ตรรกศาสตร์เป็นการศึกษาเชิงปรัชญาว่าด้วยการให้เหตุผล โดยมักจะเป็นส่วนสำคัญของวิชาปรัชญา คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงภาษาศาสตร์ ตรรกศาสตร์เป็นการตรวจสอบข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผล (valid argument) หรือการให้เหตุผลแบบผิดๆ (fallacies) ตรรกศาสตร์ เป็นการศึกษาที่มีมานานโดยมนุษยชาติที่เจริญแล้ว
.ตรรกศาสตร์เป็นวิชาแขนงหนึ่งที่มีการศึกษาและพัฒนามาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ คำว่า “ตรรกศาสตร์” มาจากภาษาสันสกฤตว่า “ตรฺก” (หมายถึง การตรึกตรอง หรือความคิด) รวมกับ “ศาสตร์” (หมายถึง ระบบความรู้) ดังนั้น “ตรรกศาสตร์ จึงหมายถึง ระบบวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความคิด” โดยความคิดที่ว่านี้ เป็นความคิดที่เกี่ยวข้องกับการให้เหตุผล มีกฏเกณฑ์ของการใช้เหตุผลอย่างสมเหตุสมผล นักปราชญ์สมัยโบราณได้ศึกษาเกี่ยวกับการให้เหตุผล แต่ยังเป็นการศึกษาที่ไม่เป็นระบบ จนกระทั่งมาในสมัยของอริสโตเติล ได้ทำการศึกษาและพัฒนาตรรกศาสตร์ให้มีระบบยิ่งขึ้น มีการจัดประเภทของการให้เหตุผลเป็นรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นแบบฉบับของการศึกษาตรรกศาสตร์ในสมัยต่อมา เนื่องจากตรรกศาสตร์เป็นวิชาทว่าด้วยกฏเกณฑ์ของการใช้เหตุผล จึงเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาในศาสตร์อื่น ๆ เช่น ปรัชญา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ กฎหมาย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ เพียงแต่ รูปแบบของการให้เหตุผลนั้น มักจะละไว้ในฐานที่เข้าใจ และเพื่อเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับ ผู้ศึกษาที่จะนำไปใช้และศึกษาต่อไป จึงจะกล่าวถึงตรรกศาสตร์และการให้เหตุผลเฉพาะส่วนที่ จำเป็นและสำคัญเท่านั้น
การประยุกต์ตรรกศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา
การ นำความรู้ทางตรรกศาสตร์มาประยุกต์ในชีวิตประจำวันได้หลายอย่าง เช่น การออกแบบของวงจรตรรกดิจิตอล และเห็นได้อย่างชัดเจนว่าตัวเชื่อมตรรกะ มีความสัมพันธ์กับตรรกะประตูสัญญาณ (logic gate) และวงจรตรรกะดิจิตอลมีความสัมพันธ์กับการเชื่อมตรรกะหรือที่เรียกว่านิพจน์บูลีน (Boolean Expression)
เริ่มช่วงปลายปีค.ศ. 1930 คลอด์ แชนนอน (Claude Shannon) นักศึกษาระดับปริญญาโทของMIT (Massachusetts Institute of Technology)ได้ สังเกตพบว่าสวิตซ์ของวงจรโทรศัพท์ และการเชื่อมตรรกะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน จึงได้ออกแบบวงจรและเขียนผลลัพธ์ที่ได้ในวิทยานิพนธ์ของเขาซึ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ.1938 ซึ่งการศึกษาของเขามีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการนำมาประยุกต์ในการออกแบวงจร ตรรกะดิจิตอลและนำมาพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์
การต่อวงจรของสวิตซ์
ภาพ a แสดงสวิตซ์ p ปิด กระแสไฟฟ้าไหลจาก A ไปยัง B ได้
ภาพ b แสดงสวิตซ์ p เปิด กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลจาก A ไปยัง B ได้
เมื่อกำหนดให้สวิตซ์เปิด แทนค่าความจริงเป็นจริง และสวิตซ์ปิด แทนค่าความจริงเป็นเท็จ ภาพ a แสดงการต่อวงจรแบบขนาน แทนวงจรนี้ด้วย p, q เพราะการไหลของกระแสไฟฟ้าจาก A ไปยัง B ตรงกับตารางค่าความจริงของประพจน์ p, q กล่าวคือกระแสไฟฟ้าจะไม่สามารถไหลจาก A ไปยัง B ได้ในกรณีเดียวคือ สวิตซ์ p และ q ปิดพร้อมๆ กัน ภาพ b แสดงการต่อวงจรแบบอนุกรม แทนวงจรนี้ด้วย p ,q เพราะการไหลของกระแสไฟฟ้าจาก A ไปยัง B ตรงกับตารางค่าความจริงของประพจน์ p ,q กล่าวคือกระแสไฟฟ้าจะสามารถไหลจาก A ไปยัง B ได้ในกรณีเดียวคือ สวิตซ์ p และ q เปิดพร้อมกัน
ถ้า 2 สวิตซ์มีชื่อเหมือนกันหมายความว่าสวิตซ์ทั้งสองจะเปิดและปิดพร้อมๆ กัน
และหาก 2 สวิตซ์มีชื่อแตกต่างกันเพียงเครื่องหมาย ~ เช่น สวิตซ์ p และ ~p จะ หมายความว่าสวิตซ์ทั้งสองจะเปิดและปิดสลับกัน และจากที่กำหนดเงื่อนไขของการแทนการต่อวงจรด้วยประพจน์ ทำให้วงจรตามภาพ 3 สามารถเขียนแทนด้วยประพจน์ และโดยอาศัยความรู้ทางตรรกศาสตร์ทำให้ทราบว่าประพจน์ดังกล่าวสมมูลกับ ประพจน์ ซึ่งสามารถเขียนเป็นวงจรได้
การนำไปใช้กับวงจรไฟฟ้า
ใน ชีวิตประจำวันจะพบการทำงานของสวิตซ์ไฟ ซึ่งมี 2 สถานะคือ เปิด และ ปิด สถานะเปิดของสวิตซ์มีค่าเป็น 0 สถานะปิดมีค่าเป็น 1 (สวิตซ์ปิด หมายถึง วงจรไฟฟ้าปิด นั่นก็คือ มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ สวิตซ์เปิด หมายถึง สถานะทั้งวงจรเปิดทำให้กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านได้) ดังนั้นถ้านำสวิตซ์หลายๆตัวมาต่อรวมกัน จะสามารถต่อได้ในรูปแบบอนุกรมหรือขนานก็ได้ ซึ่งการต่อกันในแต่ละรูปแบบของสวิตซ์ จะสามารถแทนการกระทำต่างๆของพีชคณิตบูลีน ได้ดังนี้
1.การกระทำแบบ AND ถ้า A และ B เป็นตัวแปร 2 ตัว การกระทำแบบ AND ของ Aและ B แทนด้วย AและB สามารถใช้สวิตซ์มาต่อกันแบบอนุกรม
- การกระทำแบบORถ้า A และ B เป็นสวิตซ์ไฟ 2 ตัว การกระทำแบบ OR แทนด้วย A+B สามารถใช้สวิตซ์มาต่อกันแบบขนาน
- การกระทำแบบNOTถ้า A เป็นสวิตซ์ไฟ 1 ตัว การกระทำแบบ NOT แทนด้วย สามารถใช้การต่อสวิตซ์ A ให้ขนานกับหลอดไฟ ถ้าเปิดสวิตซ์จะได้ว่าหลอดไฟจะติด แต่ถ้าปิดสวิตซ์ จะได้ว่าไฟดับ นั่นคือ
ถ้า A = 0 จะได้ = 1 หรือ L = 1
ถ้า A = 1 จะได้ = 0 หรือ L = 0 - การนำสวิตซ์มาต่อกันแบบอนุกรม แล้วมาต่อขนานกับหลอดไฟ
จะพบว่า ถ้าAหรือ B เป็น 0 จะได้ L = 1
ถ้า A หรือ B เป็น 1 จะได้ L = 0 - การนำสวิตซ์มาต่อกันแบบขนานแล้วมาต่อขนานกับหลอดไฟ
จะพบว่า ถ้าAหรือ B เป็น 1 จะได้ L = 0
ถ้า A หรือ B เป็น 0 จะได้ L = 1
การใช้ฟังก์ชันทางตรรกศาสตร์ ในMicrosoft office Excel
การ วางฟังก์ชันทางตรรกศาสตร์หรือการใช้สูตรการตรวจสอบความเป็นเหตุเป็นผล เงื่อนไข หรือค่าของความเป็นจริง มีฟังก์ชันสำคัญ ดังต่อไปนี้
—- Logical เป็นค่าหรือนิพจน์ที่สามารถถูกประเมินได้ว่า
เป็น TRUE หรือค่า
FALSE ถ้า logical เป็นค่า FALSE แล้ว NOT จะส่งกลับค่า TRUE แต่
ถ้า logical เป็นค่า TRUE แล้ว NOT จะส่งกลับค่า FALSE
Logical1, logical2,… เป็นเงื่อนไข 1 ถึง 30 เงื่อนไขที่ต้องการทดสอบ ที่สามารถเป็นได้ทั้ง
TRUE หรือ FALSE
—Logical_test เป็นค่าหรือนิพจน์ใดๆ ที่สามารถถูกประเมินเป็น TRUE หรือ FALSE
ได้ ยกตัวอย่าง A10=100 คือ logical expression เช่น ถ้าค่าในเซลล์
A10 เป็น 100 แล้ว logical_test เป็น TRUE มิฉะนั้น logical_test จะ
เป็น FALSE อาร์กิวเมนต์นี้สามารถใช้ ตัวดำเนินการคำนวณ
เปรียบเทียบใดๆ
Value_if_true เป็นค่าที่ถูกส่งกลับ ถ้า logical_test เป็น TRUE
—Value_if_false เป็นค่าที่ถูกส่งกลับถ้า logical_test เป็น FALSE