SSD vs. HDD ความเร็ว
มารู้จักข้อมูลพื้นฐานของ ssd กับ hdd กันก่อน
ssd กับ hdd ทั้งสองอย่างเป็นเทคโนโลยีในการเก็บข้อมูลเหมือนกัน แต่จะมีลักษณะการทำงานไม่เหมือนกัน hdd เป็นฮาร์ดดิกส์แบบจานหมุนแม่เหล็กโดยจะมีความเร็วในการอ่านข้อมูลอยู่ที่ 7200 รอบต่อนาที และสามารถส่งข้อมูลได้ประมาณ 150-200 MBps ซึ่งมันถูกเริ่มต้นและใช้งานเทคโนโลยีนี้มาประมาณ 60 ปีแล้ว ส่วน ssd นั้น จะเป็นการเก็บข้อมูลที่สามารถเข้าถึงข้อมูลด้วยเทคโนโลยีเดียวกันกับ flash drive มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล 400 MBps แต่จะไม่เกิน 600 MBps ใช้หลักการอ่านเขียนลงบนตัวชิปของอุปกรณ์ เมื่อเปรียบเทียบ sdd กับ hdd แล้วความสามารถรองรับการโอนถ่ายหรือบันทึกข้อมูลซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่หลักแล้วนั้นการรองรับข้อมูลที่มีปริมาณมาก ๆ นั้น sdd จะทำได้เร็วกว่า
ssd กับ hdd เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ก่อนจะเลือกใช้งาน
การจะเลือกระหว่าง ssd กับ hdd อาจจะต้องดูมากกว่าความเร็วการบันทึกหรืออ่านข้อมูล เพราะจะมีหลายปัจจัยที่ผู้ใช้งานควรจะรู้
- ความทนทาน/ความเสถียร สำหรับข้อนี้ให้คะแนน ssd เพราะด้วยการทำงานลักษณะของเซลล์หน่วยความจำเป็นบล็อก ทำให้ลดโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการเขียน เปรียบเทียบกับ hdd ที่ลักษณะจานหมุนจะเกิดการเสียหายของข้อมูลได้ง่าย หากมีการตกหล่นของอุปกรณ์
- อายุการใช้งาน ข้อนี้ให้คะแนน hdd เพราะเมื่อเทียบกันแล้ว ssd กับ hdd นั้น การทำงานของ ssd ด้วยการเขียนข้อมูลลบข้อมูลซ้ำ ๆ บนเซลล์วนไปเรื่อย ๆ จะทำให้ไดร์ฟเสื่อมสภาพได้เร็ว ส่วน hdd นั้นตราบใดที่จานยังหมุนได้ ก็ยังสามารถทำงานได้เรื่อย ๆ
- การสิ้นเปลืองพลังงาน คะแนนค่อนข้างจะสูสี ssd อาจจะเหนือกว่านิดหน่อย สำหรับผู้ใช้งานตามบ้านหรือการทำงานทั่วไป อาจจะไม่รู้สึกเลย
- การเล่นเกมหรือการทำงานกราฟิก ด้วยเทคโนโลยีของ ssd ทำให้การบันทึกข้อมูลได้เร็วขึ้น ซึ่งจะถูกใจคอเกมหรือการทำงานกราฟิก และการออกแบบภาพเคลื่อนไหว ที่จะต้องดาวน์โหลดข้อมูลและบันทึกข้อมูลในปริมาณที่มาก
- ราคา อันนี้ต้องบอกว่า hdd ยังถูกกว่ามาก ถ้าเรายังไม่มีความต้องการที่จะใช้ข้อมูลปริมาณมาก หรือความรวดเร็วของการบันทึกข้อมูล hdd จะทำให้เราจ่ายน้อยกว่า
SSD หรือ HDD ทนทานมากกว่ากัน
SSD มีน้ำหนักเบากว่า HDD, ใช้พลังงานน้อยกว่า และโดยรวมแล้วไม่สั่นสะเทือน เนื่องจากไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ นอกจากนี้ ยังสามารถทนต่ออุบัติเหตุการตกหล่นได้ดีกว่า HDD SSD จัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ลงใน “เซลล์” ซึ่งทำให้เข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่า HDD แบบหมุน
โดยทั่วไป SSD ทนทานกว่า HDD ในด้านการพกพาและอุบัติเหตุตกหล่น SSD รุ่นที่ทนทานแข็งแกร่ง เช่น My Passport SSD สามารถทนทานต่อการตกที่ระดับสูงถึง 1.98 เมตร (บนพื้นปูพรม) ในขณะที่ถ้าเป็น HDD จะเกิดความเสียหายอย่างมาก
HDD ยังมีการใช้งานโดยสถาบันขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร รัฐบาล และศูนย์ข้อมูล เพราะราคาต่อ GB ต่ำกว่า SSD และเมื่อ คุณต้องจัดการกับข้อมูลปริมาณมหาศาล ต้นทุนจึงเป็นปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณา ถ้าความทนทานเป็นสิ่งสำคัญเมื่อคุณต้องทำงานขณะเดินทาง คุณจึงควรมีไดรฟ์แบบพกพา เช่น G-DRIVE ArmorATD ที่สามารถรองรับการกระแทกและภาวะสมบุกสมบันได้
เปรียบเทียบ SSD ดีกว่า HDD อย่างไร
1.มีความทนทานกว่า
ส่วนหนึ่งที่ SSD แตกต่างไปจาก HDD เลยก็คือ SSD ไม่มีมอเตอร์ จานหมุนภายใน หรือกลไกที่เกิดการเคลื่อนไหวในขณะทำงาน ทำให้ SSD มีความทนทานต่อแรงสั่นสะเทือนหรือแรงกระแทกได้ดีกว่า
2.มีความเร็วในการอ่านข้อมูลมากกว่า
SSD สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้เร็วกว่า HDD ถึง 10 เท่า รวมถึงมีความเร็วมากกว่า HDD ถึง 100 เท่าในการเข้าถึงข้อมูลและรับคำสั่ง ส่งผลให้การเปิดใช้งานโปรแกรมและระบบต่าง ๆ รวดเร็วกว่า
3.ใช้พลังงานน้อยกว่า
เนื่องจาก SSD มีขนาดเล็กและไม่มีจานแม่เหล็กหมุน ทำให้ SSD ใช้พลังงานในการทำงานน้อยกว่า HDD รวมถึง SSD ยังใช้พลังงานในการโหลดข้อมูลสูงสุดที่น้อยกว่า HDD ถึง 3 เท่า ความร้อนสะสมก็น้อยกว่า ทำให้โน้ตบุ๊กสามารถใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ได้นานนั่นเอง
4.น้ำหนักและเสียงรบกวนน้อยกว่า
อย่างที่บอกไปว่า SSD ไม่มีอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนที่เป็นกลไก หรือจานหมุนเหมือน HDD ทำให้ไม่มีการเคลื่อนไหวของอุปกรณ์ ส่งผลให้ทำงานได้เงียบสนิท และด้วยขนาดที่เล็กลง น้ำหนักจึงน้อยกว่า
5.คุ้มค่ากว่า
ด้วยความที่ SSD เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ผลิตออกมาและมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีกว่า แม้จะมีราคาที่สูงกว่าแต่ประสิทธิภาพที่ได้ก็สูงกว่า HDD ถึง 10 เท่า นอกจากเรื่องประสิทธิภาพแล้ว ยังมีเรื่องความสะดวกในการใช้ ความประหยัดพลังงาน และน้ำหนักที่น้อยกว่ามาก
ข้อจำกัดของ SSD เมื่อเทียบกับ HDD
1.ราคาสูงกว่า
SSD ในปัจุบันมีราคาที่ถูกลงกว่ามาก แต่ก็ยังถือว่าแพงเมื่อเทียบกับ HDD ในราคาที่เท่ากัน ยกตัวอย่างการราคาที่ซื้อ SSD 256 GB สามารถซื้อ HDD ที่มีความจุ 1-2 TB ได้
2.กู้ข้อมูลยาก
อีกหนึ่งข้อจำกัดของ SSD คือ หากเราบันทึกข้อมูลไว้ใน SSD แล้วไฟล์เสียหาย โอกาสในการกู้คืนกลับมาแทบจะเป็นไปไม่ได้ ด้วยลักษระของการเก็บข้อมูลไว้ในชิป แม้จะย้ายไปใส่เมนบอร์ดอื่น ก็อาจจะกู้ไม่ได้อยู่ดี
3.ข้อจำกัดในการเขียนข้อมูลซ้ำ
เป็นข้อจำกัดที่มีการพัฒนาอย่าต่อเนื่อง ซึ่ง SSD มีลักษณะการเก็บข้อมูลในชิป ทำให้ในยุคแรก ๆ SSD สามารถเขียนซ้ำได้แค่หลักพันครั้ง แต่ปัจจุบันสามารถเขียนซ้ำได้เป็นหมื่นเป็นแสนครั้ง แต่ก็ยังถือว่าเป็นข้อจำกัดในการใช้งาน
สำหรับ HDD ที่ใช้พอร์ตเชื่อมต่อแบบ SATA 6Gb/s หรือที่นิยมเรียกกันว่า SATA III ซึ่ง HDD ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะใช้พอร์ตนี้ในการรับส่งข้อมูล
ความเร็วของ HDD แบบทั่วไปในปัจจุบันจะเป็นดังต่อไปนี้
- HDD 5,400 rpm
อ่านข้อมูล ~100 MB/s เขียนข้อมูล ~100 MB/s - HDD 7,200 rpm
อ่านข้อมูล ~120 MB/s เขียนข้อมูล ~120 MB/s
ที่เราเลือกใช้คำว่า “ทั่วไป” ก็เพราะความเร็วในการอ่าน และเขียนของ HDD นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเร็วรอบหมุนเป็นหลักนะครับ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ยกตัวอย่างง่ายๆ นะครับ HDD ขนาด 500 GB กับ HDD ขนาด 2 TB อาจจะมีขนาดของจานแม่เหล็กเก็บข้อมูล (Platter) ที่เท่ากัน แต่ความหนาแน่นในการเก็บข้อมูล (Data Density) นั้นต่างกันมาก
โดย HDD ที่มี Data Density น้อยจะใช้เวลาเยอะกว่า HDD ที่มี Data Density สูง ในการอ่านข้อมูลขนาดเท่ากัน และไหนจะเรื่องของตำแหน่งในการเก็บข้อมูลว่าอยู่รอบใน รอบนอกอีก เพราะมันจะทำให้หัวอ่านเขียนข้อมูล (Read and Write Head) ต้องขยับเคลื่อนตัวเข้าออกมาก จึงทำให้เสียเวลามากเช่นกัน
ภาพจาก http://www.active-undelete.com/hdd_basic.htm |
ภาพจาก http://kyambille.weebly.com/lecture—7.html |
ทำไมไม่ทำ HDD ที่มีรอบหมุนสูงๆ ไปเลย ?
ตัวดิสก์ที่ใช้บันทึกข้อมูลนั้นมีความบางมาก เมื่อหมุนด้วยความเร็วสูงจะทำให้ตัวแผ่นเก็บข้อมูลต้องรับภาระแรงหมุน รวมไปถึงแรงเหวี่ยงต่างๆ ที่หนักมาก ทำให้เกิดความเสียหายกับตัวแผ่นแม่เหล็กได้ ไหนจะทำให้แรงเสียดสีกับหัวอ่านเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งจะทำให้ความเสถียรในการอ่านข้อมูลลดต่ำลง และอีกประเด็นหนึ่ง คือ การหมุนด้วยความเร็วสูงนั้น จะทำให้เกิดความร้อนสูงขึ้น รวมไปถึงใช้พลังงานมากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม ต่อให้แก้ปัญหาดังกล่าวได้ ด้วยปัญหาทางด้านของกายภาพ ความเร็วที่ได้ ก็ไม่ได้ทำให้ HDD เร็วไปกว่า SSD อยู่ดี
ความเร็วในการเขียน และ ความเร็วในการอ่าน ข้อมูลของ SDD
SSD หรือ Solid-State Drive นั้นทางทีมงาน Thaiware เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดนี้กันไปแล้ว ดังนั้นเราจึงไม่ขอลงรายละเอียดมากนัก จะขอพูดถึงเรื่องของความเร็วเพียงอย่างเดียวเลยละกัน
SSD เก็บข้อมูลลงในชิป ไม่มีส่วนที่เคลื่อนไหว ทำให้การอ่าน และเขียนข้อมูลทำได้ไวกว่าจานแม่เหล็กใน HDD หลายเท่า
- SSD แบบ SATA III
อ่านข้อมูล ~530 MB/s เขียนข้อมูล ~500 MB/s - SSD แบบ NVMe (M.2, U.2, PCIe 3.0)
อ่านข้อมูล ~3,500 MB/s เขียนข้อมูล ~3,000 MB/s - SSD แบบ NVMe PCIe 4.0
อ่านข้อมูล ~6,500 MB/s เขียนข้อมูล ~4,500 MB/s
ที่มา : pureinfotech.com , www.cloudwards.net , www.enterprisestorageforum.com , www.transcend-info.com , www.wepc.com , www.tested.com , www.engadget.com , www.amazon.com , www.reddit.com