เรียนเลขออนไลน์ จํานวนจริง ม.4
ส่วนประกอบของจำนวนจริงสามารถสรุปได้ดังนี้
จำนวนจริงประกอบด้วย จำนวนอตรรกยะ และ จำนวนตรรกยะ ซึ่งเราจะพิจารณาในรายละเอียดได้ดังนี้
- จำนวนอตรรกยะ คือ จำนวนที่ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม หรือ ทศนิยมซ้ำได้ ยกตัวอย่างเช่น√2, √3,√5 หรือค่า¶ เป็นต้น
- จำนวนตรรกยะ คือ จำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม หรือ ทศนิยมซ้ำได้ยกตัวอย่างเช่น 1/2, 1/3, 2/5 เป็นต้น
จากแผนภาพอีกเช่นเคย จะเห็นได้ว่า จำนวนตรรกยะ จะประกอบด้วยสองส่วนคือ จำนวนเต็ม และ จำนวนตรรกยะที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม
- จำนวนเต็ม คือจำนวนที่เป็นตัวเลขเต็มๆ หรือ ตัวเลขที่ไม่มีทศนิยมนั่นเอง นั่นคือ ตัวเลขที่เราใช้นับนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น 1, 2, 3, 4 … ทั้งนี้ทั้งนั้น รวมไปจนถึงค่าที่ติบลบของจำนวนนับนี้และศูนย์ด้วย เช่น 0, -1, -2, -3, -4 ….
- จำนวนตรรกยะที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม ความหมายของจำนวนนี้ก็ตามความหมายของชื่อเลยครับ นั่นคือ ตัวเลขเขียนในรูปของทศนิยมซ้ำได้โดยที่ไม่ได้เป็นเลขจำนวนเต็มนั่นเอง อย่างเช่น 1/2=0.5 หรือ 1/3 = 0.333… (สามซ้ำ)
ยิ่งไปกว่านั้น จำนวนเต็มยังแบ่งย่อยได้อีกสามหมวดคือ จำนวนเต็มลบ จำนวนเต็มบวก และ จำนวนเต็มศูนย์
โครงสร้าง
จำนวนจริง
จำนวนจริงคือจำนวนที่ประกอบไปด้วย จำนวนตรรกยะและจำนวนอตรรกยะ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์
จำนวนเต็ม
จำนวนนับหรือจำนวนเต็มบวก เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ หรือ คือจำนวนที่เอาไว้ใช้นับสิ่งต่างๆ
เซตของจำนวนนับเป็นเซตอนันต์ นั่นคือ = {1,2,3,…}
จำนวนเต็มศูนย์ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ มีสมาชิกเพียงตัวเดียว คือ = {0}
จำนวนเต็มลบ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ คือ ตัวผกผันการบวกของจำนวนนับ ซึ่งตัวผกผัน คือตัวที่เมื่อนำมาบวกกับจำนวนนับจะทำให้ผลบวก เท่ากับ 0 เช่น จำนวนนับคือ 2 ตัวผกผันก็คือ -2 เพราะ 2+(-2) = 0 สมาชิกของเซตของจำนวนเต็มลบมีจำนวนเป็นอนันต์ นั่นคือ = {…,-3,-2,-1}
จำนวนตรรกยะ
จำนวนตรรกยะ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ คือจำนวนที่สามารถเขียนในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็มได้ ซึ่งก็คือ ตัวเศษและตัวส่วนจะต้องเป็นจำนวนเต็มเท่านั้น (เต็มบวก, เต็มลบ) เช่น จะเห็นว่า ตัวเศษคือ 1 ตัวส่วนคือ 2 ซึ่งทั้ง 1 และ 2 เป็นจำนวนเต็ม และจำนวนตรรกยะยังสามารถเขียนในรูปทศนิยมซ้ำได้อีกด้วย เช่น เป็นต้น
น้องๆสงสัยไหมว่าทำไมจำนวนเต็มถึงอยู่ในจำนวนตรรกยะ??
ลองสังเกตตัวอย่างต่อไปนี้ดูค่ะ
-3, 2, 0
สมบัติการเท่ากันของจำนวนจริง
กำหนด a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ
1. สมบัติการสะท้อน a = a
2. สมบัติการสมมาตร ถ้า a = b แล้ว b = a
3. สมบัติการถ่ายทอด ถ้า a = b และ b = c แล้ว a = c
4. สมบัติการบวกด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a = b แล้ว a + c = b + c
5. สมบัติการคูณด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a = b แล้ว ac = bc
สมบัติการบวกในระบบจำนวนจริง
กำหนด a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ
1. สมบัติปิดการบวก a + b เป็นจำนวนจริง
2. สมบัติการสลับที่ของการบวก a + b = b + c
3. สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มการบวก a + ( b + c) = ( a + b ) + c
4. เอกลักษณ์การบวก 0 + a = a = a + 0
นั่นคือ ในระบบจำนวนจริงจะมี 0 เป็นเอกลักษณ์การบวก
5. อินเวอร์สการบวก a + ( -a ) = 0 = ( -a ) + a
นั่นคือ ในระบบจำนวนจริง จำนวน a จะมี -a เป็นอินเวอร์สของการบวก
สมบัติการคูณในระบบจำนวนจริง
กำหนดให้ a, b, c, เป็นจำนวนจริงใดๆ
1. สมบัติปิดการคูณ abเป็นจำนวนจริง
2. สมบัติการสลับที่ของการคูณ ab = ba
3. สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มของการคูณ a(bc) = (ab)c
4. เอกลักษณ์การคูณ 1 • a = a = a • 1
นั่นคือในระบบจำนวนจริง มี 1 เป็นเอกลักษณ์การคูณ
5. อินเวอร์สการคูณ a • a-1 = 1 = a • a-1, a ≠ 0
นั่นคือ ในระบบจำนวนจริง จำนวนจริง a จะมี a-1 เป็นอินเวอร์สการคูณ ยกเว้น 0
6. สมบัติการแจกแจง
a( b + c ) = ab + ac
( b + c )a = ba + ca
สมบัติการเท่ากัน
- สมบัติการสะท้อน a = a
- สมบัติการสมมาตร ถ้า a = b แล้ว b = a
- สมบัติการถ่ายทอด ถ้า a = b และ b = c แล้ว a = c
- สมบัติการบวกด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a = b แล้ว a + c = b + c
- สมบัติการคูณด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a = b แล้ว ac = bc
สมบัติการบวก
- สมบัติปิด ถ้า a ϵ R และ b ϵ R แล้ว a + b ϵ R
- สมบัติการสลับที่ จะได้ a + b = b + a
- สมบัติการเปลี่ยนกลุ่ม จะได้ a + (b + c) = (a + b) + c
- สมบัติมีเอกลักษณ์การบวก คือ 0 จะได้ 0 + a = a + 0 = a
- สมบัติมีอินเวอร์สการบวก a มีอินเวอร์สการบวกคือ -a และ -a มีอินเวอร์สการบวก คือ a จะได้ a + (-a) = (-a) + a = 0
สมบัติการคูณ
- สมบัติปิด ถ้า a ϵ R และ b ϵ R แล้ว a.b ϵ R
- สมบัติการสลับที่ จะได้ a.b = b.a
- สมบัติการเปลี่ยนกลุ่ม จะได้ a.(b.c) = (a.b).c
- สมบัติมีเอกลักษณ์การคูณ คือ 1 จะได้ 1.a = a.1 = a
- สมบัติมีอินเวอร์สการคูณ (ยกเว้น 0 เพราะ 1/0 ไม่มีความหมาย) a มีอินเวอร์สการคูณคือ 1/a และ 1/a มีอินเวอร์สการคูณ คือ a จะได้ a. 1/a = 1/a .a=1
สมบัติการคูณและการบวก
- สมบัติการแจกแจง จะได้ a(b+c)=a.b+a.c
เอกลักษณ์ที่ถูกนำไปใช้บ่อยในการแก้สมการพหุนาม หรือ อสมการพหุนาม
- (a +b)2= a2+2ab+b2
- (a-b)2=a2-2ab+b2
- a2-b2=(a-b) (a+b)
- (a+b)3-a3 +3a2b + 3ab2 + b3
- (a-b)3=a3-3a2b+3ab2– b3
- a3+ b3=(a+b) (a2-ab+b2)
- a3– b3=(a-b) (a2+ab+b2)
พหุนามคือ พจน์ติดตัวแปรที่เขียนได้ในรูป anxn + an−1 xn−1 + an−2xn−2 + … + a1+a0 โดย
- nคือ ดีกรี หรือ กำลังของพหุนาม
- anคือ สัมประสิทธิ์ของพจน์แรก