เนื่องจากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจจะเรียกชื่อแตกต่างกันในแต่ละประเทศ แม้ในประเทศเดียวกันแต่อยู่ในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ก็อาจจะเรียกชื่อต่างกัน ดังนั้นจึงต้องมีการตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตที่เป็นสากลซึ่งเรียกว่า ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) สิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะมีผู้ตั้งชื่อไว้เพื่อใช้เรียกหรืออ้างถึงมี 2 ชื่อคือ
1. ชื่อสามัญ (Common name) เป็นชื่อที่ใช้เรียกสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไป ชื่อสามัญตามลักษณะ เช่น ว่านหางจระเข้สาหร่ายหางกระรอก สนหางม้า ต้นแปรงล้างขวด ตั๊กแตนกิ่งไม้ ผีเสื้อใบไม้ ฯลฯ ชื่อสามัญตามถิ่นกำเนิด เช่นหนวดฤๅษีสเปน ผักตบชวา กกอียิปต์ มันฝรั่ง ยางอินเดีย ฯลฯ ชื่อสามัญตามประโยชน์ที่ได้รับ เช่น หอยมุก สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจมีชื่อสามัญหลายชื่อ แมลงชนิดหนึ่งภาคกลางเรียก “จิงโจ้น้ำ” แต่ภาคเหนือ (แม่ฮ่องสอน) เรียกว่า “หมาน้ำ” แมลงปอ ภาคเหนือเรียกว่า “แมงกะบี้” ภาคใต้เรียก “แมงพื้” ภาคตะวันออก (ปราจีนบุรี) เรียกว่า “แมงฟ้า”
การใช้ชื่อสามัญหรือชื่อท้องถิ่นเหมาะที่จะใช้สื่อสารและอ้างถึงเพื่อการเข้าใจที่ตรงกันในท้องถิ่นนั้น ๆ ทำให้เกิดความสับสนสำหรับการศึกษาและอ้างถึงสิ่งมีชีวิตในเชิงวิชาการเพราะเข้าใจไม่ตรงกัน
2. ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) เป็นชื่อสากลที่ใช้เรียกชื่อสิ่งมีชีวิตอย่างมีกฎเกณฑ์และมีชื่อเดียวเท่านั้น ใช้ภาษาละตินประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ คำแรกเป็นชื่อ จีนัส (genus) ส่วนคำหลังเป็นชื่อที่ระบุชนิดของสิ่งมีชีวิต (specific epithet) ให้เฉพาะเจาะจงลงไป คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชาอนุกรมวิธานสมัยใหม่ได้ปรับปรุงระบบการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตและได้กำหนดระบบการตั้งชื่อของสิ่งมีชีวิตว่า แบบทวินาม Binomial Nomenclature หรือ Binomial System
กฎการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต มีดังนี้
1. ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดต้องแยกจากกันอย่างเด่นชัด
2. ชื่อวิทยาศาสตร์ในแต่ละกลุ่มจะมีชื่อที่ถูกต้องเพียงชื่อเดียว ส่วนชื่ออื่น ๆ จัดเป็นชื่อพ้อง
3. ชื่อวิทยาศาสตร์ต้องเป็นภาษาละติน ไม่ว่าจะเป็นภาษาใดต้องแปลงมาเป็นภาษาละติน
4. คำแรกต้องเริ่มต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนคำหลังใช้ตัวพิมพ์เล็ก
5. ใช้ตัวเอน (ถ้าพิมพ์) หรือขีดเส้นใต้ (จะพิมพ์หรือเขียนเอง)
6. ผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ต้องเป็นผู้พบคนแรก และตีพิมพ์รายงานไว้ในหนังสือวิชาการที่เชื่อถือได้ ให้เขียนชื่อไว้หลังชื่อวิทยาศาสตร์ โดยเขียนด้วยอักษรตัวใหญ่ ไม่ต้องเขียนตัวเอนหรือขีดเส้นใต้ เช่น ต้นหางนกยูงไทย Poinina pulcherima Linn. (Linn. เป็นชื่อย่อของ Linnaeus)
7. ชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชและสัตว์ ต่างเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อแก่กัน
8. ชื่อวิทยาศาสตร์ทุกระดับตั้งแต่ Family ขึ้นไปจะต้องมีการลงท้ายชื่อให้เป็นไปตามกฎ
เช่น Phylum/Division ลงท้ายด้วย -a (Ex. Porifera, Bryophyta)
Class ลงท้ายด้วย -ae (พืช)
Order ลงท้ายด้วย -ales (พืช)
Family ลงท้ายด้วย -aceae (พืช) (Ex. Apocynaceae)
-idae (สัตว์)
- การกำหนดชื่อหมวดหมู่ตั้งแต่ Family ลงมาต้องมีตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตเป็นต้นแบบหรือตัวอย่าง (Type Specimen) ในการพิจารณา
ภาพที่ 1 ตัวอย่างส่วนประกอบของชื่อวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ
พริกไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piper nigrum
คำว่า nigrum บ่งถึงสีดำ
ไส้เดือนดิน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lumbricus terrestris
คำว่า terrestris บ่งถึงดิน
มะยม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phyllanthus acidus
คำว่า acidus บ่งถึงความเป็นกรด ซึ่งมีรสเปรี้ยว
พยาธิใบไม้ในตับ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Fasciola hepatica
คำว่า hepatica บ่งถึงตับ
ส้มโอ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrus grandis
คำว่า grandis บ่งถึงมีขนาดใหญ่
ต้นโพธิ์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ficus religiosa
คำว่า religiosa บ่งถึงทางศาสนาพุทธ
ลิ้นจี่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Litchi chinensis
คำว่า chinensis บ่งถึงประเทศจีน ซึ่งเป็นถิ่นเดิม
ต้นมะปราง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bouea burmanica
คำว่า burmanica บ่งถึงประเทศพม่า ซึ่งเป็นถิ่นเดิม
ต้นยางพารา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hevea brasilensis
คำว่า brasilensis บ่งถึงประเทศบราซิล ซึ่งเป็นถิ่นเดิม
ต้นมะม่วง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mangifera indica
คำว่า indica บ่งถึงประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นถิ่นเดิมที่พบมะม่วงเป็นครั้งแรก
ต้นสัก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tectona grandis
คำว่า grandis บ่งถึงขนาดใหญ่
ต้นหางนกยูงไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caesalpinia pulcherrima Linn.
Linn. เป็นชื่อย่อของ Linnaeus ซึ่งเป็นผู้ค้นพบ
ไดโนเสาร์ที่พบใน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phuwiangosaurus sirindhornae
ประเทศไทยเป็น คำว่า Phuwiangosaurus หมายถึง สถานที่ที่พบไดโนเสาร์ ที่ อ. ภูเวียง
ชนิดใหม่ของโลก จ. ขอนแก่น คำว่า sairindhomae ดังเพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
ปลาบึก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasianodon gigas
คำว่า gigas หมายถึง ใหญ่ที่สุด
ไม้รวก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thyrsostachys siamensis
คำว่า siamensis หมายถึง สยามหรือประเทศไทย
ต้นตำลึง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coccinia indica
คำว่า indica บ่งถึงประเทศอินเดีย
หญ้านายเต็ม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Isachine smitinandiana
คำว่า smitinandiana มาจากชื่อสกุลของ ศ.ดร.เต็ม สมิตินันทน์
จำปี มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Michelia alba
ปลาหมึกกล้วย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Loligo japonica
ชนิดหนึ่ง คำว่า japonica บ่งถึงประเทศญี่ปุ่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่คุ้นเคยมีดังนี้ เช่น
ฝรั่ง Psidum guajava หอม Allium cepa
กระเทียม Allium sativa มะพร้าว Cocos nucifera
ข้าว Oryza sativa ข้าวโพด Zea mays
อ้อย Saccharum officinarum กล้วย Musa spp.
สับปะรด Ananas conosus งุ่น Vitis vinifera
เงาะ Nephelium lappaceum ลำไย Euphoria longata
ในกรณีการเสนอชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ (new species) ที่ยังไม่เคยมีการค้นพบมาก่อนจะต้องดำเนินการ ดังนี้
(1) ให้กำหนดชื่อวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้องตามกฎของ ICBN หรือ ICZN
แบคทีเรีย
ตั้งตามหลัก ICBN = International Code of Bacteriological Nomenclature
พืช,ฟังไจ, สาหร่าย
ตั้งตามหลัก ICBN = International Code of Botanical Nomenclature
โพรโทซัว, สัตว์
ตั้งตามหลัก ICZN = International Code of Zoological Nomenclature
(2) บรรยายลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ เป็นภาษาละติน พร้อมทั้งกำหนดตัวอย่างต้นแบบด้วย (Type Specimen)
(3) ตีพิมพ์เผยแพร่ชื่อวิทยาศาสตร์โดยบ่งบอกชื่อผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ด้วย (ให้ใช้ชื่อสกุลของผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์) และเติมคำว่า sp. nov. ซึ่งย่อมาจาก species novum ต่อจากผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อให้ทราบว่าเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ เช่น Phricotelphiasa sirindhorn Naiyanetr sp. nov.