ความคิดสร้างสรรค์ มีความหมายแยกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก คือ
- เป็นความคิดแง่บวก หรือ Positive thinking
- เป็นการกระทําที่ไม่ทําร้ายใคร หรือ Constructive thinking
- เป็นการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือ Creative thinking
ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ 2 ทาง คือ
- เริ่มจากจินตนาการแล้วย้อนสู่ความจริง เกิดจากการที่เรานํา ความฝันและจินตนาการ ซึ่งเป็น เพียงความคิด ความใฝ่ฝันที่ยังไม่เป็นจริง แต่เกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทําให้ความฝันนั้นเป็นจริง
- เริ่มจากความรู้ที่มีแล้วคิดต่อยอดสู่สิ่งใหม่ที่เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) เกิดจากการนํา ข้อมูลหรือความรู้ที่มีอยู่มาคิดต่อยอด หรือคิดเพิ่มฐานข้อมูลที่มีอยู่ จะเป็นเหมือนตัวเขี่ยความคิดให้เราคิดใน เรื่องใหม่ๆ
วิธีการปรับปรุงทักษะความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์และการค้นหาวิธีการแก้ปัญหาเป็นกิจกรรมที่ปฏิสัมพันธ์กัน
ความพยายามแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง ด้วยการใช้เหตุผล(ตรรกะ)หนึ่งเชื่อมโยงไปยังอีกเหตุผลหนึ่งเป็นขั้นตอนขึ้นไปเรื่อย ๆ เพื่อให้บรรลุการแก้ปัญหา เรียกวิธีการนี้ว่า “ความคิดแนวตั้ง”(vertical thinking) ซึ่งเป็นการใช้งานสมองซีกซ้ายเป็นหลัก
Dr.Edward de Bono นักจิตวิทยาและนักวิจัยทางการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัย เคมบริดจ์ ได้เสนอการใช้ความคิดสร้างสรรค์ด้วย แนวคิดที่เรียกว่า”ความคิดข้างเคียง”(lateral thinking) ซึ่งแตกต่างจากวิธีการเดิม ๆจากการใช้ความคิดในแนวตั้ง แต่ใช้จินตนาการวาดภาพแบบนอกกรอบ ซึ่งเป็นการใช้งานสมองซีกขวา
Dr. Daniel Pink ในหนังสือขายดี A Whole New Mind(2005) ยืนยันประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงกันตลอดศตวรรษที่ ๒๐ ว่า เรากำลังเข้าสู่ยุคสมัยที่ความสร้างสรรค์มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคแห่งวิสัยทัศน์ เราต้องเสริมสร้างและกระตุ้นการใช้สมองซีกขวา(right-directing thinking) ซึ่งหมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ มากกว่าสมองซีกซ้าย(left-directed thinking) ซึ่งหมายถึงเพียงการใช้เหตุผลและการวิเคราะห์ซึ่งเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว
Dr. Pink ยังอธิบายถึง “แรงจูงใจ”(Motivation) ที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างน่าสนใจว่า
- แรงจูงใจในการสร้างความคิดสร้างสรรค์ที่ดีมีคุณภาพ ไม่สามารถใช้เงินเป็นตัวนำหลักได้ ยิ่งใช้เงินมากเท่าใด งานสร้างสรรค์ยิ่งมีคุณภาพต่ำ
- การใช้เงินสร้างแรงจูงใจต้องระมัดระวังและเฉพาะที่จำเป็นอย่างเหมาะสม แต่ต้องให้ความสำคัญกับจิตใจและความตั้งใจจริง
- การจะสร้างความคิดสร้างสรรค์ที่ดี ต้องใช้องค์ประกอบสำคัญ ๓ ประการคือ
- อิสระในการคิดและทำงาน(Autonomy)
- มีสิทธิและอำนาจที่จะพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อย ๆหรือก้าวไปสู่ความเป็นเลิศ(Mastery)
- มีความตั้งใจจริง(Purpose)
ลักษณะการทำงานของสมองซีกซ้าย
- เป็นการใช้สติปัญญาอย่างมีเหตุมีผล
- เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเลข
- เป็นการคิดแบบนามธรรม
- เป็นการคิดเป็นเส้นตรง
- เป็นเรื่องของการวิเคราะห์
- ไม่เกี่ยวกับจินตนาการ
- คิดแบบต่อเนื่องตามลำดับ
- เป็นเรื่องของวัตถุวิสัย
- ไม่เกี่ยวกับคำพูด เห็นเป็นภาพ
ลักษณะการทำงานของสมองซีกขวา
- เป็นเรื่องของสหัชญาณ(ไม่เกี่ยวกับเหตุผล)(สหัช=ที่มีมาแต่กำเนิด)
- เป็นเรื่องของการอุปมาอุปมัย
- เป็นการคิดแบบเป็นรูปธรรม
- คิดอิสระไม่เป็นเส้นตรง เห็นภาพทั้งหมด
- เป็นเรื่องของการสังเคราะห์
- ใช้จินตนาการ
- ไม่เป็นไปตามลำดับ
- เป็นเรื่องของอัตวิสัย
- ไม่เกี่ยวกับคำพูด เห็นภาพ
การทำงานของสมองทั้งสองด้าน ทำให้ดูเสมือนจะมีลักษณะตรงกันข้ามกัน แต่ในความเป็นจริง การใช้ความคิดสร้างสรรค์ต้องใช้สมองทั้งสองด้าน เพื่อเสริมซึ่งกันและกัน ซึ่งจะช่วยให้ความคิดสมบูรณ์ขึ้น