การหาจำนวนสมาชิกในเซต
การหาจำนวนสมาชิกในเซต (ทั่วไป)
ให้A เป็นเซตจำกัด เราจะใช้ n(A) แทนจำนวนสมาชิกของเซต A
เช่น A = {a,b,c,d,3} จะได้ n(A) = 5
B = {4,5,6,7,8,9,10,11,12} จะได้ n(B) = 9
จำนวนสมาชิกของเซตจำกัดสองเซต
กรณีที่ 1 ถ้า A และ B เป็นเซตที่ไม่มีสมาชิกร่วมกัน
จะได้ว่า n(A∪B) = n(A)+n(B)
เช่น ให้ A = {1,2,3,4,5,6}, B = {7,8,9,10,11} จะได้ n(A) =6, n(B) = 5
พิจารณา A∪B = {1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,11} จะได้ n(A∪B) = 11
พิจารณา n(A)+n(B) = 6+5 = 11
ดังนั้นจะได้ว่า ถ้า A และ B ไม่มีสมาชิกร่วมกัน จะได้ n(A∪B) = n(A)+n(B)
กรณีที่ 2 ถ้า A และ B มีสมาชิกร่วมกัน
จะได้ว่า n(A∪B) = n(A)+n(B)-n(A∩B)
เช่น ให้ A ={1,2,3,4,5}, B = {3,4,5,6,7,8} จะได้ n(A) = 5 , n(B) = 6
พิจารณา A∪B = {1,2,3,4,5,5,6,7,8} จะได้ n(A∪B) = 8
พิจาณรา A∩B = {3,4,5} จะได้ n(A∩B) = 3
พิจารณา n(A)+n(B) = 5+6 = 11
พิจารณา n(A)+n(B)-n(A∩B) = 5+6-3 = 8
จะเห็นกว่า n(A∪B) ≠ n(A)+n(B) แต่ n(A∪B) = n(A)+n(B)-n(A∩B)
ดังนั้น ถ้า A,B มีสมาชิกร่วมกัน จะได้ว่า n(A∪B) = n(A)+n(B)-n(A∩B)
กรณีที่ 3 ถ้า A และ B เป็นเซตจำกัด จะได้ว่า n(A-B) = n(A) – n(A∩B)
จำนวนสมาชิกของเซตจำกัดสามเซต
ถ้าให้ A B และ C เป็นเซตจำกัด
จะได้ว่า n(A-B-C) = n(A)-n(A∩B)-n(A∩C)+n(A∩B∩C)
สรุปสูตรการหาจำนวนสมาชิกของเซตจำกัด
ถ้า A, B และ C เป็นเซตจำกัด
1.) n(A∪B) = n(A)+n(B)-n(A∩B)
2.) n(A-B) = n(A) – n(A∩B)
3.) n(A∪B∪C) = n(A)+n(B)+n(C)-n(A∩B)-n(A∩C)-n(B∩C)+n(A∩B∩C)
4.) n(A-B-C) = n(A)-n(A∩B)-n(A∩C)+n(A∩B∩C)