ปรากฏการณ์เรือนกระจกคืออะไร?
ปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจาก พลังงานแสงอาทิตย์ ์ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดย โมเลกุลของ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ C2O มีเทน (CH4) และ CFCsไนตรัสออกไซด์ (N2O)ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเหล่านี้มีพลังงานสูงขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันทำให้ อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นการถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้ ต่อๆกันไป ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเกิดการสั่นการเคลื่อนไหว ตลอดเวลาและมาชน ถูกผิวหนังของเรา ทำให้เรารู้สึกร้อน
เรือนกระจก
ในประเทศในเขตหนาวมีการเพาะปลูกพืชโดยอาศัยการควบคุมอุณหภูมิความร้อนโดยใช้หลักการที่พลังงาน ความร้อนจากแสงอาทิตย์ส่องผ่านกระจก แต่ความร้อนที่อยู่ภายในเรือนกระจกไม่สามารถสะท้อนกลับออกมา ทำให้อุณหภุมิภายในสูงขึ้นเหมาะแก่การเพาะปลูกของพืช จึงมีการเปรียบเทียบปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นนี้ว่าภาวะ เรือนกระจก(greenhouse effect)
ก๊าซชนิดใดบ้างที่มีบทบาทในการทำให้เกิดปรากฏการณ์ให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
– ก๊าซมีเทน (CH4) เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จากมูลสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย การเผาไหม้เชื้อเพลิง ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ
– ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ การใช้ปุ๋ย มูลสัตว์ที่ย่อยสลาย การสันดาปน้ำมันเชื้อเพลิงจากอุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในขบวนการผลิต เช่นอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมพลาสติก
บางชนิดอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยไนลอน
– คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon- CFCs) เป็นสารสังเคราะห์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม
ประกอบด้วย คาร์บอน (C) คลอรีน (Cl) และฟลูออรีน (F) ซึ่งเป็นสารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนเป็นสาเหตุ ุทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น รังสีเหนือม่วงชนิด B หรือ Ultraviolet B ส่งมายังผิวโลกมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ใน
อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เครื่องทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ โฟม กระป๋องสเปรย์ สารดับเพลิง สารชะล้าง ในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์
ในปัจจุบันมีการตระหนักถึงความสำคัญของชั้นโอโซนมากขึ้นและพบว่าสาเหตุหลักของปัญหา
ชั้นโอโซนถูกทำลายนั้นมาจากสารกลุ่ม CFCsเป็นหลัก นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับสารเคมีในกลุ่มฮาโลคาร์บอนซึ่งประกอบด้วยอะตอมของคลอรีน ฟลูออรีน โบรมีน คาร์บอน และไฮโดรเจน จากการสำรวจโอโซนที่บริเวณ
ขั้วโลกใต้ ในปี พ.ศ. 2528 พบหลุมโอโซนที่ขั้วโลกใต้ (antartic ozone hole) ซึ่งการถูกทำลายนี้จะเกี่ยวข้อง กับสารคลอรีนเสมอ ทำให้ประเทศในกลุ่มซีกโลกตะวันตกและองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
มีมาตรการดำเนินการเพื่อป้องกันและมีข้อกำหนดต่างๆขึ้น
กรีนเฮาส์เอฟเฟกต์ (Greenhouse Effect) แปลตามความหมายของศัพท์ว่า “ผลที่เกิดในเรือนกระจก” เรือนกระจกหรือกรีนเฮาส์ (greenhouse) ก็คืออาคารที่ทำด้วยกระจกทั้งหลังเพื่อใช้ปลูกต้นไม้ในฤดูหนาวในประเทศที่มีอากาศหนาวจัด เช่น เนเธอร์แลนด์ ภายในเรือนกระจกมีเครื่องทำความร้อน กระจกนั้นเป็นฉนวนกั้นความร้อนจึงกั้นไม่ให้ความร้อนภายในแผ่ออกไปได้ ด้วยสมบัติโปร่งแสงของกระจกแสงอาทิตย์จึงส่องเข้ามาภายในได้ ผลก็คือภายในเรือนกระจกจะมีอากาศอบอุ่นอยู่ตลอดเวลา
แต่ความหมายของคำ “กรีนเฮาส์เอฟเฟกต์” ที่ใช้ในวงการวิทยาศาสตร์ หมายถึง ปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิของโลกมีค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมลพิษที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้เข้าสู่บรรยากาศของโลกเป็นจำนวนมาก เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเกิดขึ้นจากการเผาไหม้ เช่น เผาไม้ทำเชื้อเพลิง เผาป่าเพื่อนำที่ดินไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น พืชพรรณไม้ในป่าต้องอาศัยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการสังเคราะห์แสงก็ถูกทำลายไปด้วย ดังนั้น ปริมาณของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จึงเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนั้น การเผาไหม้และการขุดเจาะน้ำมันเชื้อเพลิงจากใต้ดิน เช่น น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงทุกชนิด พบมากที่สุดจากไอเสียรถยนต์ แก๊สมีเทนซึ่งเกิดจากการเน่าเปื่อยของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ และแก๊สคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน ซึ่งมีหลายชนิดและมีชื่อเรียกทางการค้าต่าง ๆ กัน เช่น ฟรีออน ฮาลอน ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในเครื่องทำความเย็น สารฉีดพ่นหรือขับดันในกระป๋องสเปรย์ สารนี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดกรีนเฮาส์เอฟเฟกต์เพราะเมื่อถูกปล่อยออกไปในอากาศ จะลอยขึ้นไปจนถึงบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์และทำปฏิกิริยากับแก๊สโอโซน ทำให้ปริมาณของแก๊สโอโซนลดลง
-ขอบคุณข้อมูล http://legacy.orst.go.th/ และ
https://il.mahidol.ac.th/