตัวจำพวกแรกๆ
มีลักษณะโดดเด่น มีขาหน้าสั้น และปากเล็ก มีแผ่นเกล็ดเรียงบนหลังยาวไปจนถึงปลายหางแผ่นเกล็ดนี้มีไว้ขู่ศัตรูโดดสูบ ฉีดเลืดไปที่เกล็ด ซึ่งสันนิษฐานว่ามันมีเส้นเลือดเป็นจำนวนมากในบริเวณนี้ และแผ่นกระดูกนี้ไม่ได้มีไว้สำหรับป้องกันตัว แต่มีไว้เพื่อช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย นอกจากนี้มันยังหนามแหลมที่ปลายหาง ซึ่งเอาไว้ป้องกันตัวจากไดโนเสาร์กินเนื้อในยุคนั้นได้ดี อย่าง อัลโลซอรัส
รูปร่างดูน่ากลัวแต่สมองมันเล็กกว่าถั่วเขียวและหนักไม่ถึง 70 กรัม ลำตัวยาว 9 เมตรหนัก 2-3 ตันอาศัยอยู่ยุคจูแรสซิก 170-130 ล้านปี
สไตราโคซอรัส (อังกฤษ: Styracosaurus, เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /stɪˌrækɵˈsɔrəs, ซไทแระเคอะซอเริส/หมายถึง “กิ้งก่าหัวแหลม” มาจากภาษากรีกโบราณ สไทรักซ์/στύραξ “หัวหอก” และ ซอรัส/σαῦρος “กิ้งก่า“) เป็นสกุลของไดโนเสาร์กินพืชในอันดับเซราทอปเซีย มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียส (ช่วงแคมปาเนียน) เมื่อประมาณ 76.5 ถึง 75.0 ล้านปีมาแล้ว มันมีเขา 4-6 อัน ยื่นออกมาจากแผงคอ และยังมีเขาที่มีขนาดเล็กยื่นออกมาบริเวณแก้มแต่ละข้าง และมีเขาเดี่ยวยื่นออกมาบริเวณเหนือจมูก ซึ่งน่าจะมีความยาวถึง 60 เซนติเมตร (2 ฟุต) และกว้าง 15 เซนติเมตร (6 นิ้ว) ส่วนหน้าที่ของเขาและแผงคอยังไม่มีการยืนยันเป็นที่แน่นอนมาจนถึงปัจจุบัน
สไตราโคซอรัส เป็นไดโนเสาร์ที่มีลักษณะค่อนข้างใหญ่ โดยมีความยาวถึง 5.5 เมตร (18 ฟุต) และหนักเกือบ3 ตัน เมื่อมันยืนจะมีความสูงประมาณ 1.8 เมตร (6 ฟุต) สไตราโคซอรัสมีขาที่สั้น 4 ขาและมีลำตัวที่ใหญ่ มีหางค่อนข้างสั้น มันมีจงอยปากและแก้มแบน บ่งชี้ว่าอาหารของมันคือพืชซึ่งเหมือนกันกับไดโนเสาร์จำพวกเซราทอปเซียสกุล อื่น ไดโนเสาร์ชนิดนี้เป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นฝูง และเดินทางกันเป็นกลุ่มใหญ่
ชื่อของไดโนเสาร์ถูกตั้งโดย ลอว์เรนซ์ แลมเบอ ในปี ค.ศ. 1913 สไตราโคซอรัสเป็นสมาชิกของวงศ์ย่อยCentrosaurinae 2 สปีชี่ส์ ซึ่งได้แก่ S. albertensis และ S. ovatus ในปัจจุบันถูกกำหนดให้อยู่ในสกุลสไตราโคซอรัส
สไปโนซอรัส (อังกฤษ: Spinosaurus) มีความหมายว่าสัตว์เลื้อยคลานมีแผง สไปโนซอรัส ถูกค้นพบครั้งแรกในอียิปต์ ในปี ค.ศ.1910 เป็นสัตว์กินเนื้อยืน 4 ขา มีจุดเด่น คือกระดูกสันหลังสูงเป็นแผ่นคล้ายใบเรือ รูปวงรี มี11ชิ้น ชิ้นที่ยาวที่สุดมีความยาว 1.69 เมตร เชื่อกันว่าใช้ควบคุมอุณหภูร่างกาย กะโหลกศรีษระมีจงอยปากแคบที่เต็มไปด้วยฟันรูปกรวย มีหงอนคู่ขนาดเล็กอยู่เหนือดวงตา แขนแข็งแกร่งมี 3นิ้ว สามารถใช้เป็นอาวุธและจับเหยื่อได้ มีความยาว 16-18 เมตร (ส่วนกะโหลก ยาว 1.75 ม.) น้ำหนัก 7 – 10 ตัน อาศัยอยู่ใน ทวีปแอฟริกา มีชีวิตอยู่ในตอนกลางของยุคครีเตเชียส (100-97 ล้านปีที่แล้ว) ในช่วงที่มันอาศัยอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนกลาง มันมีคู่แข่งที่สำคัญอย่าง คาร์ชาโรดอนโทซอรัส ที่อาศัยอยู่ยุคเดียวกันที่มีความยาว13เมตรและเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ เป็นอันดับ3ของโลก สไปโนซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ1ในโลก , มันมีญาติอย่าง ซูโคไมมัส
สยามโมซอรัส สุธีธรนี (อังกฤษ: Siamosaurus suteethorni) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด ขนาดกลาง พบครั้งแรกที่หลุมขุดค้นที่ 1 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ชิ้นส่วนตัวอย่างต้นแบบเป็นฟัน 9 ซี่ มีลักษณะคล้ายฟันจระเข้ เป็นรูปกรวยยาวเรียว ค่อนข้างตรง และโค้งเล็กน้อยในแนวด้านหลังของฟัน บนผิวของฟันมีร่องและสันนูนเล็กๆตามแนวความยาวของตัวฟันด้านละ 15 ลายเส้นโยงจากฐานของตัวฟันไปยังส่วนของยอดฟันห่างจากส่วนปลายสุดประมาณ 5 มิลลิเมตร แต่ไม่มีลักษณะเป็นหยักแบบฟันเลื่อย ความยาวของตัวฟันทั้งหมด 62.5 มิลลิเมตร ลักษณะฟันดังกล่าวไม่เคยมีรายงานการค้นพบจากที่ใดๆในโลกมาก่อน จึงพิจารณาให้เป็นสกุลและชนิดใหม่ คือ “สยามโมซอรัส สุธีธรนี”
สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส (อังกฤษ: Siamotyrannus isanensis) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด ลำตัวยาวประมาณ 6.5 เมตร พบกระดูกเป็นครั้งแรกที่หลุมขุดค้นที่ 9 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น โดยนายสมชัย เตรียมวิชานนท์ นักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี เมื่อปี พ.ศ. 2536 พบอยู่ในเนื้อหินทรายเนื้อแน่นหมวดหินเสาขัว ยุคครีเทเชียสตอนต้น ชิ้นส่วนกระดูกประกอบด้วยกระดูกสะโพก 1ชิ้น กระดูกเชิงกรานด้านซ้าย ที่วางตัวฝังอยู่ใต้กระดูกสันหลัง ลักษณะของกระดูกเปรียบเทียบได้กับของไดโนเสาร์วงศ์ไทรันนอซอริดี ลักษณะไม่เคยมีรายงานการค้นพบจากที่ใดๆในโลกมาก่อน จึงพิจารณาให้เป็นสกุลและชนิดใหม่ คือ สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส
ลักษณะของกระดูกพิจารณาได้ว่าเป็นของไดโนเสาร์วงศ์ไทรันโนซอร์ มีลักษณะเก่าแก่โบราณมากกว่าไดโนเสาร์ในวงศ์เดียวกันที่ค้นพบจากแหล่งอื่นๆ มากกว่าถึงประมาณ 20 ล้านปี ทำให้สัณฐานได้ว่าไดโนเสาร์วงศ์นี้อาจมีถิ่นกำเนิดและวิวัฒนาการขึ้นเป็น ครั้งแรกในทวีปเอเชียแล้วแพร่กระจายพันธุ์ออกไปจนถึงอเมริกาเหนือในช่วงปลาย ยุคครีเทเชียส
แพทโทซอรัส มีเล็บแหลมตรงนิ้วโป้ง ซึ่งปัจจุบันนักโบราณชีววิทยา สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นอาวุธใช้ป้องกันตัวต่อสู้กับพวกอัลโลซอรัส ด้วยการยืน 2 ขา แล้วใช้เล็บแหลมนี้ทิ่มจิกนักล่า
ที่สำคัญลักษณะเจ้านี้ประหลาดมาก คือ มีหัวใจ 7-8 ดวงรียงจากอกถึงลำคอ เพื่อช่วยในการสูบฉีดเลือดเพราะมีลำตัวยาวมาก นอกจากนี้ พวกนี้มีฟันรูปร่างคล้ายแท่งดินสอที่ไม่แข็งแรงเคี้ยวอะไรไม่ได้ นอกจากพืชน้ำที่นิ่มที่สุดเท่านั้น ( บางข้อมูล ก็เชื่อว่า มันใช้ฟันแท่งดินสอเหล่านี้ รูดใบไม้อ่อนตามยอดต้นไม้กิน)
หัวของมันก็เล็กจิ๋ว เมื่อ เทียบกับ ความใหญ่โตของลำตัว สมองของอะแพทโตซอรัสจึงจิ๋วตามหัวไปด้วย แต่รูจมูกของมัน จะอยู่กลางกระหม่อม สันนิษฐานว่า เพื่อประโยชน์ในการใช้ชีวิตในแหล่งน้ำ ทำให้อะแพทโตซอรัสสามารถดำน้ำได้นาน เพราะขณะดำน้ำ มันจะชูคอ โผล่แต่กระหม่อมขึ้นมาเหนือน้ำ ส่วนตัวก็อยู่ใต้น้ำ ที่มันต้องดำน้ำ ก็เพราะที่อยู่ของเจ้าอะแพทโตซอรัสเป็นถิ่นที่อยู่ของไดโนเสาร์กินเนื้อ พันธุ์ดุร้ายมากมายนั่นเอง และใต้น้ำก็มีต้นไม้อ่อนๆ นิ่ม ๆ ไม่เหมือนต้นไม้บนบก ที่มีใบแข็ง มันจึงต้องดำน้ำ หรือ อยู่ใกล้แหล่งน้ำเสมอ อย่างไรก็ดี ทฤษฎีการดำน้ำของอะแพทโตซอรีส หรือ ซอโรพอดอื่นๆ เริ่มเป็นที่ถกประเด็นในยุคหลัง ว่า เป็นได้จริงแค่ไหน โดยนักชีววทิยามีความเห็นว่า หากซอโรพอดต้องหลบศัตรูโดยดำน้ำลงไปลึกเกือบ 10 เมตรจริง ลำคอ และ ปอดของมันจะทนทานแรงกดดันของน้ำลึกขนาดนั้นหรือไม่
ภาพพจน์ในอดีต ของอะแพทโตซอรัส ถูกมองว่าเป็นยักษ์ไร้พิษสง มักจะพบภาพของมันถูกวาดให้โดนไดโนเสาร์นักล่าตระครุบขย้ำเป็นอาหาร (ในจำนวนนี้ มีมากที่เป็นภาพ ไทรันโนซอรัส กำลังล่า อะแพทโตซอรัส ผิดจากความเป็นจริงที่ ว่า เหยื่อกับนักล่า 2 พันธุ์นี้ มีชีวิตอยู่คนละยุคห่างกันหลายสิบล้านปี ไม่สามารถมาเผชิญหน้ากัน) เนื่องจาก ลักษณะของมันไม่มีอาวุธป้องกันตัวที่เด่นเช่น เขาขนาดใหญ่แบบไทรเซอราทอปส์ หรือ หนาม-ตุ้ม ที่หางแบบไดโนเสาร์หุ้มเกราะ แต่การค้นคว้าสมัยหลังๆ เชื่อว่า มันไม่ใช่เหยื่อตัวยักษ์ที่หวานหมูนักล่าขนาดนั้น ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่กว่า นักล่าหลายเท่านั้น ก็เป็นอุปสรรคแก่นักล่าระดับหนึ่งแล้ว เช่นเดียวกับ ช้าง ในปัจจุบัน
อะแพทโตซอรัสมีหางที่ยาวมาก เพื่อถ่วงคานน้ำหนักกับส่วนคอที่ยาวของมัน คำนวณกันมาว่า หากไม่มีส่วนหาง อะแพทโตซอรัสจะไม่สามารถยกคอมันขึ้นจากพื้นได้ นอกจากนี้ หางใหญ่ของมันยังเป็นอาวุธป้องกันตัวสำคัญใช้ฟาดอย่างแรงเมื่อถูกอัลโลซอรัส หรือ นักล่าอื่นๆโจมตี ส่วนตรงปลายหางที่เรียวเล็กก็ใช้หวดต่างแส้ได้เช่นกัน
อัลโลซอรัส (อังกฤษ: Allosaurus) ไดโนเสาร์นักล่าก่อนยุคไทรันโนซอรัสแต่ตัวเล็กกว่า อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิคเมื่อ 155-145 ล้านปีก่อน ขนาดทั่วไปมีความยาวประมาณ 8.5 เมตร (29 ฟุต) สูงจากพื้นถึงไล่ประมาณ 3.2เมตร แต่ก็มีพบขนาดใหญ่ที่สุดมากกว่า 10 เมตร (34 ฟุต) มีหน้าตาคล้ายกิ้งก่าขนาดใหญ่ มีปุ่มเขาขนาดเล็กเหนือดวงตา ขากรรไกรทรงพลังมีฟันเรียงราย แม้จะไม่เทียบเท่าตระกูลไทรันโนซอรัสในยุคหลัง ร่างกายมีความสมดุลโดยยาวและหางหนัก ตามคุณสมบัติของตระกูล อัลโลซอร์ มันมีญาติอันตรายอย่าง คาร์ชาโรดอนโทซอรัส และ กิก้าโนโตซอรัส
อิกัวโนดอน (อังกฤษ: Iguanodon) เป็นสิ่งมีชีวิตสกุลหนึ่งในกลุ่มของไดโนเสาร์กินพืช มีขาหลังใหญ่และแข็งแรง ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในปลายยุคจูแรสซิกและต้นยุคครีเทเชียส (ประมาณ 135 ถึง 110 ล้านปีมาแล้ว) ในพื้นที่กว้างใหญ่ตั้งแต่ทวีปยุโรป ไปจนถึงตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออก
กิเดียน แมนเทล แพทย์และนักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ ค้นพบอิกัวโนดอนเมื่อ พ.ศ. 2365 (ค.ศ. 1822) นับเป็นไดโนเสาร์ชนิดแรก ๆ ที่พบ และมีรายงานทางวิทยาศาสตร์เผยแพร่ในสามปีต่อมา ที่ตั้งชื่อว่าอิกัวโนดอนเพราะฟันของมันคล้ายกับฟันของอิกัวนา และเป็นหลักฐานชิ้นแรกที่แสดงว่าไดโนเสาร์พัฒนามาจากสัตว์เลื้อยคลาน
อิกัวโนดอนเป็นสิ่งมีชีวิตสกุลที่มีขนาดใหญ่และพบกระจัดกระจายอยู่เป็น บริเวณกว้างมากที่สุดเมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตวงศ์เดียวกัน ลำตัวของมันยาวกว่า 10 เมตร เมื่อยืดตัวขึ้นจะมีความสูง 5 เมตร หนัก 4-5 ตัน สันนิษฐานว่าอิกัวโนดอนเคลื่อนที่โดยใช้ขาทั้ง 4 ขา แต่ก็อาจเดินได้โดยใช้เพียงสองขา มือที่ ขาหน้าของอิกัวโนดอนมี 5นิ้ว หัวแม่มือแข็งแรงและชี้ขึ้นตั้งฉากกับฝ่ามือ ซากดึกดำบรรพ์และรอยเท้าที่พบทำให้เชื่อว่าอิกัวโนดอนมักอยู่เป็นฝูง
อูราโนซอรัส (อังกฤษ: Ouranosaurus) ชื่อของมันมีความหมายว่า กิ้งก่าผู้กล้าหาญ ตรงกลางที่หลังมีกระดูกที่เหมือนกับหนามโผล่ ขึ้นมาเรียงเป็นแถวและมีหนังห่อหุ้มอยู่ เหมือนพวกสไปโนซอริดซ์ แต่กลับเป็นพวกอิกัวโนดอน ครีบนี้มีหน้าที่ปรับอุณภูมิของร่างกาย ขนาด 7 เมตร อยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น เมื่อประมาณ 110ล้านปีก่อน พบที่ทวีปแอฟริกาเป็นเหยื่อที่ล่าง่ายๆของสไปโนซอรัสที่ยาว 17 เมตร
โอวิแรปเตอร์(อังกฤษ: Oviraptor)มี หงอนเป็นเอกลักษณ์ ปากของมันออกแบบมาเพื่อจิกกินไข่ ยาว 2 เมตร พบที่มองโกเลีย มีการค้นพบฟอสซิลของมันอยู่กับลูกในรังของมัน ในท่ากกไข่ หลายชุด เป็นหลักฐานที่ระบุว่ามันเป็นไดโนเสาร์ที่เลี้ยงลูกของมันอย่างดี ฟอสซิลในท่ากกไข่ของโอวิแรปเตอร์ ตัวนั้นอาจตายตอนมีพายุทรายพัดมา พบในชั้นหินของยุคครีเทเซียส ช่วงเวลา 90-85 ล้านปี
เฮอรีราซอรัส (อังกฤษ: Herrerasaurus) มีชีวิตอยู่ในช่วงต้น ของยุคไทรแอสสิค พบในทวีปอเมริกาใต้ เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในยุคไทรแอสสิค ความ ยาว 5 เมตร คล้ายนก ฟันมีลักษณะแหลมคม คอสั้น กระดูกต้นขายาว กว่ากระดูกหน้าแข้ง มีนิ้วเท้า 4 นิ้ว กระดูกสะโพกชิ้นหน้าเอียงไปทางด้านหลังค่อนข้าง คล้ายกับไดโนเสาร์ที่มีสะโพกเหมือนนก ชื่อของมันมีความหมายว่า กิ้งก่าเฮอร์รีรา