ไม่ว่าจะเป็นการลดขนาดเครื่องยนต์ให้เล็กลง แต่เพิ่มประสิทธภาพให้มากขึ้น รวมถึงการผลิตรถที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือที่เราเรียกกันว่ารถยนต์พลังงานสะอาดออกมาอย่างต่อเนื่อง
รถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน 100% สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ Battery EV (BEV) และ Fuel Cell EV (FCEV)
แหล่งพลังงานของ BEV
โดยส่วนมากแล้ว แบตเตอรี่ที่ใช้กันในรถ BEV จะเป็นแบตเตอรี่ชนิด ลิเธียมไอออน (Lithium-Ion อีกชื่อ Li-Ion)
เดิมทีนั้นแบตชนิดนี้ถูกใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ทั่วไป เช่นโทรศัพท์มือถือ หรือ โน๊ตบุ๊ก ก่อนที่จะถูกพัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และสามารถเก็บประจุได้เพียงพอสำหรับใช้ในรถไฟฟ้า
แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นที่นิยมมากสำหรับรถไฟฟ้าแบบ BEV ในปัจจุบัน ซึ่งมีข้อดีคือ
– มีน้ำหนักเบา
– อายุการใช้งานนาน สามารถเก็บประจุไฟได้นานกว่าแบตเตอรี่แบบอื่น
– ให้พลังงานที่สูง คงที่ และชาร์จได้เร็ว
– เป็นเซลล์แห้ง ปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่น
และการที่จะได้มาซึ่งแบตเตอรี่ Li-Ion สักหนึ่งก้อนนั้นจะต้องมีวัสดุต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นธาตุสำหรับใช้ทำขั้วบวกขั่วลบของแบต, โลหะที่นำมาใช้เป็นวัสดุสำหรับทำตัวรับกระแส เป็นต้น
ขณะที่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้ากำลังโตขึ้นไปเรื่อยๆ ปริมาณของวัสดุที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่กลับเดินทางในทิศทางที่ตรงกันข้าม
ปัญหาโคบอลต์ขาดแคลน ฝันร้ายของรถไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นภายในปี 2050
Tesla คาดทั่วโลกจะขาดแคลนธาตุสำหรับผลิตแบตเตอรี่ ที่ใช้กับรถไฟฟ้า
เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2019 ที่ผ่านมา สำนักข่าว Reuters รายงานถึงคำพูดของ Sarah Maryssael หัวหน้าฝ่ายจัดหาแร่ของ Tesla กล่าวในการประชุมภายในของบริษัทว่า
ในอนาคตอัตใกล้นี้บริษัทจะขาดแคลนแร่นิกเกิล, ทองแดง และลิเทียม ซึ่งเป็นวัสดุหลักในการผลิตแบตเตอรี่รถไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของพวกเขา
ตามรายงานข่าว แร่สำคัญที่ทาง Tesla เป็นกังวลก็คือทองแดง เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมายังมีเหมืองทองแดงที่ไม่มากพอ
และรถไฟฟ้าเองก็ต้องการแร่ทองแดงในการผลิต มากกว่ารถเครื่องยนต์สันดาปภายในถึง 2 เท่า
นอกจากนี้ทาง Tesla เองก็กำลังต้องการนิกเกิลที่มากขึ้น เนื่องจากต้องการใช้ทดแทนโคบอลต์ ในการผลิตแบตเตอรี่ของรถไฟฟ้า
จากปัญหาที่เกิดขึ้นนำมาสู่ไอเดีย “ตั้งเหมืองแร่” ของ Elon Musk เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา
หลังการประชุมผู้ถือหุ้นของ Tesla ซีอีโอหนุ่มบอกว่า พวกเขาอาจต้องเข้าสู่ธุรกิจเหมืองแร่ เพื่อหาแร่มาใช้ในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าด้วยตัวเอง
ปัจจุบัน Tesla มีโรงงานสำหรับผลิตแบตเตอรีของตัวเองอยู่แล้ว นั่นก็คือ โรงงาน Gigafactory 1 อยู่ที่รัฐเนวาดา
ที่มา techcrunch, reuters, nissan, mtec, medium และ ที่มา https://www.magcarzine.com