William Gilbert นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ชาวอังกฤษที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งไฟฟ้าและแม่เหล็ก” ผู้บุกเบิกงานวิจัยเกี่ยวกับอำนาจแม่เหล็ก แนวคิดแปลกใหม่ของเขาสร้างเป็นแรงบันดาลใจให้ Galileo
บทความน่ารู้ เรื่อง แม่เหล็ก
ชาวกรีกโบราณค้นพบแร่ชนิดหนึ่งที่สามารถดึงดูดเหล็กได้ เรียกแร่นั้นว่า แมกนีไทต์ (magnetite) ปัจจุบันเรียกวัสดุที่ดึงดูดเหล็กได้ว่า แม่เหล็ก (magnet) ด้วยสมบัติการวางตัวของแม่เหล็ก จึงมีการประยุกต์นำไปสร้างเป็นเข็มทิศเพื่อใช้ในการบอกทิศทาง
แม่เหล็ก (Magnet) คืออะไร?
แม่เหล็ก คือ วัตถุที่มีคุณสมบัติในการดึงดูดโลหะบางชนิดได้ โดยเฉพาะวัตถุที่มี สารแม่เหล็ก (Magnetic Substance) อย่าง เหล็ก โคบอลต์ และนิกเกิล เป็นส่วนประกอบหลัก
โดยปกติแล้วแม่เหล็ก 1 แท่งจะประกอบไปด้วย 2 ขั้วแม่เหล็กที่ตรงข้ามกันเสมอ นั้นก็คือ ขั้วเหนือ (North pole) และขั้วใต้ (South pole) ซึ่งที่มาของชื่อขั้วแม่เหล็กทั้ง 2 นั้น ได้มาจากทิศทางการหันของแท่งแม่เหล็กค่ะ เพราะว่าเวลาแท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะลอยอยู่บนน้ำหรือแขวนอยู่ในอากาศ เมื่อถูกทำให้หยุดนิ่ง ปลายทั้ง 2 ด้านของแท่งแม่เหล็ก จะหันไปทางทิศเหนือและทิศใต้ของโลกเสมอ ดังนั้น ปลายแท่งแม่เหล็กที่หันไปทางทิศเหนือของโลก จึงถูกเรียกว่า ขั้วเหนือ (N) และปลายแท่งแม่เหล็กอีกด้านที่หันไปทางทิศใต้ของโลก จึงถูกเรียกว่า ขั้วใต้ค่ะ (S) คนส่วนใหญ่มักเรียกขั้วแม่เหล็กเป็น ขั้วบวกและขั้วลบ ซึ่งจริง ๆ แล้วขั้วบวกกับขั้วลบ เราจะใช้เรียกกับขั้วไฟฟ้า อย่างเช่น ถ่านไฟฉายและแบตเตอรี่
ขั้วแม่เหล็กโลก (geomagnetic pole) จะอยู่ใกล้กับขั้วเหนือทางภูมิศาสตร์ (geographical north pole) และขั้วใต้ทางภูมิศาสตร์ (geographical south pole) ซึ่งเปรียบเสมือนแท่งแม่เหล็กวางตัวในแนวเหนือ-ใต้
ดังนั้น เมื่อวางเข็มทิศในบริเวณที่ไม่มีแม่เหล็กอื่นรบกวน เข็มชี้ทิศเหนือของเข็มทิศ จะชี้ไปยังขั้วใต้ของขั้วแม่เหล็กโลก (ขั้วโลกเหนือทางภูมิศาสตร์) และเข็มชี้ทิศใต้ของเข็มทิศจะชี้ไปยังขั้วเหนือของขั้วแม่เหล็กโลก (ขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์) จะเห็นว่าเข็มชี้ของเข็มทิศจะชี้ไปยังขั้วแม่เหล็กโลกซึ่งจะตรงข้ามกับขั้วทางภูมิศาสตร์
เหล็กของแท่งแม่เหล็กสองแท่งมาไว้ใกล้กัน ขั้วชนิดเดียวกันจะผลักกัน ขั้วต่างชนิดกันจะดึงดูดกัน